วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา

สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา[1] หรือ เอฟบีไอ (อังกฤษ: Federal Bureau of Investigation; FBI) เป็นส่วนราชการประเภทกองแห่งสหรัฐอเมริกา มีขอบเขตในการทำงานในแต่ละสมัยแตกต่างกันและไม่ตายตัวไปตามสถานการณ์ขณะนั้น เช่น สมัยสงครามโลกเน้นคดีจารกรรม ยุคถัดมาเน้นคดีอันธพาลครองเมือง ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2เน้นคดีเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ ต่อมาเน้นคดีอาชญากรรมด้านการเงิน และปัจจุบันเน้นอาชญากรรมระหว่างประเทศ การก่อการร้าย คดียาเสพติด และการฟอกเงิน
ประวัติ
สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 โดยนายชาร์ลส์ โบนาปาร์ด อธิบดีกรมยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์ เมื่อแรกได้ชื่อว่า "หน่วยเฉพาะกิจแห่งกรมยุติธรรม" (Special Agents of Department of Justice) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนและเจ้าหน้าที่การข่าวชั้นดี และมีการแบ่งส่วนราชการเป็นยี่สิบสี่ฝ่าย
ปีถัดมา เมื่อนายจอร์จ วิกเคอร์แมนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมยุติธรรมคนใหม่ ก็ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยฯ เป็นสำนักงานสอบสวน (Bureau of Investigation) มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนคดีเกี่ยวกับการฉ้อโกง
กระทั่ง พ.ศ. 2453 เมื่อมีการประกาศใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยทาสผิวขาว สำนักงานฯ ก็ได้มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนครอบคลุมถึงคดีอาชญากรรม จากนั้นได้มีการขยายขอบเขตการทำงาน โดยมีหน่วยงานย่อยมากกว่าสามร้อยฝ่าย มีสำนักงานสาขาในรัฐต่าง ๆ จนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ก็ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่ออย่างในปัจจุบัน
เจ้าหน้าที่นำสืบของสำนักงานฯ จะต้องเข้ารับการฝึกจากวิทยาลัยสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI National Academy) เสมอไป เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามที่ประสงค์

มารู้จักกับ FBI (เอฟบีไอ)
ดูเท่ไหม?.. เวลาที่ตำรวจในหนังฮอลลีวูดพูดว่า.. "หยุดอย่าขยับนี่เจ้าหน้าที่ FBI"
เจ้าหน้าที่ FBI ก็คือตำรวจประเภทหนึ่ง แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าเจ้าหน้าที่ FBI
คือตำรวจอะไร?
FBI นั้นย่อมาจาก Federal Bureau of In vestigation เป็นหน่วยสืบสวน
คดีอาญาของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908
ชื่อเดิมคือ Bureau of Investigation

ในปี ค.ศ. 1924 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานขึ้นใหม่ และได้กำหนดนโยบาย
ของหน่วยงานที่ชัดเจนขึ้น และในปี ค.ศ. 1935 เปลี่ยนชื่อเป็น Federal Bureau
of In vestigation (ซื่อเดียวกับปัจจุบัน)
ีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C.) และยังมี
สำนักงานอยู่ตามเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีก 58 แห่ง ทั่วสหรัฐอเมริกา
และเปอร์โตริโก
หน้าที่หลัก คือ สอบสวน และสืบสวนคดีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เช่น การละเมิด
กฏหมายของรัฐบาลกลาง การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย เป็นต้น
เอฟบีไอมีหน่วยรวบรวมรูปพรรณบุคคล (Identification Division) และได้ตั้ง
ระบบรายงานอาชญากรรม (Criminal Report System) ซึ่งเน้นการนำหลัก
วิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสืบสวน สอบสวน และหาพยานหลักฐาน นอกจากนั้น ยังม
ีห้องปฏิบัติการทางด้านเคมีเพื่อใช้ในการพิสูจน์หลักฐานประกอบการสืบสวนอีกด้วย
ต่อมา ขอบเขตอำนาจของเอฟบีไอได้ขยายมากขึ้น
ตามความเจริญก้าวหน้าของโลกปัจจุบัน เพราะ..
เมื่อผู้ก่อการร้ายใช้วิธีใหม่ๆ ในการก่อความไม่สงบ
FBI ก็ต้องพัฒนาให้ทันเพื่อการต่อกร จึงนับว่า
เป็นองค์กรที่ต้องเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
เพื่อความสงบสุขของประชาชนสหรัฐอเมริกา
ย่อมาจาก Federal Bureau of Investigation สำนักงานสอบสวนกลางแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดยนายชาร์ลส์ โบนาปาร์ด รมว.ยุติธรรมและประธานาธิบดีธิวดอร์ รูสเวลต์ เมื่อ 26 ก.ค. 1908 ในนาม Special Agents of Department of Justice (หน่วยงานเฉพาะกิจแห่งกระทรวงยุติธรรม)
รูสเวลต์และโบนาปาร์ตรู้จักกันก่อนหน้าที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญของประเทศ โดย 6 ปีก่อนการก่อตั้งนั้นทั้งสองเป็นสมาชิกของคณธกรรมการปฏิรูปหน่วยงานด้านพลเรือน Civil Service Reform ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวอเมริกันเรียกร้องให้รัฐบาลปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โดยให้มีคนที่เป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” เข้ามาร่วมในกระบวนการด้วย
เมื่อรูสเวลต์ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐก็แต่งตั้งโบนาปาร์ตเป็นรมว.ยุติธรรม จากนั้นโบนาปาร์ตก็เริ่มปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ออกกฎหมายแยกอำนาจของกระทรวงยุติธรรมออกจากหน่วยงานด้านข่าวกรอง Secret Service และจัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจสังกัดกระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ ซึ่งนั่นก็คือเอฟบีไอในเวลาต่อมา ทั้งนี้ในช่วงต้นๆเอฟบีไอก็ได้อดีตเจ้าหน้าที่สืบส่วนและเจ้าหน้าที่สืบข่าวลับฝีมือดีมาเป็นทีมงานสำคัญและตอนนั้นหน่วยงานก็แบ่งเป็น 24 แผนก
ต่อมาในปี 1909 จอร์จ วิกเคอร์แมน ซึ่งก้าวขึ้นมาเป็นรมว.ยุติธรรมคนใหม่ได้เปลี่ยนชื่อกองกำลังเฉพาะกิจนี้เป็นสำนักงานสืบสวนสอบสวน Bureau of Investigation มีหน้าที่สืบสวนคดีที่ผู้ต้องหาละเมิดกฎหมาย ไม่ว่าโกงแบงก์ โกงที่ดิน โกงทรัพย์ จนกระทั่ง 1 ปี ต่อมาเมื่อพ.ร.บ.ทาสผิวขาวผ่านสภา เอฟบีไอก็มีอำนาจสืบสวนคดีอาชญากรรม จากนั้นไม่กี่ปี เอฟบีไอก็ขยายขอบเขตงานและหน่วยงานย่อยมากกว่า 300 แผนก มีสำนักงานตามรัฐต่างๆ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2475 เปลี่ยนชื่อเป็นเอฟบีไออย่างเป็นทางการ
ขอบเขตงานของเอฟบีไอแต่ละสมัยจะแตกต่างกันไม่มีตายตัว เพราะงานประเภทนี้ต้องเป็นงานที่ทันสังคมอย่างสมัยสงครามโลกก็เน้นคดีจารกรรม พอถึงยุคต่อมาก็เน้นคดีอันธพาลครองเมือง สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เน้นคดีสอบองค์กรคอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ ต่อมาก็เน้นคดีอาชญากรรมการเงิน พอยุคปัจจุบันก็เน้นคดีอาชญากรรมข้ามประเทศ ผู้ก่อการร้าย ยาเสพติดและฟอกเงิน
สำหรับนักสืบเอฟบีไอนั้นจะมาจากตำรวจที่เข้าฝึกที่สถาบัน FBI National Academy เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าการสืบสวนสอบสวนคดีฆาตกรรม คดีการเงิน คดีก่อการร้าย ฯลฯ

ความเร็ว GPRS

GPRS เป็นเทคโนโลยีในยุคแรกๆของวงการของระบบ GSM ซึ่งสมัยนั้นสามารถทำได้แค่พูดคุยอย่างเดียว ส่งข้อมูลอะไรไม่ได้เลย (สมัยนั้นเราเรียกว่าช่วง 1G) ต่อจากนั้นเทคโนโลยี GPRS ก็ถูกพัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิมเพื่อให้นอกจากการรับส่ง Voice เพียงอย่างเดียวแล้ว สามารถรับส่ง Data หรือข้อมูลไปพร้อมกันได้ด้วย จึงเป็นที่มาของการส่ง SMS จิ๊จ๊ะหากัน เราเรียกกันว่า 2G พอความแรดของคนเราเริ่มไม่พอเพียงกับความต้องการในยุคปัจจุบัน การส่งแค่ตัวหนังสือมันเริ่มจะเชยไป จึงเริ่มเป็นที่มาของการเข้าสู่ยุค 2.5G

ระบบ 2.5G เป็นต้นกำเนิดของระบบ GPRS ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อกับ Operator หรือเจ้าของเครือข่ายที่ปล่อยสัญญาณได้ความเร็วสูงสุดประมาณ 50Kbps ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีการบูมของการ Download Ringtone โทรศัพท์, ส่ง MMS เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ในปัจจุบันก็เรียกได้ว่าเกือบถูกเข็นเข้ากรุไปได้อย่างเต็มตัวแล้ว ในเมื่อประเทศไทยมีการเปิดใช้เทคโนโลยี EDGE อย่างแพร่หลาย ซึ่งความเร็วที่ต่อได้จาก EDGE จะเหนือกว่า GPRS มากกว่าถึง 4 เท่าตัวเลยทีเดียว ซึ่งหลายต่อหลายคนก็สามารถเพลิดเพลินในโลกอินเตอร์เนทยุค 2G ได้แล้วทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางมือถือ หรือโดยการใช้ Aircard

(แต่ 2.5G อาจต้องมีอันเกษียณในไม่ช้าไม่นานนี้เนื่องจากกำลังถูกคลื่นลูกใหม่ที่แรงกว่าเก่าอย่าง 3G ซัดเข้าประเทศไทย)

บทความเพิ่มเติมที่คล้ายกัน
• ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ Aircard กับ มือถือ
• ชี้ให้ชัด Aircard กับ มือถือ อะไรดีกว่ากัน?
• Aircard คืออะไร?
• EDGE คืออะไร / EDGE หมายถึง / ความเร็ว EDGE
• EDGE vs 3G จังหวะนี้ใครแน่กว่ากัน
• ซื้อ Aircard ทั้งทีเอาแบบไหนดี?
• หมัดต่อหมัด Aircard USB ยี่ห้อไหนดี?
ข้อแตกต่างของการใช้มือถือ กับ Aircard ต่อ internet

มีลูกค้าบางท่านถามว่าทำไมต้องใช้ Aircard ด้วยในเมื่อตัวมือถือเองบางรุ่นก็ Support ต่อใช้แทนเป็นโมเด็มเองก็ได้นี่ มันต่างกันตรงที่คำว่า "บางรุ่น" นี่แหละครับ

โทรศัพท์มือถือบางรุ่นไม่รองรับการใช้ GPRS/EDGE/3G เลย
โทรศัพท์มือถือบางรุ่น รองรับ การใช้ GPRS อย่างเดียว
โทรศัพท์มือถือบางรุ่น รองรับ ทั้ง GPRS/EDGE
และโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆจะรองรับทุกระบบเลยคือ GPRS/EDGE/3G

ถ้ามือถือที่รองรับ EDGE และต่อกับ notebook ผ่านสาย data link จะได้ความเร็ว EDGE ไม่ต่างกับเชื่อมต่อ internet ผ่าน Aircard แต่ถ้ามือถือต่อกับ notebook ผ่าน bluetooth บางครั้งข้อมูลอาจเดินสะดุดและช้าบ้าง แต่ตัว Aircard เองจะได้เปรียบในเรื่อง

1. ความเสถียรของสัญญาณ เพราะ Aircard มีคุณสมบัติที่รองรับการใช้ internet เหมือนกับ ไม่มีใครอยากให้โรนัลโด้ ไปเล่นเป็นผู้รักษาประตูแน่ๆ ในเมื่อเขาทำหน้าที่อื่นได้เจ๋งกว่า
2. ใช้พลังงาน battery จาก notebook น้อยกว่าทำให้เล่นนอกสถานที่ได้นานและไม่เปลืองแบตมือถืออีกต่างหาก

หลายท่านอาจสงสัยว่า Air Card คืออะไร ? ทำไมต้องใช้ Air Card ?

