วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นอสตราดามุส

นอสตราดามุส หรือ มิเชล เดอ นอสตราดาม (Michel De Nostradame) เป็นแพทย์ และโหราจารย์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส เชื้อสายยิว เกิดวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1503 ที่เมืองแซงต์ เรมี ในครอบครัวนายทะเบียนผู้รุ่งเรืองของเมือง นอสตราดามุสจบการศึกษาด้านการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์ ปี ค.ศ. 1525 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ 1566 ด้วยโรคเกาต์
ชาติกำเนิด
นอสตราดามุส เป็นชาว ฝรั่งเศส มีชื่อเต็มว่า “มิเชล เดอ นอสเตรอดัม (Michel de Nostredame) ” ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามจากชาวโลกว่าเป็น “ราชาโหรโลก” หรือ “ปรมาจารย์แห่งโหราศาสตร์เอกของโลก” นี้โดยทั่วไปผู้คนรู้จักเขาในชื่อที่เป็นภาษาละตินว่า “นอสตราดามุส” (NOSTRADAMUS) เขาเกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1503 ตามแบบปฏิทินจูเลียนโบราณ ซึ่งตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1503 สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 (ค.ศ. 1498 - ค.ศ. 1515) ตามแบบปฏิทินเกรกอเรียน บ้านเกิดอยู่ที่ เมืองแซงต์ เรมี เดอ โปรวองซ์ ประเทศฝรั่งเศส ในครอบครัวของ “ช้าคส์ กับ เรอเน เดอ นอสเตรดัม” นายทะเบียนผู้รุ่งเรืองของเมือง
ปูมหลังชีวิตของนอสตราดามุส
1.พื้นฐานทั่วไป
นอสตราดามุส เกิดร่วมสมัยกับ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther 1483-1546) ผู้นำแห่งศาสนาคริสเตียนนิกายโปรเตสแตนต์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ชาวยิว ทุกคนให้เปลี่ยนศาสนาเดิมมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ เรียกว่า คริสเตียน โดยเข้ารับศีลจุ่ม (บัปติสมา) ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ร้อนระอุ ครอบครัวนอสตราดามุสไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า ผู้นำของครอบครัวเป็นปัญญาชนรักชาติรักแผ่นดิน รักที่อยู่อาศัยมากกว่าที่จะเป็นพลเมืองชั้นสอง ที่ต้องคอยหลบลี้หนีภัยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครอบครัวยิวในฝรังเศสจึงเลือกทางออกด้วยการรับศีลเข้ารีตเป็นคริสเตียน แต่ภายในบ้านก็ยังยึดถือปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อของยิวอย่างลับๆ มาโดยตลอด ชีวิตของนอสตราดามุสจึงเติบโตขึ้นมาในสภาพที่เคยชินต่อการซ่อนเร้นปกปิดสถานภาพที่แท้จริงของครอบครัวในสายตาชาวบ้านเรื่อยมา ด้วยการอยู่ภายใต้สภาวการณ์ดัวกล่าว ทำให้นอสตราดามุสเรียนรู้ชีวิตของการหลบหลีกหนีภัยมาตั้งแต่เด็ก มีสัญชาตญาณแห่งการเอาตัวรอดดีกว่ากาลิเลโอ ทั้งๆ ที่ผลงานของนอสตราดามุส ที่ชนชั้นกษัตริย์ และสาธารณชน รวมทั้งทั่วยุโรป รับรู้กันในสมัยนั้น มีลักษณะของการท้าทายและขัดต่อกฏเกณฑ์ของศาสนจักรมากกว่าของกาลิเลโอหลายเท่า
2.พื้นฐานครอบครัว
นอสตราดามุส มีความระแวดระวังภัยรอบตัว มาแต่อ้อนแต่ออก จึงทำให้เขารอดจากการจ้องจับผิดของเจ้าหน้าที่สังฆจักรโรมันคาทอลิกอยู่เรื่อยมา ชื่อนอสตราดามุสอยู่ในบัญชีดำ เป็นผู้ถูกเพ่งเล็งหมิ่นเหม่ต่อการถูกเรียกตัวเข้าคอกเป็นจำเลยเพื่อไต่สวนหลายครั้ง แต่ความเป็นนายแพทย์ที่สร้างคุณประโยชน์ อาจหาญรักษาเพื่อนร่วมชาติที่ล้มตายด้วยโรคระบาดตามหัวเมืองต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงความน่าสยอดสยองของโรคร้าย ความดีอันนี้ จึงมีส่วนช่วยเป็นเกราะกำบังภัยให้นอสตราดามุสเรื่อยมา
คุณปู่และคุณตาของนอสตราดามุส ชื่อ “ปีแอร์ เดอ นอสเตรดัม ”กับ “ฌอง แช็งต์ เดอ เรมี ” ต่างเป็น แพทย์หลวง (หมอหลวง) ในราชสำนักฝรั่งเศส ทั้งสองเป็นเพื่อนรักสนิทกัน ฝ่ายแรกมีลูกชาย “ช้าคส์” ฝ่ายหลังมีบุตรสาว “เรอเน” โตขึ้นก็จับคู่แต่งงานกลายเป็นทองแผ่นเดียวกัน
3.พื้นฐานการศึกษา