ถ้าจะให้ผมเปรียบเทียบง่ายๆ Aircard สมัยนี้ก็เปรียบได้กับ Modem ยุคก่อน ที่เราต้องเสียบสายโทรศัพท์ ตั้งไว้ข้างเครื่องคอมจะต่ออินเตอร์เนททีหนึ่งก็ต้องเสียเงินซื้อแพคเกจอินเตอร์เนทรายชั่วโมงมาใช้ กว่าจะต่อเนทได้ก็ต้องลุ้นแล้วลุ้นอีก หมุนโทรศัพท์ให้ติดเสียง "ตี๊ ดี่ ตี๊ ดี่..." เสียเงินอีกตั้ง 3 บาท เพื่อให้ได้ความเร็วสูงที่สุดในยุคนั้นก็คือ 56k แถมบางทีก็เนทหลุดเสียใหม่อีก 3 บาท เวลาจะออกไปข้างนอกก็ไม่สามารถจะเล่นเนทได้อีกต่างหากเพราะไม่อยากจะหิ้ว โมเด็ม หนักๆ มาพ่วงนู่นพ่วงนี่กับเครื่อง พูดไปแล้วก็ชวนให้นึกถึงสมัยก่อนจริงๆครับ (เป็นบทความที่แอบเช็คอายุผู้อ่านกันน่าดู ^^)

เริ่มเห็นภาพเก่าๆแล้วเราลองมาดูภาพใหม่ๆของยุคสมัยนี้กันบ้าง Aircard คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายโมเด็ม เพื่อเชื่อมต่อกับ notebook หรือ pc เพื่อเล่นอินเตอร์เนทแบบไร้สาย ผ่านผู้ให้บริการมือถือเ่ช่น AIS DTAC ซึ่งปัจจุบันมีแพคเกจรองรับมือถือให้เปิดใช้บริการในซิมโทรศัพท์เพื่อเล่นเนทในมือถือมากมาย ก็สามารถเริ่มมาแทนที่อินเตอร์เนทแบบแพคเกจที่ต้องต่อสายโทรศัพท์เสียเงินต่อครั้งได้เป็นอย่างดี

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ Aircard คือ ไม่จำเป็นต้องมีเบอร์โทรศัพท์บ้านเพื่อต่อแบบโมเด็ม 56k หรือ high speed internet และไม่จำเป็นลุ้นให้เขตพื้นที่มีบริการอินเตอร์เนท wifi ให้บริการหรือไม่เพราะ เพียงแค่มีสัญญาณมือถือเข้าถึง ก็สามารถใช้อินเตอร์เนทได้ทุกที่ ทุกเวลา เรียกได้ว่าเป็นอินเตอร์เนทพกพา ถึงเวลาที่อินเตอร์เนทอยู่ในกำมือคุณจริงๆ

ในปัจจุบัน Aircard มีอยู่ 3 เทคโนโลยีความเร็วให้คนไทยได้เลือกใช้กันคือ GPRS, EDGE, 3G ซึ่งปัจจุบันที่นิยมใช้เล่นเนทกันมากที่สุดก็คงเป็น EDGE ที่ความเร็วสูงสุด 220Kbps แต่การใช้งานจริงจะอยู่ระหว่าง 100-200Kbps โดยความเร็วขนาดนี้สามารถใช้เข้า web เช็คอีเมล์ ได้สบาย แต่ต้องเข้าใจนิดหนึ่งว่า EDGE นั้นก็เป็นสัญญาณซึ่งไม่ต่างจากคลื่นมือถือตรงที่ว่าในบางช่วงสัญญาณจะอ่อนหรือหายไป ทำให้เนทสะดุด ดังนั้นหากจะเอาไปเล่นเกมส์ออนไลน์หรือดู TV, Youtube แบบ Smooth เลยนั้นคงไม่ได้ ซึ่งภาพจะสะดุดเป็นช่วงๆ จำเป็นต้อง download ให้เสร็จก่อนแล้วค่อยดูทีเดียว ดังนั้นหากคิดจะดูทีวีด้วย AirCard คงต้องรอใช้ระบบ 3G ซึ่งจะมีความเร็วที่ 3.6-7.2Mbps ซึ่งตอนนี้ยังมีบริการไม่กี่แห่งในประเทศสยามเท่านั้น และไม่รู้เมื่อไหร่จะใช้ได้ทั่วประเทศไทย...
EDGE คืออะไร / EDGE หมายถึง / ความเร็ว EDGE
EDGE (เอดจ์) ย่อมาจาก Enhance Data Rates for Global เป็นเทคโนโลยี 3G ยุคต้นๆ ซึ่งเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า 2.75G (ส่วน GPRS เรียกว่ายุค 2.5G) EDGE เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาให้มีความเร็วแบบไร้สายที่ใช้กับมือถือให้เร็วกว่า ไวกว่า GPRS ซึ่งความเร็วที่ได้ในปัจจุบัน EDGE สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า GPRS ถึง 4 เท่าตัว

ระบบ EDGE นั้นจะพัฒนาจาก ระบบ GPRS ให้ความสามารถรับส่งข้อมูลต่อ slot สูงขึ้น โดยถ้าพัฒนากันจริงๆ สามารถรับส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 473.6Kbps แต่สำหรับเมืองไทยนั้น ความเร็วสูงสุดของ EDGE ที่ Operator ปล่อยออกมานั้นจะอยู่ที่ 220 - 236.8Kbps เท่านั้น (หรือที่เราเรียกกันว่า Class 10 ) ซึ่งต่อให้โทรศัพท์มือถือ หรือ AirCard เครื่องไหนที่สามารถรับสัญญาณ EDGE ได้ 473.6 แต่ connect จริงก็จะไม่เกิน 220Kbps เท่าที่ Operator ปล่อยออกมา

ความเร็ว EDGE ที่ว่านี้สามารถใช้ เข้าweb ฟังเพลง เล่นเกมส์ chat พร้อมดู webcam ได้สบาย แต่ต้องทำความเข้าใจด้วยว่า EDGE นั้นไม่ต่างจากคลื่นมือถือตรงที่บางช่วงเวลาสัญญาณจะอ่อนหรือหายไป อาจทำให้ net สะดุด ดังนั้นหากนำไปใช้เล่นเกมส์จำพวกที่ว่าห้ามเน็ตเดินสะดุดเลยสักช่วงวินาทีเดียว จะแนะนำว่าเล่นแบบ Hi-Speed จะทำให้เล่นเกมส์ได้ stable กว่า

แต่ด้วยความเร็วที่จำกัดเพียง 200Kbps กว่าๆนี้ คงไม่เพียงพอต่อการใช้ดู TV online หรือ Youtube ได้แบบต่อเนื่อง ซึ่งภาพที่ได้จะสะดุดเป็นช่วงๆ จำเป็นต้องให้download เสร็จก่อนค่อยดูทีเดียว ดังนั้นหากต้องการดู TV ด้วย AirCard คงต้องใช้ Hi-Speed Internet หรือ ใช้ระบบ 3G ซึ่ง 3G จะวิ่งที่ความเร็ว 3.6-7.2Mbps สามารถใช้ดู TV ได้ 3-5 ช่องพร้อมกันแบบสบายๆ โดยใช้ Aircard ก็เพลินได้แบบไม่มีติดขัดครับ

GPRS คืออะไร

GPRS (General Packet Radio Service)
นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใดในแวดวงโทรคมนาคม ซึ่งจะจัดให้มันอยู่ในเจนเนอเรชั่นที่ 2.5 G สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (โดย 1 G หมายถือโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก, 2 G หมายถึง โทรศัพท์มือถือดิจิตอลปัจจุบันที่เราใช้อยู่)
GPRS นั้นถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่แค่การใช้เสียงเท่านั้น โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งความเร็วที่สูงระดับนี้สามารถรองรับกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อในมือคุณไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail
GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้) จากนั้นในปี 2002 จะเข้าสู่ยุคของ 3G เสียที
GPRS คืออะไร?
- เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิมเพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้ได้กับเครือข่ายระบบ GSM ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับการติดตั้ง และทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้ Mobile Internet ด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
- นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพด้วยความเร็วจากเดิมเพียงแค่ 9.6 Kbps เป็น 40 Kbps ช่วยให้ท่านสามารถเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่
- การส่งข้อมูลแบบใหม่ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปภาพที่เป็นกราฟฟิก เสียงและวิดีโอ เช่นการใช้ Video Conference

ทำไมต้อง GPRS?
- เพราะ GPRS ช่วยให้ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แม้ในช่วงเวลาที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตมาก
- เพราะ GPRS ทำให้ท่านเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าคุณอยู่ที่ใด และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
- เพราะ GPRS ช่วยให้ท่านไม่ขาดการติดต่อ ท่านสามารถรับส่งเมล์ได้อย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งเล่น ICQ

การพัฒนาเทคโนโลยี
หลังจากที่วงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการพัฒนาด้านการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือและ None Voice Application อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัดในระหว่างเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยเสียงหรือข้อมูล ดั้งนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงได้พัฒนาและนำเทคโนโลยีอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น
1. Short Message Service (SMS)
- การใช้เทคโนโลยี SMS หรือการส่งข้อความที่กำลังได้รับความนิยมกันทั่วไปมากขึ้นทุกวันในบ้านเราขณะนี้
- Sim Tool Kit โดยใช้ Sim Card ที่ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้พัฒนาและเพิ่มเติมบริการไว้ให้ใช้งานและบริการต่าง ๆ ง่ายมากยิ่งขึ้น
2. Circuit Switched Data (CSD)
- WAP หรือ Wireless Application Protocol ที่สามารถ Connect กับโลกของข่าวสารข้อมูลกับ Wap Site ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกแม้กระทั้งในรูปแบบของ Wireless Internet

แต่อย่างไรก็ตามทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังเล็งเห็นว่า การโอนถ่ายสื่อสารข้อมูลของโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ยังมีข้อจำกัดในด้านความเร็วการรับส่ง และรวมไปถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถทำการรับจึงได้เริ่มพัฒนาแก้ไขเพื่อที่จะเพิ่มเติมบริการตรงส่วนบกพร่องนี้ให้ดีขึ้น จึงได้เริ่มนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service)

GPRS เป็นตัวย่อจากภาษาอังกฤษ" General Packet Radio Service"ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลต่างๆในรูปแบบแพ็กเก็ตต่าง ๆ

การเชื่อมต่อแบบใหม่ที่ใช้ระบบGPRSเข้ามาก็จะเป็นการเชื่อมต่อและวิธีการส่งข้อมูลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตก็คือ เมื่อต้องการข้อมูลหรือส่งข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ ก็จะเป็นการส่งข้อมูลลักษณะนั้น เข้าไปในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องจองเวลาไว้ตลอดเวลา จึงทำให้วิธีการใช้งานของ GPRS ในแบบใหม่นี้จะเห็นได้ว่าจะมีการพูดถึง การเก็บเงินที่เป็นจำนวนข้อมูลที่รับ และส่งออกมา มากกว่าวิธีการติดต่อสื่อสารจากวิธีเดิมที่คิดจำนวนเวลาในการติดต่อสื่อสารแต่ละครั้ง

การติดต่อด้วยระบบ GPRS ยังสามารถติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ในขณะที่เราสามารถติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเตอร์เน็ตในขณะเดียวกัน ซึ่งก็คือ เราสามารถติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ ภายในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแต่ละรุ่นที่ผลิตออกมา แต่เท่าที่ทราบในขณะนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรุ่นยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารพร้อม ๆ กันได้

GPRS เชื่อมโลกอินเตอร์เน็ต บนโทรศัพท์เคลื่อนที่
GPRS ไม่ได้เป็นลักษณะที่จะสามารถให้บริการได้ด้วยตัวของระบบเอง แต่ตัวมันเองเป็นเพียงแค่ Bearer ให้กับ Application ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ความเร็วที่เพิ่มมากกว่าปกติในระบบ GSM ที่เคยรองรับอยู่เดิมมาก่อน และระบบ GPRS จะต้องต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็น IP Network อีกต่อหนึ่ง
ดังนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะเปิดใช้ในระบบ GPRS ได้นั้นจะต้องทำการติดตั้งระบบเครือข่าย ที่ประกอบด้วยหน่วย
หลัก ๆ 2 หน่วยด้วยกัน คือ
1. SGSN (Serving GPRS Supports Node)
2. GGSN (Gateway GPRS Supports Node)
โดยทั้งสองหน่วยหลักขององค์ประกอบนี้จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นตัวช่วยเพื่อไปร่วมใช้ Radio Interface จาก Base Station โดยผ่านตัวควบคุม ที่เรียกว่า PCU (Packet Control Unit) ที่ติดตั้งไว้ที่ BSC(Base Station Controller) อันทั้งนี้อาจมองNetwork เป็นอีก Network หนึ่ง ซึ่งเข้ากับ Mobile Phoneผ่านทาง Radio Interface ของระบบ GSM Network เดิมโดยเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการรับส่งข้อมูลเป็น Packetโดยตรง
คุณสมบัติเด่นหลัก ๆ ของระบบ GPRS คือ
การโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถในการ รับ- ส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้สูงถึง 9 - 40 kbps ซึ่งจะทำให้สามารถรับ- ส่งข้อมูลที่เป็น VDO Mail หรือ ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆได้ พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เร็ว และมีประสิทธภาพมากกว่าเดิมรวมถึงการ Down lode/Up lode ได้ง่ายยิ่งขึ้น
Always On การเชื่อมต่อเครือข่ายและโอนถ่ายข้อมูลสามารถดำเนินต่อไป แม้ในขณะที่มีสายติดต่อเข้ามาก็ตาม จึงทำให้การโอนถ่ายข้อมูลไม่ขาดตอนลง
Wireless Internet ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Terminal เช่น PDA หรือ Note Book สามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่

ประโยชน์ของ GPRS
• ประหยัดค่าใช้จ่าย - เทคโนโลยี GPRS จะทำให้การคิดอัตราค่าบริการในการใช้อินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการรับ และส่งข้อมูล ไม่ใช่ช่วงเวลาในการเชื่อมต่อ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ จ่ายเพียงแค่อัตราค่าบริการในการดาวน์โหลด และอัพโหลดเท่านั้น
• รวดเร็วยิ่งขึ้น - GPRS จะช่วยให้ท่านเชื่อมต่อ และรับข้อมูลจ่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ GSM ทั่วไป ทำให้การเข้าสู่ web หรือการรับส่งe-mail เป็นไปอย่างสะดวก และง่ายดาย
• คุ้มค่า - เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อย แต่รับผลตอบแทนจากการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมากมาย
• น่าใช้ - GPRS ทำให้ท่านได้รับข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบข้อความ หรือรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบไปด้วยรูปภาพ เสียง และวีดิโอ ทำให้การติดต่อสื่อสารของคุณผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ซ้ำซากอีกต่อไป

GPRS ดีกว่าระบบ GSM เดิมอย่างไร?
ความเร็วที่เพิ่มขึ้น จาก 9.6 Kbps เป็น40 Kbps
สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา (Always On) โดยไม่เสียค่าบริการ และยังสามารถโทรออก และรับสายโทรเข้าได้ ในขณะที่คุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่
เสียค่าบริการจากจำนวนข้อมูลที่เราทำการรับ หรือส่ง (Download หรือ Upload) เท่านั้น
สามารถรับข้อมูลในรูปแบบของ Multimedia ได้ เช่นการชม Video Clip ผ่านทางอุปกรณ์ PDA ได้

บริการในระบบ GPRS
ด้วยโทรศัพท์มือถือในระบบ GPRS คุณสามารถเข้าสู่บริการ non voice ที่หลากหลายจาก mobileLIFE โดยบริการใหม่ล่าสุดคือบริการ mClose2me, mDiscount, และ Advanced Mail จาก mMail นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้บริการอื่นๆที่มีอยู่เดิม เช่น mInfo, mEntertain, mBanking, mMail, mChat, mShopping และ mMessaging ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นได้อีกด้วย
มากไปกว่านั้นคือถ้าคุณใช้โทรศัพท์มือถือระบบ GPRS ต่อเชื่อมเข้ากับ PDA หรือ Computer Notebook ของคุณ คุณจะสามารถ Browse สู่โลกอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายดายทุกที่ ทุกเวลา และคุณยังสามารถรับข้อมูล ข่าวสารในรูปแบบของ Video ไม่ว่าจะเป็นรายการกีฬา, ละคร, ข่าว, และ ข้อมูลสภาพการจราจร ที่จะทำให้ชีวิตของคุณ ต่อติดกับโลกที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ

รูปแบบการให้บริการของ GPRS
• Textual And Visual Information บริการนี้เป็นจุดแตกต่างอย่างแรกที่ GPRS เหนือกว่า GSM ทั่วไป โดยสามารถส่งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพกราฟิกไปยังโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกรวดเร็วซึ่งจะทำให้ GPRS แทรกซึมเข้าสู่การใช้งานของคนทั่วไป ได้ทั้งข่าวความเคลื่อนไหว, ข้อมูลที่คนส่วนใหญ่สนใจ รวมทั้งบริการต่างๆ ที่จะเสริมเข้ามาในอนาคต
• Still Images เป็นการส่งภาพนิ่งความละเอียดสูงไปมาระหว่างเครื่องด้วยกันได้ ทำให้สามารถส่งผ่านความรู้สึกดีๆ ผ่านภาพถ่าย หรือการ์ดอวยพรได้เลย รวมทั้งภาพที่ถ่ายได้จากกล้องดิจิตอล ก็สามารถโอนแล้วส่งต่อไปได้ทันที
• Moving Images นอกเหนือจากภาพนิ่งแล้วภาพเคลื่อนไหวก็สามารถส่งต่อกันไปได้เช่นกัน เช่น การประชุมทางไกล หรือ การส่งภาพจากกล้องวงจรปิดไปยังโทรศัพท์มือถือในกรณีประยุกต์ใช้กับระบบรักษาความปลอดภัย
• Chat เป็นคุณสมบัติที่คงจะถูกใจของผู้รักการคุยแบบไม่ใช้เสียง ซึ่งสามารถสนทนากันได้ทั้งแบบเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มได้อย่างสบายใจ ซึ่งจุดเด่นที่สำหรับ สามารถ Chat ได้ทุกที่ที่อยากจะ Chat
• Web Browsing เป็นการเข้าสู่ World Wide Web ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งความเร็วมีให้เลือกตั้งแต่ 56 Kbps ไปจนถึง 112 Kbps การท่องเว็บจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แม้รูปแบบการแสดงผลจะแตกต่างจากการท่องเว็บโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง
• E-Mail เป็นบริการพื้นฐานที่มีคนนิยมใช้งานมากที่สุดสำหรับการส่งข้อความ โดยจะมีการใช้ในรูปของ SMS (Short Message Service) ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
• File Transfer เป็นบริการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลซึ่งน่าจะใช้งานกันอย่างแพร่หลายขึ้น GPRS เพราะความเร็วดูจะเหนือกว่าการใช้งานผ่านโมเด็มกับโทรศัพท์พื้นฐานที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก โดยจะรองรับกับโปรโตคอล FTP และแอพพลิเคชั่นที่อ่านข้อความอย่าง Acrobat Reader
• Audio แน่นอนว่าโทรศัพท์ต้องมีเสียง แต่บริการด้านเสียงของ GPRS จะเหนือกว่าโทรศัพท์มือถือเดิม ๆ ที่เรารู้จัก เนื่องจากความคมชัดของสัญญาณเสียงที่เหนือกว่า และยังประยุกต์ใช้ในการเก็บไฟล์เสียงเพื่อนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห็รายละเอียดของเสียงในงานของตำรวจ เป็นต้น
• Remote LAN Access เราสามารถเข้าถึงเครือข่ายความพิวเตอร์ โดยใช้โทรศัพท์มือถือแทนเบอร์โทรศัพท์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้อย่างง่ายดาย ซึ่งความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลจะเหนือกว่าโทรศัพท์พิ้นฐานทั่วไป
• Vehicle Positioning เป็นความสามารถในการบอกตำแหน่งของยานพาหนะที่เราใช้อยู่ โดยจะสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียม ซึ่งจะสามารถบอกตำแหน่งที่เราอยู่โดยอ้างอิงกับเครื่องโทรศัพท์มือถือได้อย่างแม่นยำ

GPS คือ

ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียม 3 ค่าย คือ
• อเมริกา รัสเซีย ยุโรป ของอเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม.หรือ 12,600 ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง
• ยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปื 2008
• รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force)
ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจากนโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก / ลบ 10 เมตร
2. GPS ทำงานอย่าง ไร?
ดาวเทียม GPS (Navstar) ประกอบด้วยดาวเทียม 24 ดวง โดยแบ่งเป็น 6 รอบวงโคจร การโคจรจะเอียงทำมุมเอียง 55 องศา
กับเส้นศูนย์สูตร ( Equator )ในลักษณะสานกันคล้าย ลูกตะกร้อแต่ละวงโคจรมีดาวเทียม 4 ดวง รัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม. หรือ 12,600 ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง
GPS ทำงานโดยการรับสัญญานจากดาวเทียมแต่ละดวง โดยสัญญาณดาวเทียมนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลที่ระบุตำแหน่งและเวลาขณะส่งสัญญาณ ตัวเครื่องรับสัญญาณ GPS จะต้องประมวลผลความแตกต่างของเวลาในการรับสัญญาณเทียบกับเวลาจริง ณ ปัจจุบันเพื่อแปรเป็นระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญานกับดาวเทียมแต่ละดวง ซึ่งได้ระบุมีตำแหน่งของมันมากับสัญญานดังกล่าวข้างต้น
เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการค้นหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม ต้องมีดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง เพื่อบอกตำแหน่งบนผิวโลก ซึ่งระยะห่างจากดาวเทียมทั้ง 3 กับเครื่อง GPS (ที่จุดสีแดง) จะสามารถระบุตำแหน่งบนผิวโลกได้หากพื้นโลกอยู่ในแนวระนาบแต่ในความเป็นจริงพื้นโลกมีความโค้งเนื่องจากสัณฐานของโลกมีลักษณะกลมดังนั้นดาวเทียมดวงที่ 4 จะทำให้สามารถคำนวนเรื่องความสูงเพื่อทำให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องมากขึ้น
การวัดระยะห่างระหว่างดาวเทียมกับเครื่องรับทำได้โดยใช้สูตรคำนวน ระยะทาง = ความเร็ว * ระยะเวลา วัดระยะเวลาที่คลื่นวิทยุส่งจากดาวเทียมมายังเครื่องรับ GPS คูณด้วยความเร็วของคลื่นวิทยุจะเท่ากับระยะทางที่เครื่องรับ อยู่ห่างจากดาวเทียม โดยเวลาที่วัดได้มาจากนาฬิกาของดาวเทียมที่มีความแม่นยำสูงมีความละเอียดถึงนาโนวินาที และมีการสอบทวนเสมอๆกับสถานีภาคพื้นดิน
องค์ประกอบสุดท้ายก็คือตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวงในขณะที่ส่งสัญญาณมาว่าอยู่ที่ใด(Almanac) มายังเครื่องรับ GPS โดยวงโคจรของดาวเทียมได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วเมื่อถูกส่งขื้นสู่อวกาศ สถานีควบคุมจะคอยตรวจสอบการโคจรของดาวเทียมอยู่ตลอดเวลาเพื่อทวนสอบความถูกต้อง
2. ส่วนควบคุความแม่นยำของการระบุตำแหน่งนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง กล่าวคือถ้าระยะห่างระหว่างดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ห่างกันย่อมให้ค่าที่แม่นยำกว่าที่อยู่ใกล้กัน และยิ่งมีจำนวนดาวเทียมที่รับสัญญานได้มากก็ยิ่งให้ความแม่นยำมากขึ้น ความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศชั้นบรรยากาศประกอบด้วยประจุไฟฟ้า ความชื้น อุณหภูมิ และความหนาแน่นที่แปรปรวนตลอดเวลา คลื่นเมื่อตกกระทบ กับวัตถุต่างๆ จะเกิดการหักเหทำให้สัญญาณที่ได้อ่อนลง และสิ่งแวดล้อมในบริเวณรับสัญญานเช่นมีการบดบังจากกระจก ละอองน้ำ ใบไม้ จะมีผลต่อค่าความถูกต้องของความแม่นยำ เนื่องจากถ้าสัญญาณจากดาวเทียมมีการหักเหก็จะทำให้ค่าที่คำนวณได้จากเครื่องรับสัญญาณเพี้ยนไป และสุดท้ายก็คือประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญานว่ามีความไวในการรับสัญญาณแค่ไหนและความเร็วในการประมวณผลด้วย
ม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ
ทุกผู้ที่ใช้ระบบ GPS จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณ GPS หน่วยประมวลผล โปรแกรมแผนที่และข้อมูลแผนที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ การรับสัญญานจากดาวเทียมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนการใช้งานในรูปแบบที่ใช้ประกอบกับแผนที่จะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของแผนที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริษัทที่จัดทำแผนที่ ในประเทศไทยมีผู้จัดทำแผนที่เพื่อใช้กับ GPS รายใหญ่ๆได้แก่
วันนี้บางท่านมักจะเข้าใจผิดว่า GPS เป็น GPRS ซึ่ง GPRS ย่อมาจากคำว่า General Packet Radio Service เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ PDA หรือ note bookเพื่อเชื่อมต่อกับ internet
ABLE ITS (POWER MAP)
ESRI (GARMIN)
MAP POINT ASIA (SMARTMAP)
BANGKOK GUIDE
MapKing
iGO
SpeedNavi
Mio Map
แผนที่นำทางของแต่ละบริษัทจะมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไปและข้อมูลแผนที่ของแต่ละค่ายไม่สามารถนำมาใช้งานกับโปรแกรมของค่ายอื่นได้แม้ว่าจะมีพื้นฐานของข้อมูลใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เป็นเพราะการรักษาสิทธิทางปัญญาของแต่ละบริษัท ทำให้แต่ละค่ายจะต้องทำการสำรวจภาคสนามเองหรือต้องซื้อข้อมูลจากบริษัทอื่น แผนที่ของไทยจึงมีข้อจำกัดในการพัฒนาเนื่องมาจากภาระในด้านต้นทุนและฐานจากจำนวนผู้ใช้งานยังมีน้อย ในบางประเทศรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลทางภูมิศาสตร์นี้ให้กับภาคเอกชนจึงทำให้การพัฒนาแผนที่นำทางเป็นไปอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
นอกจากความเฉพาะของแนที่นำทางจะไม่สามารถนำมาใช้ต่างค่ายได้แล้ว แผนที่ยังมีความเฉพาะสำหรับเครื่องแต่ละเครื่องด้วยคือไม่สามารถนำแผนที่จากเครื่องหนึ่งไปใช้กับเครื่องอื่นได้ จะต้องมีการป้อนรหัสที่ทางบริษัทจัดให้จึงจะสามารถใช้งานได้
ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้งาน GPS ในรูปแบบต่างๆดังนี้
• การกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การทำแผนที่ งานสำรวจ โดยส่านใหญ่นิยมใช้อุปกรณืที่สามารถพกพาไปได้ง่าย มีความทนทาน กันน้ำได้ สามารถใช้กับถ่านไฟฉายขนาดมารตฐานได้ ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่
• การนำทาง ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมีหลากหลายแบบและขนาด สามารถนำทางได้ทั้งภาพและเสียง ใช้ได้หลายภาษา บางแบบมีภาพเสมือนจริง ภาพสามมิติ และประสิทธิภาพอื่นๆเพิ่มเติมเช่น multimedia Bluetooth handfree เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่
• การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายหมุดดาวเทียม GPS ของกรมที่ดิน (DOLVRS)
• การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย เช่น เสื้อกั๊กชูชีพที่มีเครื่องส่งสัญญาณจีพีเอส
• การวางผังสำหรับการจัดส่งสินค้า
• การนำไปใช้ประโยชน์ในขบวนการยุติธรรม เช่นการติดตามบุคคล การติดตามการค้ายาเสพติด ฯลฯ ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่
• การนำไปใช้ประโยชน์ทางทหาร ดูรายละเอียดเกี่ยวกับอนาคตGPS ทางทหารจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่นี่ The Future of the Global Positioning System
• การกีฬา เช่นใช้ในการฝึกฝนเพื่อวัดความเร็ว ระยะทาง แคลลอรี่ที่เผาผลาญ ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่ หรือ ใช้ในสนามกอล์ฟเอคำนวนระยะจากจุดที่อยู่ถึงหลุม
• การสันทนาการ เช่น กำนดจุดตกปลา หาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตกปลา การวัดความเร็ว ระยะทาง บันทึกเส้นทาง เครื่องบิน/รถบังคับวิทยุ
• ระบบการควบคุมหรือติดตามยานพาหนะ การติดตามบุคคล เพื่อให้ทราบว่ายานพาหนะอยู่ที่ใด มีการเคลื่อนที่หรือไม่ มีการแจ้งเตือนให้กับผู้ติดตามเมื่อมีการเคลื่อนที่เร็วกว่าที่กำหนดหรือเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่หรือเข้าสู่พื้นที่ที่กำหนด นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้ในการป้องกันการโจรกรรมและติดตามทรัพย์สินคืน ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่
• การนำข้อมูล GPS มาประกอบกับภาพถ่ายเพื่อการท่องเที่ยว การทำรายงานกิจกรรม เป็นต้น โดยจะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมติดตั้งอยู่กับกล้องบางรุ่น หรือการใช้ GPS Data Logger ร่วมกับ Software ดูรายละเอียดที่นี่
ก่อนอื่นผู้ใช้จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมหรือมีอุปกรณ์นำทาง เมื่อผู้ใช้นำเครื่องไปใช้งานมีการเปิดรับสัญญาณ GPS แล้วคัวโปรแกรมจะแสดงตำแหน่งปัจจุบันบนแผนที่ แผนที่สำหรับนำทางจะเป็นแผนที่พิเศษที่มีการกำหนดทิศทางการจราจร เช่น การจราจรแบบชิดซ้ายหรือชิดขวา ข้อมูลการเดินรถทางเดียว จุดสำคัญต่างๆ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ฝังไว้ในข้อมูลแผนที่ที่ได้ทำการสำรวจและตั้งค่าไว้แล้ว ในแต่ละทางแยกก็จะมีการกำหนดค่าเอาไว้ด้วยเช่นกันเพื่อให้ตัวโปรแกรมทำการเลือกการเชื่อมต่อของเส้นทางจนถึงจุดหมายที่ได้เลือกไว้
เสียงนำทางก็จะทำงานสอดคล้องกับการเลือกเส้นทาง เช่นถ้าโปรแกรมเลือกเส้นทางที่จะต้องไปทางขวาก็จะกำหนดให้มีการแสดงเสียงเตือนให้เลี้ยวขวา โดยแต่ละโปรแกรมก็จะมีการกำหนดเตือนไว้ล่วงหน้าว่าจะเตือนก่อนจุดเลี้ยวเท่าใด ส่วนการแสดงทิศทางก็จะมีการบอกไว้ล่วงหน้าเช่นกันแล้วแต่ว่าจะกำหนดไว้ล่วงหน้ากี่จุด บางโปรแกรมก็กำหนดไว้จุดเดียว บางโปรแกรมกำหนดไว้สองจุด หรือบางปรแกรมก็สามารถเลือกการแสดงได้ตามความต้องการของผู้ใช้
การคำนวณเส้นทางนี้จะถูกคำนวณให้เสร็จตั่งแต่แรก และตัวโปรแกรมจะแสดงผลทั้งภาพและเสียงตามตำแหน่งจริงที่อยู่ ณ.จุดนั้นๆ หากมีการเดินทางออกนอกเส้นทางที่ได้กำหนดไว้ เครื่องจะทำการเตือนให้ผู้ใช้ทราบและจะคำนวณให้พยายามกลับสู่เส้นทางที่ได้วางแผนไว้ก่อน หากการออกนอกเส้นทางนั้นอยู่เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ก็จะมีการคำนวณเส้นทางให้ใหม่เองอัตโนมัติ
เมื่อเครื่องคำนวณเส้นทางให้ผู้ใช้สามารถดูเส้นทางสรุปได้ล่วงหน้า หรือแสดงการจำลองเส้นทางก็ได้ โปรแกรมนำทางบางโปรแกรมมีความสามารถกำหนดจุดแวะได้หลายจุดทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดให้การนำทางสอดคล้องกับการเดินทางมากที่สุด หรืออาจใช้ในการหลอกเครื่องเพื่อให้นำทางไปยังเส้นทางที่ต้องการแทนที่เส้นทางที่เครื่องคำนวณได้ บางปรแกรมก็มีทางเลือกให้หลีกเลี่ยงแบบต่างๆเช่น เลี่ยงทางผ่านเมือง เลี่ยงทางด่วน เลี่ยงทางกลับรถ เป็นต้น