เมื่อนอสตราดามุสมีอายุครบ 14 ปี คุณปู่ แนะนำให้เข้าเรียนต่อด้านศิลปศาสตร์ ที่เมืองอาวียอง แหล่งวิชาสำคัญของฝรั่งเศสยุคนั้น นอสตราดามุสศึกษาวิชาปรัชญา, ไวยากรณ์ และศิลปการพูด ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของพระ ยามว่านอสตราดามุสหนุ่มมักใช้เวลาหมดไปในห้องสมุด และที่แห่งนี้ นอสตราดามุสได้พบหนังสือหลายเล่มที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับเรื่องของไสยศาสตร์ผีสางและเวทมนตร์ รวมทั้งชีวประวัติของศาสดาพยากรณ์ ในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งทำให้นอสตราดามุสเกิดความสนใจในวิชาโหราศาสตร์มากขึ้น มากเพียงพอที่จะพลักดันให้นอสตราดามุสค้นคว้าหลักการทำนายอนาคต การเรียนการสอนในยุคสมัยนั้น ศาสตร์ต่างๆ ถูกควบคุมภายใต้กฏเกณฑ์ของศาสนจักรอย่างเข้มงวด ทฤษฎีใหม่ข้อใดที่ขัดต่อคำสอนทางศาสนาจะถูกห้ามหรือให้ใช้สอนตามแนวที่สังฆจักรอนุมัติ อาจารย์ผู้สอนในยุคนั้นเมื่อกระทบเรื่องใดที่เป็นหัวข้อหมิ่นเหม่ มักจะหันเหไปสอนลูกศิษย์ในเรื่องอื่นๆที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับตนแทน การอภิปรายในชั้นเรียน นอสตราดามุส มักจะออกหน้าปกป้องความคิดใหม่ๆของตนเอง รวมทั้งความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ มิหนำซ้ำยังยืนหยัดเชื่อใน “ทฤษฎีโคเปอร์นิคัส” นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส นอสตราดามุส มีความรู้แตกฉานด้านดาราศาสตร์ หรือจะด้วยพลังจิตทัศน์ที่แผงอยู่ในตัวมาก่อน นอสตราดามุสเชื่อและยืนหยัดปกป้องทฤษฎีโคเปอร์นิคัสดังกล่าว ก่อนหน้าที่กาลิเลโอจะเสนอทฤษฎีของตนในลักษณะเดียวกันเกือบ 100 ปี เสี่ยงต่อการถูกตั้งข้อหาฉกรรจ์จากสังฆจักรในข้อหาสร้างทฤษฎีซาตานขึ้นมาขัดแย้งความเชื่อเดิม ลบหลู่ท้าทายคำสอนทางศาสนา ซึ่งในศตวรรษต่อมา กาลิเลโอได้ถูกจับไต่สวน และถูกจองจำหลายครั้งในข้อหาเดียวกัน
โหราจารย์ ในคราบ แพทย์
บิดาของนอสตราดามุส หัวเสียพร้อมผิดหวังที่ลูกชายคิดหันชีวิตมุ่งไปทางโหราศาสตร์ ด้วยคุณปู่ คนเดียวเท่านั้นที่เข้าใจความปรารถนาของหลานชาย และเป็นผู้หาทางออกให้นอสตราดามุสได้อย่างแยบยล ปีแอร์แนะนำหลานชายให้ยึดถืออาชีพการแพทย์ควบคู่ไปกับการมุ่งศึกษาด้านโหราศาสตร์ คุณปู่เชื่อว่าคนทั้งโลกอาจจะไม่ยอมรับโหราจารย์ไปเสียทั้งหมด แต่ถ้าโหราจารย์ผู้นั้นเป็นหมอรักษาคนไปด้วย ความยอมรับของผู้คนในสังคมจะมีมากกว่า และที่ลึกไปกว่านั้น ทางออกที่แนะนำหลานชายไม่เพียงแต่วางรากฐานอนาคตของนอสตราดามุสให้มั่นคงเท่านั้น แต่ยังทำให้ตระกลูนอสเตรดัมมีผู้สืบสกุลแพทย์ การตัดสินใจเรียนแพทย์ของลูกชายทำให้ผู้พ่อคลายความขึ้งใจลงไปเป็นอันมาก ดังนั้น นอสตราดามุสจึงเข้าเรียนวิชาแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์ ในปี ค.ศ. 1522 ด้วยวัยเพียง 19 ปี
ปี ค.ศ. 1525 นอสตราดามุส สอบผ่านจบหลักสูตร ได้ปริญญาบัตรการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์ พร้อมด้วยใบประกอบโรคศิลปทางแพทย์
กาฬฝากโรค
ในยุคสมัยนอสตราดามุสนั้น เกิดกาฬโรคระบาดร้ายแรงทางตอนใต้ของฝรั่งเศส โรคระบาดทำให้ผู้คนเสียชีวิตดุจใบไม้ร่วง คนป่วยนอกจากจะได้รับความเจ็บปวดอย่างสาหัสแล้ว ยังได้รับการทรมานจากแผลที่เน่าแฟะเป็นหนอง ส่งกลิ่นเหม็นอบอวลไปทั่ว ถึงรักษาหายก็ยังฝากรอยแผลเป็นไว้ตามตัวและใบหน้า คนที่ถูกกาฬโรคเล่นงานในสมัยนั้น ไม่ต่างอะไรกับได้ตายไปแล้วทั้งๆ ที่มีชีวิตอยู่
นอสตราดามุสได้รับการถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณและสมุนไพร จากคุณปู่และคุณตา
ชะตากรรมและมรสุมร้ายของชีวิต
ปี ค.ศ. 1529 โรคระบาดเริ่มทุเลาลดลง นอสตราดามุสหวนกลับมาติดตามความตั้งใจเดิมที่ตกค้างคาใจอยู่ อยากจะเผยแผ่ทฤษฎีการแพทย์ใหม่ให้แก่สถาบัน โดยนอสตราดามุสเข้าศึกษาต่อทำปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์ แต่คราวนี้นอสตราดามุสหนุ่ม กลายเป็นแพทย์มืออาชีพชื่อดังไปเสียแล้ว วันที่มหาวิทยาลัยนัดสอบปากเปล่าเพื่อเข้าเรียนต่อนั้น มีประชาชนจำนวนมากแห่ไปยืนออเฝ้าดูการตอบโต้ของนอสตราดามุส ต่อคณะกรรมการ ราวกับมีงานมหรสพ นอสตราดามุสตอบโต้ข้อซักถามที่คณาจารย์ป้อนคำถามมาอย่างคล่องแคล่วไม่ติดขัด ตอบอย่างแตกฉานและแน่นหนาในวิชา แต่ละคำตอบไม่ใช่คำตอบแบบนักศึกษาตอบอาจารย์ทั่วๆไป แต่เป็นคำตอบที่มาจากประสบการณ์นอกตำราเป็นส่วนใหญ่ เป็นคำตอบที่ล้นเปี่ยมด้วยความรอบรู้ของแพทย์มืออาชีพที่มีผลงานจริงเป็นรากฐานรองรับ บางครั้งนอสตราดามุสโต้แย้งทฤษฎีการแพทย์เก่าที่ผิดๆ ด้วยข้อพิสูจน์ทางปฏิบัติ จนไม่มีอาจารย์คนใดกล้าโต้แย้งได้ ทำให้เป็นที่ประทับใจ คณบดีของคณะแพทย์ศาสตร์ ถึงกับมอบรางวัลพิเศษ รวมทั้งแหวนแพทย์ดีเด่นให้แก่นอสตราดามุส พร้อมตำแหน่งศาสตราจารย์ของคณะแพทย์ศาสตร์มองต์เปลีเยร์ ชีวิตนอสตราดามุสผันแปรมากลายเป็นอาจารย์ รับบทบาทสอนวิชาแพทย์อยู่ได้ 3 ปีก็เริ่มเกิดอาการเบื่อหน่ายร้อนวิชา จิตใจรุ่มร้อนกระวนกระวายไม่เป็นสุข อยากกระโจนออกสู่โลกที่กว้างไกลกว่านี้ นอสตราดามุส ต้องการอิสรภาพทางความคิด มาตรฐานวิชาแพทย์รูปแบบใหม่ที่นอสตราดามุสวางรากฐานไว้ระหว่างที่สอนที่มหาวิทยาลัยมองต์เปลีเยร์เริ่มเวียนวนซ้ำซาก จนบางครั้งนอสตราดามุสสับสน ไม่รู้ว่าอันไหนเริ่มต้น อันไหนเป็นจุดลงเอย จึงตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัย นอสตราดามุสมุ่งหน้าเลาะไปตามเมืองต่างๆที่รู้จัก และประสบความสำเร็จในวิชาชีพเมื่อครั้งรักษาโรคระบาด
ปี ค.ศ. 1534 ในที่สุดก็ปักหลักตั้งสำนักงานแพทย์ที่เมืองตูลูส เพียงไม่นานผู้คนในเมืองตูลูส และใกล้เคียงต่างรู้จักนอสตราดามุส มารับการรักษาก็มาก มาเพื่อคบค้าสมาคมเป็นเพื่อนก็หลาย ในจำนวนนี้ มี จูเลียส ซีซาร์ สคาลิงเจอร์ นักคิดนักปรัชญาชื่อดังแห่งเมืองอายอง รวมอยู่ด้วยโดยคบกันอย่างถูกอัธยาศัยจนกลายเป็นเพื่อนสนิท อายองเป็นเมืองที่มีอากาศดี มีแสงแดด แห้งไม่เปียกชื้น ในเวลาต่อมา นอสตราดามุสได้ตัดสินใจย้ายมาตั้งรกรากอยู่ในเมืองนี้
คนหนุ่มโสดหน้าตาดีมีความรู้ดี มีอาชีพมั่นคง มีเกียรติในสังคมอย่างนอสตราดามุส ย่อมเป็นบุรุษเนื้อหอมของเมืองอายอง หญิงสาวในระดับไฮโซตระกูลร่ำรวยหลายคนอยากได้นอสตราดามุสเป็นคู่ครอง ในที่สุดนอสตราดามุสตัดสินใจสละโสดเข้าพิธีแต่งงานกับหญิงสาวรวยทรัพย์มากเสน่ห์คนหนึ่งของเมือง โดยมีบุตรชายและบุตรสาวอย่างละหนึ่งคน นอสตราดามุสใช้ชีวิตช่วงนี้อย่างบรมสุขแวดล้อมด้วยสิ่งดีๆที่ประเสริฐเท่าที่ชีวิตคนคนหนึ่งจะถึงแสวงหามาได้ คบหาเพื่อนฝูงระดับปัญญาชนคอยป้อนอาหารทางความคิดในตอนกลางวัน มีภรรยาและลูกๆคอยหว่านพืชผลแห่งความรักอย่างอบอุ่นในตอนค่ำ ชีวิตของนอสตราดามุสในช่วง 3 ปีนั้น จึงเป็นชีวิตที่เหมือนตกอยู่ในฝันทั้งยามหลับและยามตื่น
ปี ค.ศ. 1537 โรคระบาดที่ทะลักมาจากเมืองอื่นเริ่มเข้ามาคุกคามเมืองอายอง มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้ยินเสียงล้อรถเก็บศพดังกระทบแผ่นหินบนถนนของเมืองทั้งกลางวันและกลางคืน นอสตราดามุสรวบรวมความรู้ประสการณ์ที่เคยมีมา ออกตระเวนรักษาคนป่วยอย่างเต็มกำลัง ทุกวันก่อนที่จะออกจากบ้านไปปราบโรคร้าย เขาต้องกล่าวอำลาลูกเมียเยี่ยงสามีที่ดีทั้งหลาย หาได้เฉลียวใจสักนิดไหมว่า ความวิบัติหายนะกำลังคืบคลานเข้ามาสู่ตนกับครอบครัวของนอสตราดามุสอย่าน่าสะพรึงกลัว
คืนวันหนึ่ง นอสตราดามุสกลับมาถึงบ้าน พบลูกและเมียตัวเองมีอาการไข้ ตามใบหน้าและลำตัวเริ่มมีแผลพุพองของเชื้อกาฬโรค นอสตราดามุสเพิ่งรู้ว่าโรคร้ายได้กรายเข้ามาใกล้ตัวอย่างไม่คาดฝัน เทคนิคการแพทย์ทุกชนิดเท่าที่จะสรรหามาได้ในขณะนั้นถูกนำมารักษาภรรยาและลูกทั้งสองจนหมดสิ้น มือแพทย์ฉมังที่เคยรักษาคนไข้ให้หายจากโรคร้าย นับพันนับหมื่น พอถึงเวลาเข้าจริงๆ กลับรักษาคนใกล้ตัวอันเป็นที่รักไว้ไม่ได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่างรวดเร็วเหมือนถูกสวรรค์แกล้ง ภรรยาและลูกทั้งสองของนอสตราดามุสต้องจบชีวิตด้วยโรคร้ายในคราวนั้น
เหตุการณ์เศร้าสลดของนอสตราดามุส ทำให้ชาวเมืองอายอง แสดงธาตุแท้ของมนุษย์ออกมาด้วยการปฏิเสธ ไม่ยอมรับให้ความเชื่อถือในวิชาแพทย์ของนอสตราดามุสที่ใช้รักษาอีกต่อไป รวมทั้งญาติฝ่ายภรรยาผู้ทรงอิทธิพลในเมืองที่เสียใจกับการสูญเสียออกมาซ้ำเติม ทำให้เหตุการณ์เลวร้าวลงไปอีก อีกทั้งเพื่อนๆ ปัญญาชนที่เคยสนิท อย่างจูเลียส ซีซาร์ สคาลิงเจอร์ ที่รักใคร่สนิทสนมกันหนักหนา ครั้นนอสตราดามุสประสบปัญหาชีวิตส่วนตัว แทนที่จะช่วยยามตกยากตามประสาเพื่อนที่ดี กลับตีตัวออกห่าง ตัดไมตรีความเป็นมิตรกับนอสตราดามุสอย่างไม่มีเยื่อใย ทำให้นอสตราดามุสผิดหวังเสียใจเพิ่มขึ้นไปอีก
คำพยากรณ์เด่นๆ
การสวรรคตของพระเจ้าอังรีที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 และ การสิ้นสุดของราชวงศ์วาลัวซ์ แห่งฝรั่งเศส
พยากรณ์ว่าบาทหลวงฟรานซิสที่พบโดยบังเอิญจะเป็นองค์สันตปาปาในอนาคต
พยากรณ์การเกิดของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และ เบนิโต มุสโสลินี
พยากรณ์การเกิดธรรมชาติวิปริต โลกพิบัติอลเวง ของปรากฏการณ์ เอลนิโญ และ ลานีญา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา



องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (อังกฤษ: National Aeronautics and Space Administration - NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามพระราชบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ[1] เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ[2]
การแข่งขันในการสำรวจอวกาศ
หลังจากสหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกของโลก (ดาวเทียมสปุตนิค 1) ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) สหรัฐฯ เริ่มหันมาใส่ใจกับโครงการอวกาศของตนเองมากขึ้น สภาคองเกรสรู้สึกหวั่นเกรงต่อภัยด้านความมั่นคงและภาวะความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของตน ประธานาธิบดีดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ และคณะที่ปรึกษาได้ประชุมหารือกันเป็นเวลานานหลายเดือนจนได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จำเป็นต้องก่อตั้งหน่วยงานราชการขึ้นใหม่ ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมอวกาศทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ลงนามในกฎหมายการบินและอวกาศแห่งชาติ ค.ศ. 1958 เพื่อก่อตั้งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะนั้นนาซาประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ 4 แห่ง มีพนักงานประมาณ 8,000 คน ที่โอนมาจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการบินแห่งชาติ (NACA) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของรัฐที่มีอายุกว่า 46 ปี
โครงการในระยะแรกของนาซาเป็นการวิจัยโดยมีเป้าหมายส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยานอวกาศ ดำเนินไปพร้อมแรงกดดันจากการแข่งขันกับสหภาพโซเวียตในระหว่างสงครามเย็น นาซาเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในห้วงอวกาศด้วยโครงการเมอร์คิวรีในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) นักบินอวกาศ อลัน บี. เชเพิร์ด จูเนียร์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกในอวกาศ เมื่อเขาเดินทางไปกับยานฟรีดอม 7 ในภารกิจนาน 15 นาที แบบไม่เต็มวงโคจร หลังจากนั้นจอห์น เกล็นน์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ในการขึ้นบินนาน 5 ชั่วโมงกับ ยานเฟรนด์ชิป 7
โครงการอะพอลโล
เมื่อโครงการเมอร์คิวรีพิสูจน์และยืนยันว่า การส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศสามารถเป็นไปได้ นาซาจึงเริ่มโครงการอะพอลโล โดยเป็นความพยายามส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์ โดยยังไม่มีเป้าหมายส่งมนุษย์เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์แต่อย่างใด ทิศทางของโครงการอะพอลโลเปลี่ยนไปเมื่อประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ประกาศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) ว่าสหรัฐอเมริกาจะ "ส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์แล้วกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย" ภายในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) โครงการอะพอลโลจึงกลายเป็นโครงการนำมนุษย์ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โครงการเจมินีเริ่มต้นขึ้นไม่นานหลังจากนั้น เพื่อทดสอบและยืนยันเทคนิค ที่จำเป็นต้องใช้กับโครงการอะพอลโลที่ซับซ้อนขึ้น
หลังจาก 8 ปีของภารกิจเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงอุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่คร่าชีวิตนักบินอวกาศ 3 คนในยานอะพอลโล 1 โครงการอะพอลโลบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุดเมื่อยานอะพอลโล 11 นำนีล อาร์มสตรอง และบัซซ์ อัลดริน ลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) และกลับสู่โลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 24 กรกฎาคม ถ้อยคำแรกที่อาร์มสตรองกล่าวหลังจากก้าวออกจากยานลงจอด อีเกิ้ล คือ "นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของคน ๆ หนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ" หลังจากวันนั้นจนถึงการสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2515 มีนักบินอวกาศอีก 10 คนที่ประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์
แม้ว่าองค์การนาซาจะทำให้สหรัฐฯ ได้ชัยชนะในการแข่งขันกับโซเวียต แต่ความสนใจของชาวอเมริกันที่มีต่อโครงการอวกาศ อันจะทำให้สภาคองเกรสทุ่มงบประมาณให้กับนาซา กลับลดน้อยถอยลง นาซาสูญเสียผู้สนับสนุนในสภาหลังจากลินดอน บี. จอห์นสัน ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้ที่มีบทบาทในการวิ่งเต้นเพื่อผลักดันงบประมาณให้กับนาซาในเวลาต่อมา คือ เวร์เนอร์ ฟอน บรอน วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดชาวเยอรมัน เขาเสนอแผนสร้างสถานีอวกาศ ฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์ และโครงการส่งมนุษย์ไปดาวอังคารภายในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะประสิทธิภาพของเทคโนโลยีจรวดขณะนั้นยังไม่ดีพอ อุบัติเหตุการระเบิดของถังออกซิเจน ที่เกือบจะเป็นโศกนาฏกรรมกับนักบินบนยานอะพอลโล 13 ทำให้ประชาชนเริ่มกลับมาสนใจในโครงการอวกาศ อย่างไรก็ตาม ยานอะพอลโล 17 เป็นยานลำสุดท้ายที่ขึ้นบินภายใต้สัญลักษณ์อะพอลโล แม้ว่าโครงการอะพอลโลมีแผนไปถึงยานอะพอลโล 20 โครงการอะพอลโลสิ้นสุดลงก่อนกำหนดเนื่องจากถูกตัดงบประมาณ (ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสงครามเวียดนาม) และนาซาปรารถนาที่จะพัฒนายานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
สกายแลป
สกายแลปเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา สถานีนี้มีน้ำหนักกว่า 75 ตัน โคจรรอบโลกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ถึงปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) สามารถรองรับคนได้ 3 คนต่อภาระกิจ สกายแลปเป็นสถานีต้นแบบในการเรียนรู้การใช้ชีวิตในอวกาศ และใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์บ้าง เดิมทีสกายแลปวางแผนจะใช้ในการเทียบท่าของกระสวยอวกาศด้วย แต่สกายแลปได้ถูกปลดประจำการก่อนถึงการปล่อยกระสวยอวกาศลำแรก และถูกชั้นบรรยากาศโลกเผาไหม้ทำลายในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) หลังจากปล่อยให้ตกลงในมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกของออสเตรเลีย
อะพอลโล-โซยุส
โครงการทดสอบอะพอลโล-โซยุส (Apollo-Soyuz Test Project:ASTP) เป็นการร่วมมือกันระหว่างสหัฐอเมริกาและโครงการอวกาศของโซเวียตในการนำยานอะพอลโลและยานโซยุสมาพบกันในอวกาศ (เชื่อมยานกัน) ในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975)
ยุคกระสวยอวกาศ
กระสวยอวกาศเป็นโครงการที่นาซาหันมาให้ความสนใจมาตลอดตั้งแต่ช่วงปี 2513 (1970) และ 2523 (1980) กระสวยอวกาศลำแรกที่ปล่อยใช้งานสู่อวกาศคือกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981)
สำหรับนาซาแล้วกระสวยไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง ยิ่งช่วงเริ่มต้นโครงการมันมีความสิ้นเปลืองมาก และในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) กับเหตุการณ์อุบัติเหตุของกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์เป็นเรื่องร้ายแรงที่สุดสำหรับการบินอวกาศ