อัตราเร็วของแสง

อัตราเร็วของแสง (speed of light) ในสุญญากาศ มีนิยามว่าเท่ากับ 299,792,458 เมตรต่อวินาที (หรือ 1,079,252,848.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 186,282.397 ไมล์ต่อวินาที หรือ 670,616,629.4 ไมล์ต่อชั่วโมง) ค่านี้เขียนแทนด้วยตัว c ซึ่งมาจากภาษาละตินคำว่า celeritas (แปลว่า อัตราเร็ว) และเรียกว่าเป็นค่าคงที่ของไอน์สไตน์ แสงเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดนั่นคือไม่ว่าผู้สังเกตจะเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด ด้วยเงื่อนไขใด อัตราเร็วของแสงที่ผู้สังเกตคนนั้นวัดได้ จะเท่าเดิมเสมอ ซึ่งขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป แต่เป็นไปตาม ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
สังเกตว่าอัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ เป็น นิยาม ไม่ใช่ การวัด ในหน่วยเอสไอกำหนดให้ เมตร มีนิยามว่าเป็นระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศในเวลา 1/299,792,458 วินาที แสงที่เดินทางผ่านตัวกลางโปร่งแสง (คือไม่เป็นสุญญากาศ) จะมีอัตราเร็วต่ำกว่า c อัตราส่วนของ c ต่ออัตราเร็วของแสงที่เดินทางผ่านในตัวกลาง เรียกว่า ดรรชนีหักเหของตัวกลางนั้น
ภาพทั่วไป
จากทฤษฎีทางฟิสิกส์ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดรวมทั้งแสง จะแพร่ออกไป(เคลื่อนที่)ในสุญญากาศ ด้วยอัตราเร็วคงที่ค่าหนึ่ง เรียกว่า อัตราเร็วของแสง ซึ่งเป็นค่าคงที่เชิงกายภาค เขียนแทนด้วยตัว c ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ความโน้มถ่วงยังแพร่ออกไปในอัตราเร็ว c ด้วย
จากกฎของแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่น สมการของแมกซ์เวลล์) อัตราเร็ว c ของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า จะไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่ปล่อยรังสี เช่น แสงที่ปล่อยออกมาจากวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จะมีอัตราเร็วเดียวกับ แสงที่ปล่อยออกมาจากวัตถุที่อยู่นิ่ง (แม้ว่า สี, ความถี่, พลังงาน, และโมเมนตัมของแสงจะไม่เท่ากัน เรียกว่า ปรากฏการณ์ Relativistic Doppler)
การสื่อสาร
อัตราเร็วของแสงมีผลต่อการสื่อสารมากทีเดียว ตัวอย่างเช่น การสื่อสารจากโลกอีกด้านหนึ่ง ไปยังอีกด้านหนึ่ง ตามทฤษฎี ต้องใช้เวลาไม่น้อยไปกว่า 0.67 วินาที เพราะว่าโลกมีเส้นศูนย์สูตรยาว 40,075 กิโลเมตร
ในความเป็นจริง อาจต้องใช้เวลามากกว่านั้น เพราะว่าแสงที่เดินทางในใยแก้วนำแสงจะเดินทางช้าลงถึง 30% และไม่บ่อยนักที่เส้นทางการสื่อสารจะเป็นเส้นตรง นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้า ที่เกิดจากสัญญาณเดินทางผ่านสวิตซ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องกำเนิดสัญญาณอีกด้วย เช่น ในปี ค.ศ. 2004 การสื่อสารจากออสเตรเลียหรือจากญี่ปุ่น ถึงสหรัฐอเมริกา นั้นต้องใช้เวลาถึง 0.18 วินาที
ผู้ที่ติดตามชมการสื่อสารระหว่างศูนย์ควบคุมฮิวส์ตัน (Houston ground control) กับนีล อาร์มสตรองเมื่อเขาอยู่บนดวงจันทร์ คงจะได้รู้ว่า เมื่อศูนย์ควบคุมได้ถามคำถามนีล เราต้องใช้เวลาประมาณ 3 วินาที กว่าจะได้รับคำตอบจากนีล แม้ว่าเขาจะตอบกลับมาทันทีก็ตาม ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราเร็วของแสงที่จำกัด
การควบคุมยานอวกาศที่เดินทางระหว่างดาวเคราะห์จากศูนย์ควบคุมบนโลก จึงแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะมันต้องใช้เวลานานมาก กว่าศูนย์ควบคุมบนโลกจะได้รับรายงาน และกว่ายานอวกาศจะได้รับสัญญาณตอบกลับ อาจต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง
อัตราเร็วของแสงมีผลต่อการสื่อสารในระยะทางสั้นๆด้วย ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ อัตราเร็วของแสงเป็นตัวจำกัดว่ามันจะส่งข้อมูลระหว่างตัวประมวลผลได้เร็วเท่าไร ถ้าตัวประมวลผลมีความเร็ว 1 GHz สัญญาณจะเดินทางได้มากสุด 300 มิลลิเมตรในหนึ่งรอบการทำงาน ดังนั้น ตัวประมวลผลจึงต้องวางให้ใกล้กันมากเพื่อลดความล่าช้า ถ้าความถี่ของสัญญาณนาฟิกาเพิ่มขึ้น อัตราเร็วของแสงจะเป็นปัจจัยที่กำหนดการออกแบบภายในของชิปแต่ละตัว
ความเร็วแสง
นักฟิสิกส์ได้รู้มานานกว่าหนึ่งศตวรรษแล้วว่า แสงที่เราเห็นด้วยตาเปล่านั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ถึงแม้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีหลายชนิด เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ รังสีอินฟราเรด รังสีอัลตราไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ และรังสีแกมมา แต่รังสีทุกชนิดก็มีความเร็ว ในสุญญากาศเท่ากันหมด ซึ่งเรียกว่าความเร็วแสง C = 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที
การทดลองของ Michelson และ Morley เมื่อ 119 ปีก่อนนี้ ได้ยืนยันอย่างมั่นเหมาะว่า ไม่ว่าแหล่งกำเนิดแสงหรือคนดูแสง จะมีสภาพการเคลื่อนที่เร็วช้าอย่างไร ความเร็วแสงที่คนดูแสงวัดได้จะตรงกันหมดคือ 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ทุกครั้งไป ความจริงที่ได้จากการทดลองนี้ ได้ชี้นำให้ Einstein สร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Theory of Relativity) ขึ้นมา และหนึ่งใน คำพยากรณ์ที่ได้จากทฤษฎีนี้คือ ความเร็วของอนุภาคและพลังงานในการเคลื่อนที่จากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่อื่นๆ จะไม่มีวันเร็วกว่าแสง
แต่ถ้าแสงเดินทางในสสารเช่น อากาศ น้ำ หรือแก้ว เพราะเหตุว่าความเร็วแสงในตัวกลางเหล่านี้ขึ้นกับความยาวคลื่นของแสง ดังนั้น แสงแต่ละสีจะมีความเร็วไม่เท่ากัน เมื่อความเร็วเป็นเช่นนี้ ในการกล่าวถึงความเร็วแสงในตัวกลาง เราจึงต้องพิจารณาความเร็ว สองรูปแบบคือ ความเร็วคลื่น (wave velocity) และความเร็วกลุ่ม (group velocity) ซึ่งความเร็วคลื่นคือ ความเร็วของเหล่าคลื่น ที่มีความยาวคลื่นเท่ากันหมด ซึ่งขณะอยู่ในตัวกลาง มันจะมีความเร็วน้อยกว่าความเร็วแสงในสุญญากาศคือ มีค่าเท่ากับ c/n เมื่อ c คือความเร็วแสงในสุญญากาศและ n คือดัชนีหักเหของตัวกลาง ซึ่งตามปกติจะมีค่ามากกว่า - 1 เช่นแสงสีแดงมีความเร็วมากกว่าแสง สีน้ำเงิน ดังนั้น เวลาแสงทั้งสองเดินทางในแก้ว (ในสุญญากาศ แสงทั้งสองสีมีความเร็ว c เท่ากัน) แสงสีแดงจะเดินทางได้ไกลกว่าแสง สีน้ำเงินในเวลาที่เท่ากัน
ส่วนความเร็วกลุ่มคือความเร็วของเหล่าคลื่นที่ประกอบด้วยคลื่นต่างๆ ที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน ความเร็วกลุ่มจึงเป็นความเร็วของ พลังงานแสงที่ถูกส่งผ่านไปในตัวกลาง
ในสุญญากาศที่มีแต่ความว่างเปล่า ความเร็วคลื่นและความเร็วกลุ่มของคลื่นจะเท่ากัน คือต่างก็เท่ากับ c แต่ในตัวกลาง ความเร็วสอง รูปแบบนี้จะแตกต่างกันเช่น เมื่ออยู่ในอากาศ ความเร็วกลุ่มของแสงจะต่ำกว่าความเร็วคลื่นของแสงเล็กน้อย หรือในของเหลว carbon disulfide แล้วมีความเร็วกลุ่ม = 170,503.408 กิโลเมตร / วินาที ในขณะที่ความเร็วคลื่น = 182,800.279 กิโลเมตร/วินาที เป็นต้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในกรณีนี้ ความเร็วคลื่นของแสงสูงกว่าความเร็วกลุ่มของแสงเล็กน้อย และในสารบางชนิดเช่น ควอทซ์ (quartz) ความเร็ววัดคลื่นของแสงอินฟราเรด อาจมากกว่าความเร็วแสงในสุญญากาศได้ แต่ความเร็วกลุ่มของแสงอินฟราเรดก็ยังต่ำกว่า ความเร็วแสงในสุญญากาศอยู่ดี และเมื่อพลังงานแสงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วกลุ่ม ดังนั้น ถ้อยแถลงของ Einstein ที่ห้ามความเร็วของ พลังงานว่าต้องไม่สูงกว่าความเร็วแสง จึงยังคงใช้ได้ต่อไป
ความก้าวหน้าในการศึกษาความเร็วแสงในตัวกลางต่างๆ ได้ทำให้นักฟิสิกส์พบว่า ในตัวกลางบางชนิดที่สามารถดูดกลืนแสงได้ หากเราปล่อยให้แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางดังกล่าวนี้ ความเร็วกลุ่มของแสงในตัวกลางอาจสูงกว่าความเร็วแสงในสุญญากาศได้ แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ นักฟิสิกส์ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าความเร็วกลุ่มของแสงคือ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของพลังงานแสงได้อีกต่อไป
นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ได้ทำการทดลองวัดความเร็วของแสงคือ Galileo เมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้ว โดยเขาให้คนสองคนถือ ตะเกียงยืนบนยอดเขาสูงที่อยู่ห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตร และสั่งให้คนทั้งสองปิดและเปิดตะเกียงส่งแสงสู่กันเป็นจังหวะทันที ที่เห็นแสงจากอีกฝ่ายหนึ่ง การรู้เวลาที่แสงเดินทางเพราะระยะทางระหว่างภูเขาจะทำให้ Galileo สามารถคำนวณความเร็วแสงได้ ผลปรากฏว่าการทดลองล้มเหลว เพราะคนทั้งสองรายงานว่าได้เห็นแสงไฟแล้วอีกนาน ประสาทความรู้สึกของเขาจึงสั่งให้เขาส่ง สัญญาณต่อไป การที่เป็นเช่นนี้เพราะแสงใช้เวลาเพียง 0.00002 วินาที ในการเดินทางระหว่างยอดเขาทั้งสอง แต่ชายแต่ละคน ต้องใช้เวลานานถึง 0.5 วินาที ในการรับรู้ว่าเห็นแสงแล้ว ช่วงเวลาที่แตกต่างกันถึง 25,000 นี้ ทำให้วิธีการวัดความเร็วแสงของ Galileo ล้มเหลว และ Galileo ก็ได้สรุปรายงานการทดลองของเขาว่าแสงมีความเร็วสูงเกินที่เขาจะวัดได้
เมื่อความเร็วแสงมีค่ามากเช่นนี้ จึงไม่น่าเป็นที่สงสัยเลยว่า การวัดความเร็วแสงที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก จึงต้องกระทำกัน นอกโลกโดยนักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์กชื่อ O. Roemer ซึ่งได้เฝ้าสังเกตดูการโคจรของดวงจันทร์ต่างๆ รอบดาวพฤหัสบดี Roemer ได้สังเกตเห็นว่าในบางเวลาดวงจันทร์เหล่านี้จะโคจรไปทางเบื้องหลังของดาวพฤหัสบดี ดังนั้น มันจะถูกดาวพฤหัสบดีบดบัง การสังเกตดูอย่างติดต่อกันนานๆ ทำให้ Roemer สามารถทำนายได้ว่า ปรากฏการณ์จันทรคราสบนดาวพฤหัสบดีจะเกิดขึ้นเมื่อใด ถ้าเวลาที่ทำนายนั้นจะเกิดภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้าจะให้เขาพยากรณ์ล่วงหน้านานเป็นเดือน เวลาที่เกิดจันทรคราสจะผิดเสมอเช่น เวลาโลกอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากที่สุด
วินาทีที่เกิดจันทรคราสจะเกิดก่อนหน้าคำทำนายเล็กน้อย และเมื่อโลกอยู่ไกลดาวพฤหัสบดีมากที่สุด วินาทีที่เกิดจันทรคราสจะเกิดหลังคำ ทำนายเล็กน้อย Roemer ได้สรุปว่า การที่เป็นเช่นนี้เพราะแสงต้องใช้เวลาในการเดินทางจากดาวพฤหัสบดีถึงโลก ดังนั้น เมื่อโลก อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากที่สุด และอีก 6 เดือนต่อมา เมื่อโลกอยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีมากที่สุด เขาได้เห็นปรากฏการณ์จันทรคราส เกิดช้าลง 22 นาที เขาจึงเอาเส้นผ่าศูนย์กลางของวงโคจรโลก ซึ่งเป็นระยะทางที่แสงจากดวงจันทร์ต้องเดินทางมากขึ้นหารด้วยเวลา 22 นาที เขาได้ตัวเลขความเร็วแสงสูงกว่าความเร็วที่เรายอมรับกันในปัจจุบันประมาณ 30% ถึงกระนั้น การทดลองของ Roemer ก็นับว่ามีความสำคัญเพราะเขาได้แสดงให้เห็นว่า แสงมิได้มีความเร็วสูงเสียจนมนุษย์ไม่สามารถจะวัดได้ และตัวเลขความเร็วที่เขา ทดลองวัดได้ก็ดีพอสมควร เมื่อพิจารณาสภาพเทคโนโลยีสมัยนั้น
L. Flzeau คือนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการวัดความเร็วแสงบนโลกในปี พ.ศ. 2392 เมื่อเขาวัดค่า c ได้ = 314,000 กิโลเมตร/วินาที ซึ่งสูงกว่าค่าจริงประมาณ 5% และนับตั้งแต่นั้นมา นักฟิสิกส์คนอื่นๆ เช่น Foucault , Mercier Michelson , Anderson และ Maxwell ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีการวัดความเร็วแสงให้ละเอียดและถูกต้องยิ่งขึ้นไปอีก จนกระทั่งถึง วันนี้ความเร็วแสงเป็นค่าที่นักฟิสิกส์รู้ และวัดได้อย่างละเอียดและถูกต้องที่สุดค่าหนึ่ง
เมื่อปี พ.ศ. 2543 L.V. Hau แห่ง Rowland Institute for Science ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานในวารสาร Nature ฉบับที่ 397 หน้า 594 ว่า เมื่อเธอและคณะได้ทำให้กลุ่มอะตอมของโซเดียมมีอุณหภูมิต่ำถึง 0.00005 องศาสัมบูรณ์คือประมาณ - 273.15 องศา และฉายแสงเลเซอร์ผ่านกลุ่มอะตอมเหล่านั้น เธอได้พบว่าแสงเลเซอร์มีความเร็วเพียง 17 เมตร/วินาทีเท่านั้นเอง ซึ่งช้ายิ่งกว่าความเร็ว ของรถจักรยานเวลาแข่งกีฬาโอลิมปิกเสียอีก ซึ่งเธอได้อธิบายเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ว่า ขณะเหล่าคลื่นแสงเคลื่อนที่เข้าปะทะกลุ่มอะตอม ของโซเดียมที่เย็นยะเยือก บริเวณส่วนหน้าของเหล่าคลื่นได้ถูกอะตอมของโซเดียมดูดกลืนแล้วพลังงานของคลื่นส่วนที่ถูกโซเดียม ดูดกลืนนี้ได้ถูกปลดปล่อยออกมาให้ที่บริเวณส่วนท้ายของเหล่าคลื่น ดังนั้น คลื่นจึงเคลื่อนที่ได้ช้าเพราะพลังงานของมันได้ถูกโยกย้าย จากหน้ามาสู่หลังโดยอะตอมของโซเดียมตลอดเวลา
เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2543 K. Brecher แห่งมหาวิทยาลัย Boston ได้รายงานในที่ประชุมของ American Physical Society ที่เมือง Long Beach ในรัฐ California ว่าในการสังเกตดูรังสีแกมมาที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดของดาว ที่ขอบจักรวาล เขาได้พบว่าแสงที่มีความยาวคลื่นต่างๆ กันถึงแม้จะเคลื่อนที่ผ่านสุญญากาศมานานถึงหนึ่งหมื่นล้านปี ก็ยังมีความเร็ว ที่แตกต่างกันไม่เกิน 0.000003 มิลลิเมตร/วินาที ซึ่งหมายความว่า ตัวเลขความเร็วของแสงสีต่างๆ นี้ตรงกันและเหมือนกันถึง ทศนิยมตำแหน่งที่ 20 ซึ่งก็เป็นการยืนยันอย่างมั่นใจอีกครั้งหนึ่งว่า ไม่ว่าแผ่นดินจะถล่ม อารยธรรมจะเสื่อม เปลือกทวีปจะเลื่อนหรือ มนุษย์จะตายหมดโลก ความเร็วแสงก็ไม่เปลี่ยนแปลงคือจะคงที่สม่ำเสมออย่างนิจนิรันดร์
เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 L.J. Wangi ได้รายงานในวารสาร Nature ฉบับที่ 406 หน้า 277 ว่า เขาได้ประสบความสำเร็จ ในการส่งคลื่นไมโครเวฟผ่านกลุ่มอะตอมของ Calcium ที่เย็นจัด แล้วทำให้แสงมีความเร็วติดลบคือเท่ากับ -967.072 เมตร/วินาที ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อจุดยอดของกลุ่มคลื่นแสงได้เคลื่อนที่ออกจากกลุ่มอะตอมของ calcium ก่อนที่คลื่นแสงจะปะทะกลุ่ม อะตอมกลุ่มนั้นเสียอีก
และเมื่อเร็วๆ นี้ G. Nimtz แห่งมหาวิทยาลัย Cologne ได้รายงานความสำเร็จในการส่งสัญญาณคือเพลงซิมโฟนีหมายเลข 40 ของ Mozart ทะลุผ่านไปในท่อนำคลื่น (Wave Guide) ความหนา 12 เซนติเมตรได้ด้วยความเร็ว 4.7 เท่าของความเร็วแสง แต่นักฟิสิกส์อีกหลายท่านก็ยังไม่เห็นด้วยกับการแปลผลการทดลองนี้ เพราะความเร็วแสงเป็นปริมาณที่มีความสำคัญมากในวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แม้แต่คำจำกัดความของระยะทาง 1 เมตรก็ต้องพึ่งพาความเร็วแสงว่าเป็นระยะทางเดินทางได้เวลา 1/299,792.458 วินาที การใช้สมการ E = mc2 ก็ต้องรู้ความเร็วแสง ดังนั้น เราจึงมั่นใจว่า ตัวเลขความเร็วแสงที่นักวิทยาศาสตร์รู้ ณ วันนี้ จะยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายและความพยายามที่จะวัดปริมาณนี้จะต้องดำเนินต่อไปตราบเท่าที่มนุษย์ยังเห็นแสง

ความหมายของข้อมูล (data) สารสนเทศ (Information) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