การคอนฟิกเราเตอร์ Cisco ขั้นพื้นฐาน



กรณีที่ 1 การเชื่อมต่อแบบ Point to Point โดยมีจำนวน Site เป็น 2 sites ทำ Routing เป็นแบบ Static และ encapsulation เป็น pppสมมุติว่าเรามีจำนวน site เป็น 2 site และมีการเชื่อมต่อดังรูปที่ 1 โดยกำหนดค่า ip เป็นดังนี้
Wan IP : เป็น 192.168.0.0/30 นั่นคือจะมี ip ในกลุ่มนี้ทั้งหมดเป็น 4 ip คือ 192.168.0.0 - 192.168.0.3 แต่ไอพี 192.168.0.0 เป็น network ip และ ไอพี 192.168.0.3 เป็น broadcast ip ซึ่งนำมาใช้งานปกติไม่ได้ จึงเหลือไอพีที่ใช้งานทั่วไปได้ 2 ip คือ 192.168.0.1 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router A และอีกไอพีคือ 192.168.0.2 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router B ดังรูปที่ 1
Lan IP ด้าน A : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.11.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.11.1 - 192.168.11.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.11.1 เป็นไอพีของ ethernet port (e0) ของ router A และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.11.11 เป็นต้นไป ดังรูปที่ 1
Lan IP ด้าน B : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.12.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c เช่นกัน คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.12.1 - 192.168.12.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.12.1 เป็นไอพีของ ethernet port (e0) ของ router B และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.12.11 เป็นต้นไป ดังรูปที่ 1


การคอนฟิกที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Asite-A(config)#int s0site-A(config-if)#ip address 192.168.0.1 255.255.255.252site-A(config-if)#bandwidth 128site-A(config-if)#encapsulation pppsite-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#int e0site-A(config-if)#ip address 192.168.11.1 255.255.255.0site-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#ip route 192.168.12.0 255.255.255.0 192.168.0.2site-A(config)#exitsite-A#wr memที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Bsite-B(config)#int s0site-B(config-if)#ip address 192.168.0.2 255.255.255.252site-B(config-if)#bandwidth 128site-B(config-if)#encapsulation pppsite-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#int e0site-B(config-if)#ip address 192.168.12.1 255.255.255.0site-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#ip route 192.168.11.0 255.255.255.0 192.168.0.1site-B(config)#exitsite-B#wr memถ้าการคอนฟิกและการเชื่อมต่อไม่มีปัญหาก็จะทำให้ site ทั้งสองสามารถติดต่อกันกันได้ การทดสอบก็สามารถทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง ping ครับ การดูค่าของ routingการดูค่า routing ที่ router A ให้ใช้คำสั่งดังนี้ :site-A#show ip routeก็จะมีค่าความหมายของตัวย่อต่าง ๆ แสดงขึ้นมาหลายค่าครับ แต่ในส่วนท้ายจะมีค่าแสดงดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.11.0/24 is directly connected, 192.168.11.1S 192.168.12.0/24 [1/0] via 192.168.0.2C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.1-----------------------------------------------------------------------------C หมายถึง connected, S หมายถึง static ครับการดูค่า routing ที่ router B ให้ใช้คำสั่งดังนี้ :site-B#show ip routeก็จะมีค่าความหมายของตัวย่อต่าง ๆ แสดงขึ้นมาหลายค่าเช่นกันครับ แต่ในส่วนท้ายจะมีค่าแสดงดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.2S 192.168.12.0/24 is directly connected, 192.168.12.1C 192.168.11.0/24 [1/0] via 192.168.0.1-----------------------------------------------------------------------------C หมายถึง connected, S หมายถึง static ครับอธิบายเพิ่มเติมผมจะขออธิบายเฉพาะส่วนที่สำคัญเท่านั้นนะครับ ซึ่งจากการคอนฟิกที่ผ่านมามีจุดที่เป็นหัวใจสำคัญอยู่จุดหนึ่ง ขอให้ดูตัวอย่างการคอนฟิกที่เราเตอร์ A ก่อนนะครับ ถ้าเราดูรูปแล้วจะเห็นว่าเครือข่ายของ site-A นั่นคือเครือข่ายแลน 192.168.11.0/24 มีความต้องการที่จะต้องติดต่อไปยังเครือข่ายแลน 192.168.12.0/24 ของ site-B วิธีการที่จะทำให้ติดต่อกันได้คือการทำ ip route ซึ่งคำสั่งของ ip route เป็นดังนี้ครับ#ip route เครือข่ายปลายทางที่ต้องการติดต่อด้วย ผ่านไปทางพอร์ตไหนโดย "เครือข่ายปลายทางที่ต้องการติดต่อด้วย" ก็ให้ระบุ ip พร้อมกับ subnetmask ของเครือข่ายนั้น ส่วน "ผ่านไปทางพอร์ตไหน" ก็ให้ระบุ ip ของ wan ฝั่งตรงข้ามครับ ดังนั้น ที่เราเตอร์ A จึงได้เป็น :site-A(config)#ip route 192.168.12.0 255.255.255.0 192.168.0.2ส่วยที่เราเตอร์ B ก็ใช้หลักการเดียวกันครับและเมื่อดูค่า routing ด้วยการใช้คำสั่ง show ip route แล้ว ค่าของเราเตอร์ A จะเป็นดังที่กล่าวมา (ให้ย้อนกลับไปดูค่า routing ของเราเตอร์ A) ซึ่งทั้ง 3 บรรทัดมีความหมายดังนี้ครับ :บรรทัดที่ 1 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่ายแลน 192.168.11.0/24 โดยเชื่อมต่อผ่านพอร์ต e0บรรทัดที่ 2 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อกับเครือข่ายแลนฝัง site-B คือ192.168.12.0/24 โดยเชื่อมผ่านพอร์ต wan ของฝั่งตรงข้าม ซึ่งค่า S ข้างหน้าหมายถึง เป็นการเชื่อมต่อผ่านการทำเราติ้งแบบ Static routeบรรทัดที่ 3 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่าย wan 192.168.0.0/30 โดยเชื่อมต่อผ่านพอร์ต wan ของตัวเอง
กรณีที่ 2 การเชื่อมต่อแบบ Point to Point โดยมีจำนวน Site เป็น 2 sites ทำ Routing แบบ RIP และ encapsulation เป็น pppรูปแบบในการเชื่อมต่อเครือข่ายนั้น ให้ใช้เหมือนกับรูปที่ 1 ทุกประการครับ โดยการคอนฟิกในกรณีนี้จะเหมือนกับกรณี 1 ทุกอย่างยกเว้น ไม่มีการใช้คำสั่ง ip route แต่ให้เปลี่ยนไปใช้คำสั่ง router และคำสั่ง network แทนเพื่อกำหนดให้ routing protocol เป็น rip การคอนฟิกที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Asite-A(config)#int s0site-A(config-if)#ip address 192.168.0.1 255.255.255.252site-A(config-if)#bandwidth 128site-A(config-if)#encapsulation pppsite-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#int e0site-A(config-if)#ip address 192.168.11.1 255.255.255.0site-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#router ripsite-A(config-router)#network 192.168.0.0 255.255.255.252site-A(config-router)#network 192.168.11.0 255.255.255.0site-A(config-router)#exitsite-A(config)#exitsite-A#wr memที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Bsite-B(config)#int s0site-B(config-if)#ip address 192.168.0.2 255.255.255.252site-B(config-if)#bandwidth 128site-B(config-if)#encapsulation pppsite-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#int e0site-B(config-if)#ip address 192.168.12.1 255.255.255.0site-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#router ripsite-B(config-router)#network 192.168.0.0 255.255.255.252site-B(config-router)#network 192.168.12.0 255.255.255.0site-B(config-router)#exitsite-B(config)exitsite-B#wr memถ้าการคอนฟิกและการเชื่อมต่อไม่มีปัญหาก็จะทำให้ site ทั้งสองสามารถติดต่อกันกันได้ การทดสอบก็สามารถทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง ping ครับ การดูค่าของ routingการดูค่า routing ที่ router A ให้ใช้คำสั่งดังนี้ :site-A#show ip routeก็จะมีค่าความหมายของตัวย่อต่าง ๆ แสดงขึ้นมาหลายค่าครับ แต่ในส่วนท้ายจะมีค่าแสดงดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.11.0/24 is directly connected, 192.168.11.1C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.1R 192.168.12.0/24 [120/10] via 192.168.0.2, 00:00:33, Serial0 -----------------------------------------------------------------------------C หมายถึง connected, R หมายถึง RIP ครับการดูค่า routing ที่ router B ให้ใช้คำสั่งดังนี้ :site-B#show ip routeก็จะมีค่าความหมายของตัวย่อต่าง ๆ แสดงขึ้นมาหลายค่าเช่นกันครับ แต่ในส่วนท้ายจะมีค่าแสดงดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.2C 192.168.12.0/24 is directly connected, 192.168.12.1 R 192.168.11.0/24 [120/10] via 192.168.0.1, 00:00:18, Serial0 -----------------------------------------------------------------------------C หมายถึง connected, R หมายถึง RIP ครับอธิบายเพิ่มเติมขออธิบายเฉพาะการทำเราติ้งแบบ rip ของ site-A นะครับ เช่นเดียวกันกับกรณีที่ 1 ครับ เครือข่ายแลนทาง site-A คือเครือข่าย 192.168.11.0/24 จะมีความต้องการติดต่อไปยังเครือข่ายแลนคือเครือข่าย 192.168.12.0/24 ของ site-B วิธีการที่จะให้ติดต่อได้ก็คือการทำ routing ที่เราเตอร์ครับ สำหรับกรณีนี้เลือกการทำ routing แบบ rip ดังนั้นที่เราเตอร์ A จึงต้องใช้คำสั่งดังนี้ :site-A(config)#router ripหลังจากนั้นก็ให้ใช้คำสั่ง network ซึ่งมีรูปแบบดังนี้ครับ :#network เครือข่ายที่เชื่อมต่อติดกันโดย "เครือข่ายที่เชื่อมต่อติดกัน" กับ site-A มี 2 เครือข่าย คือเครือข่าย 192.168.0.0/30 กับเครือข่าย 192.168.11.0/24 ดังนั้นการทำ routing ที่เราเตอร์ A จึงเป็นดังนี้ :site-A(config)#router ripsite-A(config-router)#network 192.168.0.0 255.255.255.252site-A(config-router)#network 192.168.11.0 255.255.255.0หลังจากที่ทำการประกาศคำสั่งดังกล่าวแล้ว เราเตอร์ทั้งสองจะมีการเรียนรู้กันเองว่า เราเตอร์ที่ตัวเองติดต่ออยู่ด้วยมีการเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายอะไรบ้าง จึงทำให้เราเตอร์ทั้งสองมีข้อมูลเครือข่ายของทั้งที่ติดต่อโดยตรงกับตัวเอง และเครือข่ายที่ติดต่ออยู่กับเราเตอร์อีกตัวได้ ซึ่งที่เราเตอร์ A จะมีค่า routing เป็นดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.11.0/24 is directly connected, 192.168.11.1C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.1R 192.168.12.0/24 [120/10] via 192.168.0.2, 00:00:33, Serial0 -----------------------------------------------------------------------------บรรทัดที่ 1 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่ายแลนของตัวเองคือ 192.168.11.0/22 โดยเชื่อมต่อผ่าน e0 ของตัวเองบรรทัดที่ 2 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่าย wan คือ 192.168.0.0/30 โดยเชื่อมต่อผ่าน s0 ของตัวเองบรรทัดที่ 3 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อกับเครือข่ายแลนของ site-B คือ 192.168.12.0/24 โดยเชื่อมต่อผ่าน พอร์ต wan ฝั่งตรงข้าม โดยการทำเราติ้งแบบ rip (R)