ความหมายของข้อมูล (data) สารสนเทศ (Information) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้โลกเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ (Information) มีความจำเป็นทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องอาศัยสารสนเทศเข้ามาช่วยในการตัดสินใจ (Make decision) การตัดสินใจเป็นกิจกรรมที่สำคัญจะต้องตัดสินใจให้ถูกต้องและรวดเร็ว การตัดสินใจที่ล่าช้าจะก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย อาจทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการแข่งขันหรือการแก้ปัญหาในระดับชาติ (ประสงค์ ปราณีตาพลกลังและคณะ : 2541 : 1) จากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าสารสนเทศ (Information) เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งในยุคของสังคมโลกปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นยิ่ง ที่นักการศึกษาในฐานะที่จะต้องเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้แก่ผู้อื่น จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสารสนเทศ เมื่อกล่าวถึงสารสนเทศ (Information) สิ่งแรกที่ควรจะต้องกล่าวถึงก็คือ ข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นพื้นฐานของสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ข้อมูลจึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw data) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฎการณ์การกระทำหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ หรือพืช แล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพหรือเสียง (อ้างใน วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา : 2542 : 1)

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่นำมาสรุปประมวลผล ดำเนินการทางสถิติ เปรียบเทียบหรือดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้เข้าใจความเป็นไปหรือสถานการณ์ของสิ่งที่มีสารสนเทศนั้นเป็นตัวแทน (ครรชิต มาลัยวงศ์ : 1998 : 20) วาสนา สุขกระสานติ ใน (2541 : 6-1) ได้ให้ความหมายของคำว่า สารสารเทศ (Information) ว่าหมายถึง "ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (Raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที" ครรชิต มาลัยวงศ์ (1998:20) ได้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีกลุ่มหนึ่งที่มีประโยชน์ในการจัดทำสารสนเทศและส่งสารสนเทศนั้นให้ถึงมือผู้รับ วศิน ธูปประยูร (อ้างในสานิตย์ กายาผาด : 2542 : 2) กล่าวว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องประมวลผลคำ และเครื่องที่สามารถประมวลผลได้โดยอัตโนมัติอื่น ๆ เครื่องสมองกลเหล่านี้เป็นนวัตกรรมของมนุษย์ที่สร้างสรรขึ้นมา เพื่อรวบรวมผลิตสื่อสาร บันทึก เรียบเรียงใหม่แสดงผลประโยชน์จากสารสนเทศ" มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (อ้างในสานิตย์ กายาผาด : 2542 : 3) กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศว่าหมายถึง "เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เริ่มจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผลและเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความหมายและเรื่องโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม" วาสนา สุขกระสานติ (2541:6-1) ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศว่า หมายถึง "กระบวนการต่าง ๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง 1) เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากแล้วจะหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ รวมทั้งซอฟแวร์ทั้งแบบสำเร็จรูป และแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือสมัยใหม่และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology) 2) กระบวนการในการนำเอาเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้งาน เพื่อรวบรวมจัดเก็บ ประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป พิจารณาจากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น เมื่อมองสภาพวิวัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม มีบทบาทเป็นอย่างมากสำหรับโลกแห่งข้อมูลสารสนเทศในปัจจุบัน ครรชิต มาลัยวงศ์ (1998:20) กล่าวถึงยุคก่อนคอมพิวเตอร์ว่า "ไอ ที หมายถึง เทคโนโลยีการพิมพ์ กล้องถ่ายรูป เครื่องพิมพ์ดีด โทรเลขและโทรศัพท์ พอมาถึงยุคนี้ นักวิชาการหลายคนพอใจที่จะให้คำนิยามไอที ให้เหลือเพียงเป็นการผสมผสานกัน ระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม และบางคนไปไกลถึงกับขอเปลี่ยนชื่อเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ว่าเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication Technology) เรียกย่อ ๆ ว่า ICT" นอกจากนี้แล้ว ครรชิต มาลัยวงศ์ ยังวิเคราะห์ต่อไปว่าหากจะแยกย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศออกเป็นส่วน ๆ แล้ว จะเห็นว่า คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับจัดเก็บบันทึกและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ หรือจัดทำเป็นรายงานต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ แต่เมื่อจัดทำแล้วไม่สามารถส่งไปยังผู้ต้องการใช้อย่างรวดเร็ว รายงานเหล่านี้ก็ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาช่วยให้สามารถส่งสารสนเทศ หรือรายงานที่จัดทำขึ้นนั้นไปยังผู้รับได้โดยตรงและทันที จากคำจำกัดความดังกล่าวของข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) แล้ว พอจะจัดความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ส่วน ได้ดังนี้



แผนภาพที่ 30 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ


ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้งาน ซึ่งในส่วนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น การนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อการนำเข้าสู่การประมวลผลข้อมูล ไปสู่ผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตัดสินใจ การเรียนรู้ ธุรกิจ หรือเพื่อความบันเทิง
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้งาน

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้งาน

ระบบสารสนเทศ (Information System) ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย (2540:65) ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบสารสนเทศ (Information System) ว่า หมายถึง "ระบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม จัดเก็บและใช้สารสนเทศสนองความต้องการของหน่วยงาน ทั้งนี้โดยมีภารกิจของการจัดอย่างเป็นระบบ" โดยได้แสดงแผนภาพระบบสารสนเทศ ดังนี้

จากแผนภาพแสดงให้เห็นว่าข้อมูลซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้า
(1) เมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลหรือการวิเคราะห์แล้ว
(2) ก็จะเป็นสารสนเทศหรือผลลัพธ์
(3) ซึ่งผู้ใช้สารสนเทศหรือผู้บริหาร
(4) จะนำไปประกอบในการตัดสินใจ
(5) และผลลัพธ์จากการตัดสินใจ
(6) ก็ยังสามารถเป็นข้อมูล ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจในครั้งต่อไป
การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ซีดี-รอม

การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ซีดี-รอม

ซีดี-รอม (CD-ROM = Coppact Disc-Read Only Memory) เป็นแผ่นโลหะวงกลมเคลือบเงาขนาดเล็กทำมาจากโลหะผสมรุ่นใหม่ที่เรียกว่าอะมอฟัสอัลลอย ซึ่งเป็นส่วนผสมของโคบอลท์เหล็กและนิเกิ้ล มีคุณสมบัติแข็งแกร่ง ทนทานไวต่อสนามแม่เหล็กและมีกระแสไฟฟ้าบรรจุอยู่ แผ่นซีดีจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว หรือ 12 เซนติเมตร จุข้อมูลได้ขนาด 250,000 หน้าหนังสือหรือ 600 ล้านตัวอักษร เทียบกับแผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy disk) จำนวน 1,500 แผ่นหรือประมาณ 540-600 เมกกะไบท์ การอ่านแผ่นซีดี-รอม ทำด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Beam) การใช้งานแผ่นซีดี-รอม จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวซีดี-รอม (CD-ROM Drive) ซึ่งมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความเร็วในการทำงาน ซีดี-รอมไดรฟ์รุ่นแรกสุดจะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบท์ต่อวินาที เรียกว่ามีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1X ซีดีรอมรุ่นหลัง ๆ จะอ้างอิงความเร็วในการอ่านข้อมูล จากรุ่นแรก เช่น ความเร็ว 2 เท่า (2X) หรือความเร็ว 4 เท่า (4X) เป็นต้น ข้อจำกัดของซีดีรอมคือสามารถบันทึกได้เพียงครั้งเดียวด้วยเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น จากนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ ซีดีรอมได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันสำหรับเก็บข้อมูลสำหรับการอ่านอย่างเดียวเป็นอย่างมาก เช่น ซอฟแวร์ เกมส์ ปทานุกรม แผนที่โลก หนังสือ เพลง ภาพยนตร์ ต้นทุนถูกกว่าดิสก์เกตต์มาก ปัจจุบันมีแผ่นซีดี-รอมที่สามารถบันทึกได้เรียกว่า ซีดี-อาร์ (CD-R = CD - Recordable) โดยแผ่นจะมีสีทองในขณะที่แผ่นซีดีธรรมดาจะมีสีเงินโดยบันทึกแผ่นด้วย ซีดี-อาร์ไดรฟ์ (CD-R Drive) ซึ่งอ่านแผ่นซีดีปกติได้ด้วย แต่มีราคาสูงกว่าซีดี-รอมไดรฟ์ปกติมาก

วอร์มซีดี (WORM CD หรือ Write Once Read Many CD) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หนึ่งครั้ง สามารถใช้อ่านกี่ครั้งก็ได้ ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้อีก จุข้อมูลได้ตั้งแต่ 600 เมกกะไบท์ จนถึงมากกว่า 3 จิกะไบท์ ต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกับที่บันทึก ทำให้การใช้งานแคบมักนิยมนำมาใช้ในการเก็บสำรองข้อมูลเท่านั้น

เอ็มโอดิสก์ (MO หรือ Megneto Optical Disk) เป็นระบบใช้หลักการของสื่อที่ใช้สารแม่เหล็กเช่น ฮาร์ดดิสก์กับออปติคัลดิสก์ เข้าด้วยกัน ใช้แสงเลเซอร์ช่วยในการบันทึกและอ่านข้อมูล ทำให้สามารถอ่านและบันทึกแผ่นกี่ครั้งก็ได้คล้ายฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายแผ่นได้คล้ายฟลอปปี้ดิสก์ มีความจุมากคือตั้งแต่ 200 MB ขึ้นไป มีความเร็วสูงกว่าฟลอปปี้ดิสก์ และซีดีรอม

ดีวีดี (DVD หรือ Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีล่าสุดโดยสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 จิกะไบท์ทำให้สามารถพอเพียงที่จะบันทึกภาพยนตร์เต็มเรื่องได้ที่มีคุณภาพสูงสุดทั้งภาพและเสียง ในขณะที่ CD-ROM หรือ Laser Disk ในปัจจุบันต้องใช้หลายแผ่นในการเก็บบันทึกภาพยนตร์ 1 เรื่อง
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล (Data Transmission Channels)
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล (Data Transmission Channels)
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล (Data Transmission Channels) ดังกล่าวในตอนต้นว่าสารสนเทศแม้มีระบบในการจัดเก็บที่ดีถูกต้องเพียงไร แต่ถ้าหากไม่สามารถที่จะนำมาใช้หรือส่งข้อมูลออกไป เพื่อการใช้งานได้สะดวกสารสนเทศดังกล่าวก็ไม่มีความหมาย ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงจำเป็นต้องมีระบบโทรคมนาคมที่ดี ที่จะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูล โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันอยู่ในรูปของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่นำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย สิ่งที่สำคัญนอกจากตัวคอมพิวเตอร์แล้วก็คือช่องทางหรือสื่อกลาง (Media) ในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งปัจจุบันมีมากมายหลายแบบ และแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ในบางครั้งการใช้งานจริงสามารถใช้ช่องทางมากกว่าหนึ่งช่องทางพร้อม ๆ กัน ช่องทางในการสื่อสารข้อมูลอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบคือ
1. ระบบเดินสายเคเบิล (Wired System)
2. ระบบไมโครเวฟ (Microwave System)
3. ระบบดาวเทียม (Satellite System)
4. ระบบอื่น ๆ

13.4.1 ระบบเดินสายเคเบิล (Wired System) เป็นสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด โดย แบ่งออกได้เป็น
1) สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลด์และไม่มีชีลด์ (Shielded and Unshielded Twisted-Pair Cable) ราคาถูกสุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้มจำนวน 2 เส้นมาพันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยปกติแล้วสายคู่บิดเกลียวจะหมายถึง สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์ (UTP) ซึ่งใช้ในการเดินสายโทรศัพท์และใช้ในระบบเครือข่ายระยะใกล้มาก ในขณะที่สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์ (STP) จะมีฉนวนโลหะหุ้มอยู่ภายนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น สายเกลียวคู่หนึ่งจะแทนช่องทางการสื่อสาร (Channel) ได้หนึ่งช่องทาง ซึ่งในการใช้งานจริงอาจรวมสาย จำนวนหลายร้อยคู่เข้าด้วยกันเป็นสายใหญ่ เพื่อสามารถใช้งานได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ระบบสายโทรศัพท์
2) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) มักเรียกสั้น ๆ ว่า สายโคแอก จะเป็น สายสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลไกลว่าสายแบบคู่บิดเกลียว แต่ราคาแพงกว่า ลักษณะสายจะประกอบด้วยส่วนของสายส่งข้อมูล ที่เป็นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนตรงกลาง จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำเพื่อเป็นสายกราวนด์ จากนี้จึงหุ้มด้วยฉนวนเป็นเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง สายโคแอกจะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์ ใช้งานมากในสายเคเบิลทีวี ปัจจุบันใช้น้อยลงกับระบบคอมพิวเตอร์ เพราะการพัฒนาของสายคู่บิดเกลียวสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น
3) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) สายใยแก้วนำแสง ประกอบด้วย ใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย และใช้ใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเป็นตัวหุ้ม (Cladding) และหุ้มด้วยฉนวนในชั้นนอกสุด ซึ่งใยแก้วชั้นนอกจะทำหน้าที่เหมือนกระจกที่สะท้อนสัญญาณแสง ให้สะท้อนไปมาภายในใยแก้วที่เป็นแกนกลาง จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดปลายทาง สายใยแก้วจะมีแบนด์วิธที่กว้างมาก ทำให้สามารถส่งข้อมูลปริมาณมากได้ด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้ยังส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกลกว่า และปลอดจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากใช้แสงเป็นตัวนำสัญญาณ แต่มีข้อเสียคือติดตั้งและบำรุงรักษายาก รวมทั้งมีราคาแพงที่สุดในสายทั้ง 3 ประเภท