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์









ความหมายของระบบเครือข่าย




ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำ เครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น





ระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่าย (Network Operating Sytems)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานในระบบเครือข่าย โดยส่วนใหญ่แล้วเครือข่ายมักจะใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "เซอร์เวอร์" ในการรันระบบปฏิบัติการเครือข่ายโดยเฉพาะซึ่งระบบปฏิบัติการเครือข่ายสามารถรันเซอร์เวอร์ได้หลาย ๆ ตัว พร้อมกัน โดยแต่ละเซอร์เวอร์ก็ทำงานเฉพาะแต่ละอย่างได้ เช่น เซอร์เวอร์ตัวหนึ่ง ทำหน้าที่ควบคุมบัญชีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านผู้ใช้แต่ละคน ในขณะที่เซอร์เวอร์อีกตัวหนึ่งทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอีเมลของผู้ใช้ในเครือข่าย เป็นต้น
ตัวอย่างโปรแกรมระบบปฏิบัติการ บนเครือข่าย
Windows for Workgroups เป็นกลุ่มระบบปฏิบัติการ 16 บิต
Windows 95 เป็นกลุ่มระบบปฏบัติการ 32 บิต
Windows 98
Windows 2000
Windows NT
NetWare
LANtastic
Unix
Linux




แน่นอนที่สุดครับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นรุ่นเดียวกัน หรือประเภทเดียวกัน คุณสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์หลากหลายรุ่น หลากหลายประเภทมาเชื่อมต่อกันได้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพีซี แมคอินทอช หรือยูนิกซ์เวิร์กสเตชัน โดยใช้คอนเน็กเตอร์ (Bridge) เป็นตัวเชื่อมระบบ ที่ต่างกันให้เป็นระบบเดียวกันได้ นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ เทปแบ๊กอัป หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่น ๆ และสามารถใช้งานอุปกรณ์ เหล่านี้ได้โดยเรียกผ่านคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เอง เป็นการใช้ทรัพยากรในระบบเครือข่ายร่วมกัน



การติตต่อสื่อสาร

ความสำคัญและความหมายของการติดต่อสื่อสาร
ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจหรือหน่วยงานใด ๆ ก็ตามจะต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ความคิด อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
งานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานเลขานุการ ที่จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการพูด การฟัง การเขียน การอ่าน ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เครื่องมือสื่อสารชนิดต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ การติดต่อสื่อสาร (Communication) ยังช่วยให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน
ฉะนั้น งานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นกระบวนการที่ใช้ส่งเรื่องราวข่าวสาร ข้อความ เรื่องและภาพ ไปมาระหว่างกันทั้งภายในหน่วยงาน (Internal Communication) และภายนอกหน่วยงาน (External Communication)
สรุป การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง การส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งส่งไป และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ซึ่งการส่งข่าวสารอาจอยู่ในรูปของการสื่อสารด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร การใช้กิริยาท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ โดยอาศัยช่องทางในการติดต่อสื่อสาร

องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร
การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาในเรื่องดังนี้
1. ผู้นำสารต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายในการส่งข่าวสาร
2. ผู้ส่งควรหาช่องทางการส่งข่าวสารให้เหมาะสม
3. ผู้ส่งสารต้องเข้าใจระดับความสามารถในการสื่อสารของผู้รับสาร
4. ผู้ส่งสารต้องรู้จักใช้เทคนิคและวิธีการถ่ายทอดข่าวสารไปยังผู้รับได้อย่างเหมาะสม
4.1 ถ้าต้องการความชัดเจน ควรใช้วิธีพบปะสนทนา
4.2 ถ้าเร่งด่วน ควรใช้โทรศัพท์
4.3 ให้คนจำนวนมากทราบ ควรใช้ประกาศ
4.4 ต้องการแจ้งเรื่องสำคัญ ควรใช้วิธีประชุมชี้แจง
4.5 ต้องการหลักฐานควรเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
วัตถุประสงค์ของการติดต่อสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งข่าวสาร
2. เพื่อชักชวน หรือจูงใจ
3. เพื่อประเมิน
4. เพื่อสั่งสอนหรือให้ความรู้
5. เพื่อสนองความต้องการด้านวัฒนธรรมและมนุษยสัมพันธ์