13.4.2 ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) ระบบไมโครเวฟใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จาก สถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง เนื่องจากสัญญาณเดินเป็นเส้นตรง ดังนั้นสถานีจะต้องอยู่ในที่ สูง ๆ เพื่อที่จะส่งสัญญาณให้ได้ไกล และลดจำนวนสถานีที่รับสัญญาณได้ประมาณ 30-50 กิโลเมตร ปัจจุบันมีการใช้ระบบไมโครเวฟกันทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เดินสายไม่สะดวก นอกจากนี้ระบบไมโครเวฟยังมีราคาถูก ติดตั้งง่าย มีการส่งข้อมูลสูง แต่มีข้อเสียก็คือ สัญญาณอาจ ถูกรบกวนได้ง่ายจากอุณหภูมิ พายุหรือฝน
ทางเลือกของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

13.4.3 ระบบดาวเทียม (Satellite System) ระบบดาวเทียมจะคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ในแง่ของการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานีไปยังจุดหมายที่ต้องการ แต่ในการนี้จะมีดาวเทียม (Satellite) เป็นสถานีรับสัญญาณที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก 36,000 กิโลเมตร แล้วจึงยิงสัญญาณย้อนกลับ จากดาวเทียมลงมายังสถานีบนพื้นโลก ซึ่งการที่ดาวเทียมลอยอยู่สูงมาก จากพื้นโลกทำให้สามารถใช้ดาวเทียมเพียง 3 ดวง ก็สามารถยิงสัญญาณมาครอบคลุมพื้นที่บนโลกได้ทั้งหมด โดยสถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียม ที่ลอยอยู่เหนือพื้นที่ของตนเองเรียกว่า สัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นที่ของตนเองเรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-link) และดาวเทียมจะทำการตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง หากอยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมอยู่ก็จะทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีปลายทางทันทีเรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down link) หากสถานีปลายทางอยู่นอกขอบเขตสัญญาณ ดาวเทียมจะส่งต่อไปยังดาวเทียมดวงที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้น เพื่อส่งสัญญาณ Down link ต่อไป ปัจจุบันมีการใช้สัญญาณดาวเทียมอย่างแพร่หลาย ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ สัญญาณโทรทัศน์ รวมทั้งด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ข้อเสียที่สำคัญของระบบดาวเทียมคือถูกรบกวนได้ทั้งสภาพอากาศ ฝนหรือพายุ รวมทั้งตำแหน่งโคจรของดวงอาทิตย์ และข้อเสียอีกอย่างที่สำคัญคือ จะมีเวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ซึ่งทำให้ฝ่ายรับสัญญาณได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาจริง เนื่องจากสัญญาณต้องเดินทางไปกลับ จากสถานีภาคพื้นดินขึ้นไปยังดาวเทียมแล้วจึงส่งกลับมายังสถานีบนพื้นโลก
13.4.4 ระบบอื่น ๆ นอกจากระบบดังกล่าวแล้วยังมีระบบสื่อสารแบบไร้สายอื่น ๆ ที่นำมาใช้ใน การสื่อสารข้อมูล เช่น
1) ระบบอินฟราเรด (Infrared) เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับรีโมท คอนโทรลเครื่องรับโทรทัศน์ แต่มีข้อจำกัดตรงจะต้องไม่มีอะไรบังระหว่างกลางทำให้มีระยะทางรับส่งได้ไม่ไกลนัก
2) ระบบวิทยุ (Radio) จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ระบบนี้มีปัญหาในการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่
3) ระบบสเปคตรัมแถบกว้าง (Spread Spectrum) เป็นระบบคลื่นวิทยุที่พัฒนา โดยกองทัพสหรัฐระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนและการดักสัญญาณ ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่าย จำเป็นจะต้องเลือกรูปแบบของเครือข่ายที่จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนา จนสามารถรับส่งได้ด้วยความเร็วสูงถึง 10 Mbps และมีการใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กภายในอาคารเดียวกั
ทางเลือกของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Networking alternatives)
อรัญ นำผลและประสงค์ ปราณีพลกรัง (2541:138-140) กล่าวว่าเครือข่ายโทรคมนาคมจะมีอุปกรณ์นำเข้า/ส่งออก และหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่งล้วนประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์จากส่วนกลางเพื่อทำหน้าที่ประมวลผล โดยจะเรียกว่า คอมพิวเตอร์หลัก และแต่ละตำแหน่งจะเรียกว่า "จุด (Node)" เครือข่ายที่อยู่ภายในห้องเดียวกัน ตึกเดียวกัน เราจะเรียกว่า "เครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN)" แต่ถ้าเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงห่างกันเป็นพื้นที่กว้าง เช่น ระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ ทั่วทุกมุมโลก เราเรียกว่า "เครือข่ายบริเวณกว้าง [Wide Area Networks (WAN)]" แต่ถ้าเป็นเครือข่ายครอบคลุมภายในเมือง เราเรียกว่า "เครือข่ายบริเวณตัวเมือง" [Metropolitan Area Network (MAN)] อัตราการส่งข้อมูลของเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) จะมีความเร็วกว่าของเครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) ซึ่ง LAN โดยทั่วไปจะมีอัตราความเร็วระหว่าง 1-10,000,000 bps ในบางครั้งอาจมีความเร็วมากกว่า 100,000,000 bps แต่ถ้าเป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) จะต้องใช้ร่วมกับสายโทรศัพท์โดยจะมีความเร็วไม่เกิน 960 bps

เครือข่ายระบบโทรคมนาคม จะประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวกลางการสื่อสาร ตลอดจนซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำแนกออกได้หลายประเภทด้วยกันและขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ใช้ในการแบ่งด้วย โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่นิยมใช้กันมี 2 อย่างคือ (1) รูปร่าง (Topolygy) ของเครือข่าย (2) พื้นที่ครอบคลุมของเครือข่าย (Geographic scop) แผนภาพที่ 34 แสดงประเภทของเครือข่ายซึ่งต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ใช้ในการแบ่ง

คำสั่งเอสคิวแอล (SQL Command)

คำสั่ง SQL (Structured Query Language) เป็นภาษามาตราฐานภาษาหนึ่ง ใช้ในโปรแกรม Oracle , FoxBASE, Forpro,Access,Sybase,Informix,DB2,SQL Server และโปรแกรมฐานข้อมูลอื่น ๆ เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่ง (Syntax) เป็นประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและง่ายต่อการเรียนรู้
ความสำคัญของ SQL
ปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ DBMS (Database management System) ซึ่งหมายถึง
ซอฟต์แวร์ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างโปรแกรมฐานข้อมูลกับ User ในปัจจุบันได้พัฒนา DBMS ขึ้นมาอย่างหลากหลาย Visual Basic , ASP, PHP, DB2,Java ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้เป็น DBMS ที่ใช้ภาษาการจัดการข้อมูลที่เรียกว่า SQL และ QBE ใช้กับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Ralational Database) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งภาษา SQL มีความสำคัญกับหลาย ๆ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น DBMS เนื่องจากการสอบถามหรือสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญกับการทำงานของระบบสารสนเทศ
ความสามารถของ SQL
ภาษา SQL ได้จำแนกกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการกับข้อมูล ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้
1.กลุ่มคำสั่งในการ “ขอดูข้อมูล” (select )
2. กลุ่มคำสั่งในการ “เพิ่มข้อมูล” (insert)
3. กลุ่มคำสั่งในการ “แก้ไขข้อมูล” (update)
4. กลุ่มคำสั่งในการ “ลบข้อมูล” (delete)
ชนิดข้อมูลใน SQL
ชนิดข้อมูลของภาษา SQL ที่นำไปใช้กับซอฟต์แวร์ DBMS หรือใช้กับซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลแต่ละตัวนั้นจะแตกต่างกันออกไป เช่น การใช้ SQL ร่วมกับฐานข้อมูล JDBC ใน Java กับ SQL ร่วมกับ Oracle จะทำให้ชนิดข้อมูลของทั้งสองนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งขอยกตัวอย่างชนิดข้อมูลใน JDBC ของ Java ดังต่อไปนี้
ชนิดข้อมูล ความหมาย
BIT เก็บค่าตัวเลข (0/1)
TINYINT ข้อมูลตัวเลข
SMALLINT ข้อมูลตัวเลข ขนาดเล็กกว่า INTEGER
INTEGER ข้อมูลประเภทตัวเลข
REAL ข้อมูลเลขจำนวนจริง
FLOAT ข้อมูลเลขทศนิยม
DOUBLE ข้อมูลเลขทศนิยม ความแม่นยำสูง
DECIMAL ข้อมูลเลขทศนิยม
NUMERIC ข้อมูลตัวเลข
CHAR ข้อมูลที่เป็นอักขระ
VARCHAR ข้อมูลตัวอักษร
BINARY ข้อมูลค่าจริง/เท็จ (0/1)
DATE ข้อมูลประเภทวันที่ เช่น MM-DD-YY
TIME ข้อมูลเวลา
TIMESTAMP ข้อมูลเวลา
ตารางที่ 11.
คำสั่งในการจัดการกับฐานข้อมูล (Database)
ในภาษา SQL สามารถใช้ชุดคำสั่งเพื่อจัดการกับข้อมูลได้ ดังต่อไปนี้
1. การแสดงข้อมูลในตาราง
- การแสดงข้อมูลภายใน 1 ตาราง
การเรียกดูข้อมูลทั้งหมดในตาราง
Syntax:
SELECT * FROM ระบุชื่อตาราง;
ตัวอย่าง:
SELECT * FROM Personal;
การเรียกดูข้อมูลบาง Field
Syntax:
SELECT ชื่อ Field1,ชื่อ Field2,…,ชื่อ Fieldn FROM ระบุชื่อตาราง;
ตัวอย่าง:
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal;
การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไข
Syntax:
SELECT ชื่อ Field1,ชื่อ Field2,…,ชื่อ Fieldn FROM ระบุชื่อตาราง;
WHERE ระบุเงื่อนไข ;
ตัวอย่าง:
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal;
WHERE P_age >= 25;
การกำหนดเงื่อนไขในส่วนของ WHERE
- ใช้เครื่องหมายในการเปรียบเทียบค่า (Comparison Operator) ได้แก่
> >= < <=
LIKE
IN
เช่น WHERE P_age >= 25; หรือ
WHERE Pname LIKE ‘%นี%; ß เปรียบเทียบบางส่วนของข้อความ หรือ
WHERE P_age IN (25,30);
- การใช้ตัวเชื่อมเงื่อนไข AND และ OR เช่น
WHERE P_age = 25 OR P_age = 30; หรือ
WHERE P_age = 25 AND P_age = 30;
การเรียกดูข้อมูลโดยใช้เงื่อนไขในการจัดเรียงข้อมูล (Sort)
Syntax:
SELECT * FROM ระบุชื่อตาราง ORDER BY ระบุชื่อ Field;
ตัวอย่าง:
SELECT * FROM Personal ORDER BY Pid;
Syntax:
SELECT ชื่อ Field1,ชื่อ Field2,…,ชื่อ Fieldn FROM ระบุชื่อตาราง;
ORDER BY ระบุชื่อ Field;
ตัวอย่าง:
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal ORDER BY Pid; หรือ
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal ORDER BY Pid DESC;
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal ORDER BY Pid ASC;
เมื่อ DESC ใช้เมื่อต้องการเรียงข้อมูลจากมากไปหาน้อย (Descending)
ASC ใช้เมื่อต้องการเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก (Ascending)
- การแสดงข้อมูลจากหลายตาราง
Syntax:
SELECT ชื่อ Field1,ชื่อ Field2,…,ชื่อ Fieldn FROM ชื่อตารางที่1,ชื่อตารางที่2 WHERE ระบุเงื่อนไขของทั้ง 2 ตาราง ORDER BY ระบุ Field และรูปแบบการจัดเรียง;
ตัวอย่าง:
SELECT Personal.Pid,Personal.Pname,Training.Tcourse FROM Personal,Training
WHERE Personal.Pid = Training.Pid ORDER BY Personal.Pid DESC;
2. การเพิ่มข้อมูล
- การเพิ่มข้อมูลภายใน 1 ตาราง
Syntax :
INSERT INTO ชื่อตาราง (ชื่อ field ที่1 , ชื่อ field ที่2…ชื่อ field ที่n) VALUES (‘ข้อมูลข้อความ’, ข้อมูลตัวเลข);
ตัวอย่าง:
INSERT INTO Sale (sid_produc , sunit) VALUES (‘001’, 1500);
- การเพิ่มข้อมูลลงในหลายตาราง
3. การแก้ไขหรือ update ข้อมูล
- การ update ข้อมูลภายในหนึ่งตาราง
Syntax:
UPDATE ชื่อตาราง SET ชื่อ Field = ค่าของข้อมูล WHERE ระบุเงื่อนไขของ record ทีต้องการ update;
ตัวอย่าง:
UPDATE Personal SET paddress = ‘บางเขน’ WHERE pname = ‘สุนีย์’;
- การ update ข้อมูลหลายตาราง
4. การลบข้อมูล
- การลบตาราง
Syntax
DELETE TABLE ชื่อตาราง;
ตัวอย่าง :
DELETE TABLE Personal;
- การลบข้อมูลเฉพาะ Record
Syntax :
DELETE FROM ชื่อตาราง WHERE ระบุเงื่อนไขในการลบ;
ตัวอย่าง :
DELETE FROM Personal WHERE pname = ‘สุนีย์’;
5. คำสั่งสร้างฐานข้อมูล
Syntax :
CREATE DATABASE ชื่อฐานข้อมูล;
ตัวอย่าง :
CREATE DATABASE MyDB;
6. การลบฐานมูล
Syntax:
DROP DATABASE ชื่อฐานข้อมูล;