ประโยชน์ของการติดต่อสื่อสาร
· งานบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่น
· เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความสามัคคี
· เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
· ลดข้อขัดแย้งที่เกิดจากความไม่เข้าใจกัน
· ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน
· ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย
· ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน

ประเภทของการติดต่อสื่อสาร
1. การติดต่อสื่อสารภายใน (Internal Communication) มีวัตถุประสงค์ให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้ทราบข่าวคราว ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เพื่อชี้แจง กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น ทำได้ 2 วิธีคือ
1.1 การติดต่อด้วยวาจาหรือคำพูด มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเงิน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สังเกตความจริงใจได้ และได้ข้อมูลย้อนกลับทันที
1.2 การติดต่อด้วยลายลักษณ์อักษร เป็นทางการและมีหลักฐานชัดเจน สามารถอ่านทวนความได้ทุกเวลาหรือสถานที่
การติดต่อสื่อสารภายใน สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1. การติดต่อสื่อสารในระดับเดียวกัน ไม่เป็นพิธีการ ง่ายแก่การเข้าใจ
2. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง เป็นพิธีการ และมักเป็นการสื่อสารทางเดียว
3. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน เป็นพิธีการเช่นเดียวกันการสื่อสารจากบนสู่ล่าง

2. การติดต่อสื่อสารภายนอก (External Communication)
คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักงานกับบุคคลภายนอกหรือหน่วยงานภายนอกสำนักงาน ลักษณะของการติดต่อสื่อสารภายนอกได้แก่
1. การต้อนรับ
2. การนัดหมาย
3. จดหมายออก และจดหมายเข้า
4. โทรศัพท์ โทรสาร และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
5. การใช้บริการจากบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด
6. การใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย
7. การใช้บริการสื่อมวลชนต่าง ๆ
8. สิ่งตีพิมพ์ของบริษัท
9. คำปราศรัย
10. ข้อความโฆษณา

รูปแบบของการติดต่อสื่อสารในสำนักงาน
สำนักงานขนาดเล็กมักจะใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารทางเสียงหรือคำพูด ส่วนสำนักงานขนาดใหญ่มักใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารได้ครบทุกด้าน ซึ่งอาจแบ่งรูปแบบการติดต่อสื่อสารในสำนักงานได้ 4 ชนิด คือ
1. เสียงหรือคำพูด นิยมใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะระบบโทรศัพท์ตอบรับ จะช่วยลดต้นทุนพนักงานในการรับโทรศัพท์ และเกิดความรวดเร็วในการให้บริการ นอกจากนี้ยังมีเครื่องบันทึกเทปที่ใช้บันทึกคำพูดสั่งการของผู้บังคับบัญชาอีกด้วย
2. คำ เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษรหรือการเขียนนั่นเอง
3. ภาพ เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่ถ่ายทอดในรูปแบบไร้คำ ไร้เสียง และไร้ตัวเลข แต่เป็นการสื่อสารด้วยภาพ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ
4. ข้อมูล เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นช่องทางในการติดต่อระหว่างกัน ถ้าเป็นการติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงานเดียวกันเรียกว่า ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ถ้าเป็นการติดต่อสื่อสารภายนอกสำนักงานไปยังเครือข่ายทั่วโลก เรียกว่า ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)

หลักเกณฑ์ในการติดต่อสื่อสารด้วยคำหรือการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
มีหลักในการเขียนที่เรียกว่า 7 C's ดังนี้
1. มีความชัดเจน (Clarity)
2. มีความสมบูรณ์ (Completeness)
3. มีความรัดกุมและเข้าใจง่าย (Conciseness)
4. ระลึกถึงผู้อ่าน (Consideration)
5. มีความสุภาพ (Courtesy)
6. มีความถูกต้อง (Correct)
7. ข้อเท็จจริง (Concreteness)


หลักเกณฑ์การติดต่อสื่อสารด้วยเสียงหรือการพูด
หลักเกณฑ์การพูดที่ดี
1. ผู้พูดควรสร้างบรรยากาศในการพูด โดยยกตัวอย่างประกอบการพูด เพื่อสร้างความสนใจ
2. หลีกเลี่ยงการถ่อมตัวจนมากเกินไป หรือตำหนิผู้ฟัง สถานที่ หรือกล่าวถึงบุคคลอื่น
3. ไม่ควรแสดงอารมณ์โกรธ หรือไม่พอใจผู้ฟังโดยเด็ดขาด
4. ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่สุภาพ
5. ควรมีอารมณ์ขันขณะพูด

หลักเกณฑ์การฟังที่ดี
1. ขณะฟังต้องฟังอย่างตั้งใจ จับประเด็นเนื้อหาสำคัญให้ได้
2. ต้องรู้จักสังเกตอากัปกิริยาท่าทาง ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูด

ดังนั้นในการติดต่อสื่อสารด้วยเสียงหรือคำพูดนั้น ทั้งผู้พูดและผู้ฟังจะต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย กล่าวคือจะต้องเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังที่ดี

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อมูล (Data) หมายถึ

ประเภทของข้อมูล 1. ข้อมูลเพื่อการวางแผน หมายถึง ข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนงานการบริหาร ใช้ในการควบคุม การตัดสินใจ โดยได้มีการสรุปเป็นหมวดหมู่เป็นตาราง มีการคำนวณ จัดเรียงลำดับ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลข้อมูล (มนตรี ดวงจิโน, 2546)
" กล่าวโดยสรุป ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล"
ลักษณะข้อมูล 1. ข้อมูลที่คำนวณไม่ได้ ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ รหัสประจำตัว 2. ข้อมูลที่คำนวณได้ ได้แก่ ตัวเลขที่มีความหมายในการคำนวณ

ระบบสารสนเทศ