ตัวอย่าง :
DROP DATABASE MyDB;

7. การสร้างตาราง
Syntax:
CREATE TABLE ระบุชื่อตาราง(ชื่อ Field ชนิดข้อมูล ประเภทของ Key ,…);

ตัวอย่าง :
CREATE TABLE Personal(Pid CHAR(4) PRIMARY KEY,
Pname VARCHAR(25) );

การจัดการฐานข้อมูล (Managing to Database)

เมื่อเราสามารถเรียกข้อมูลจาก Database ออกมาแสดงได้แล้ว จากนี้เราสามารถเขียนปุ่มคำสั่งต่าง
ๆ เพื่อจัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลได้
การสร้างปุ่มคำสั่งเพื่อจัดการกับฐานข้อมูล (JFdbManage.java)
Output:
กำหนด Properties ให้กับแต่ละ Component ดังนี้
Component
Properties
JButton1
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : l<
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdtop
JButton2
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : <
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdpre
JButton3
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : >
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdnext
JButton4
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : >l
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdlast
JButton5
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : Add
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdadd
JButton6
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : Save
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdsave
JButton7
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : Delete
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmddel
JButton8
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : Update
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdedit
JButton9
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : Find
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdfind
JButton10
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : Print
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdprint
JButton11
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : Close
เปลี่ยนชื่อเป็น(Change Variable Name) : cmdclose
JTextField1
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : ค่าว่าง
JTextField2
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :ค่าว่าง
JTextField3
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :ค่าว่าง
JLabel1
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :รหัส
JLabel2
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :ชื่อ
JLabel3
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :นามสกุล
JFrame
title : Manage DB
ตารางที่ 11.... กำหนดคุณสมบัติของ Component ในหน้าจอ Frame Design
Source Code:
package applicationann;
import java.sql.*;
import javax.swing.Icon;
import javax.swing.ImageIcon;
import javax.xml.transform.Result;
import javax.swing.JOptionPane;
public class JFdbManage extends javax.swing.JFrame {
Statement stmt1,stmt;
Connection con;
public int mem=0;
/** Creates new form JFdb */
public JFdbManage () {
initComponents();
}
private void formWindowClosed(java.awt.event.WindowEvent evt) {
try{
con.close();
}catch(SQLException e){
}
// TODO add your handling code here:
}
private void formWindowOpened(java.awt.event.WindowEvent evt) {
try{
Class.forName("sun.jdbc.odbc.JdbcOdbcDriver");
}catch(ClassNotFoundException ex){
}
try{
String url = "jdbc:odbc:testjava";
con = DriverManager.getConnection(url,"per_dep.mdb","");
stmt1 = con.createStatement(ResultSet.TYPE_SCROLL_INSENSITIVE,
ResultSet.CONCUR_READ_ONLY);
}catch(SQLException e){
System.err.print(e.getMessage());
}
//--------------
try{
String SQL = "select * from personal order by id";
ResultSet rs = stmt1.executeQuery(SQL);
rs.first();
mem = rs.getRow();
text1.setText(rs.getString("id"));
text2.setText(rs.getString("name"));
text3.setText(rs.getString("last_name"));
}catch(SQLException e){
System.err.print(e.getMessage());
}
// TODO add your handling code here:
}
//**********************************************************************
private void cmdsaveMouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
try{
stmt = con.createStatement(
ResultSet.TYPE_SCROLL_SENSITIVE,
ResultSet.CONCUR_UPDATABLE);
String SQL = "select * from personal";
ResultSet rs = stmt.executeQuery(SQL);
rs.absolute(mem);
rs.updateString("id",text1.getText());
rs.updateString("name",text2.getText());
rs.updateString("last_name",text3.getText());
rs.insertRow();
rs.refreshRow();
}catch (SQLException e) {
System.err.print(e.getMessage());
}
// TODO add your handling code here:
}
private void cmdpreMouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
// TODO add your handling code here:
try{
String SQL = "select * from personal";
ResultSet rs = stmt1.executeQuery(SQL);
mem--;
rs.absolute(mem);
mem = rs.getRow();
System.out.println(mem);
text1.setText(rs.getString("id"));
text2.setText(rs.getString("name"));
text3.setText(rs.getString("last_name"));
}catch(SQLException e){
System.err.print(e.getMessage());
}
if (mem==0)
{
System.out.println("First record");
cmdpre.setToolTipText("First Record");
cmdpre.setEnabled(false);
cmdtop.setEnabled(false);
cmdnext.setEnabled(true);
cmdlast.setEnabled(true); }
else{
cmdtop.setEnabled(false);
cmdnext.setEnabled(true);
cmdlast.setEnabled(true);
cmdtop.setEnabled(true);
}
}
private void cmdnextMouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
// TODO add your handling code here:
try{
String SQL = "select * from personal";
ResultSet rs = stmt1.executeQuery(SQL);
mem++;
rs.absolute(mem);
mem = rs.getRow();
System.out.println(mem);
text1.setText(rs.getString("id"));
text2.setText(rs.getString("name"));
text3.setText(rs.getString("last_name"));
}catch(SQLException e){
System.err.print(e.getMessage());
}
if (mem==0)
{
System.out.println("Last record");
cmdnext.setToolTipText("Last Record");
cmdnext.setEnabled(false);
cmdlast.setEnabled(false);
cmdtop.setEnabled(true);
cmdpre.setEnabled(true); }
else {
cmdtop.setEnabled(true);
cmdpre.setEnabled(true);
cmdlast.setEnabled(true); }
}
private void cmdlastMouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
// TODO add your handling code here:
try{
String SQL = "select * from personal";
ResultSet rs = stmt1.executeQuery(SQL);
rs.last();
mem = rs.getRow();
System.out.println(mem);
text1.setText(rs.getString("id"));
text2.setText(rs.getString("name"));
text3.setText(rs.getString("last_name"));
}catch(SQLException e){
System.err.print(e.getMessage());
}
cmdlast.setToolTipText("Last Record");
cmdlast.setEnabled(false);
cmdnext.setEnabled(false);
cmdtop.setEnabled(true);
cmdpre.setEnabled(true);
}
private void cmdtopMouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
// TODO add your handling code here:
try{
String SQL = "select * from personal";
ResultSet rs = stmt1.executeQuery(SQL);
rs.first();
mem = rs.getRow();
System.out.println(mem);
text1.setText(rs.getString("id"));
text2.setText(rs.getString("name"));
text3.setText(rs.getString("last_name"));
}catch(SQLException e){
System.err.print(e.getMessage());
}
if (mem==1) {
cmdtop.setEnabled(false);
cmdtop.setToolTipText("First Record");
cmdpre.setEnabled(false);
cmdnext.setEnabled(true);
cmdlast.setEnabled(true);
}
}
private void text2ActionPerformed(java.awt.event.ActionEvent evt) {
// TODO add your handling code here:
text3.requestFocus();
}
private void text1ActionPerformed(java.awt.event.ActionEvent evt) {
// TODO add your handling code here:
text2.requestFocus();
}
private void cmdcloseMouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
// TODO add your handling code here:
try{
con.close();
dispose();
}catch(SQLException e){
}
}
private void cmdeditMouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
// TODO add your handling code here:
try{
stmt = con.createStatement(
ResultSet.TYPE_SCROLL_SENSITIVE,
ResultSet.CONCUR_UPDATABLE);
String SQL = "select * from personal";
ResultSet rs = stmt.executeQuery(SQL);
rs.absolute(mem);
System.out.println(mem);
rs.updateString("name",text2.getText());
rs.updateString("last_name",text3.getText());
rs.updateRow();
}catch (SQLException e) {
System.err.print(e.getMessage());
}
}
private void cmddelMouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
try{
stmt = con.createStatement(
ResultSet.TYPE_SCROLL_SENSITIVE,
ResultSet.CONCUR_UPDATABLE);
String SQL = "select * from personal";
ResultSet rs = stmt.executeQuery(SQL);
rs.absolute(mem);
mem = rs.getRow();
System.out.println("delete record : "+mem);
if (JOptionPane.showConfirmDialog(null,"Delete sure?",
"Confirm",JOptionPane.YES_NO_OPTION)==JOptionPane.YES_OPTION){
rs.deleteRow();
rs.absolute(--mem);
text1.setText(rs.getString("id"));
text2.setText(rs.getString("name"));
text3.setText(rs.getString("last_name")); }
}catch (SQLException e) {
System.err.print(e.getMessage());
}
// TODO add your handling code here:
}
private void cmdaddMouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
try{
stmt = con.createStatement(
ResultSet.TYPE_SCROLL_SENSITIVE,
ResultSet.CONCUR_UPDATABLE);
String SQL = "select * from personal";
ResultSet rs = stmt.executeQuery(SQL);
rs.last();
mem = rs.getRow();
mem++;
rs.absolute(mem);
rs.moveToInsertRow();
System.out.println(mem);
text1.requestFocus();
text1.setText("");
text2.setText("");
text3.setText("");
}catch (SQLException e) {
System.err.print(e.getMessage());
}
// TODO add your handling code here:
}

การเข้าถึงฐานข้อมูล (Connecting to Databases)

เมื่อสร้าง Driver เสร็จเรียบร้อย คุณสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้ โดยการสร้าง Form การเชื่อมต่อ ดังตัวอย่าง
- การเชื่อมต่อฐานข้อมูลและตรวจสอบข้อผิดพลาด (Jfconnectdb.java)
Output:
Component
Properties
JButton1
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : show DB
JButton2
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : บันทึก
JTextField1
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) : ค่าว่าง
JTextField2
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :ค่าว่าง
JTextField3
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :ค่าว่าง
JLabel1
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :รหัส
JLabel2
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :ชื่อ
JLabel3
เปลี่ยนข้อความบนปุ่ม (Edit Text) :นามสกุล
JTextArea1
text: Message
Frame
title : Connect DB
Source Code:
package applicationann;
import java.sql.*;
public class JFconnectdb extends javax.swing.JFrame {
Statement stmt1;
Connection con;
/** Creates new form JFconnectdb */
public JFconnectdb() {
initComponents();
}
private void formWindowClosed(java.awt.event.WindowEvent evt) {
try{
con.close();
}catch(SQLException e){
}
// TODO add your handling code here:
}
private void formWindowOpened(java.awt.event.WindowEvent evt) {
try{
Class.forName("sun.jdbc.odbc.JdbcOdbcDriver");
}catch(ClassNotFoundException ex){
jTextArea1.setText(ex.getMessage());
}
try{
String url = "jdbc:odbc:testjava";
con = DriverManager.getConnection(url,"per_dep.mdb","");
stmt1 = con.createStatement(ResultSet.TYPE_SCROLL_INSENSITIVE,
ResultSet.CONCUR_READ_ONLY);
}catch(SQLException e){
jTextArea1.setText("ConnectionError : " + e.getMessage());
//System.err.print(e.getMessage());
}// TODO add your handling code here:
// TODO add your handling code here:
}
private void jButton2MouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
try{
stmt1.executeUpdate("update table1 set test2 = 'personal'");
}catch(SQLException e){
jTextArea2.setText("error on update : " + e.getMessage());
}
}
private void jButton1MouseClicked(java.awt.event.MouseEvent evt) {
try{
String SQL = "select * from personal";
ResultSet rs = stmt1.executeQuery(SQL);
rs.first();
jTextField1.setText(rs.getString("id"));
jTextField2.setText(rs.getString("name"));
jTextField3.setText(rs.getString("last_name"));
jTextArea2.setText("execute SQL : " + rs.getString(1));
rs.close();
}catch(SQLException e){
jTextArea1.setText("execute SQL : " + e.getMessage());
System.err.print(e.getMessage());
}// TODO add your handling code here:
}

การเชื่อมต่อฐานข้อมูล

การเชื่อมต่อฐานข้อมูลและจัดการกับฐานข้อมูล
หัวข้อ (Topic):
11.1 การสร้างฐานข้อมูลและกำหนดไดรเวอร์ (Setting Up Your Resources)
11.2 การเข้าถึงฐานข้อมูล (Connecting to Databases)
11.3 การจัดการฐานข้อมูล (Managing to Database)
11.4 คำสั่งเอสคิวแอล (SQL Command)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective):
1. สามารถสร้างฐานข้อมูลและกำหนดไดรเวอร์เพื่อทำงานกับฐานข้อมูลได้
2. สามารถเชื่อมต่อการทำงานกับฐานข้อมูลได้
3. สามารถเขียนชุดคำสั่งในการจัดการกับฐานข้อมูลได้
4. อธิบายรูปแบบการใช้งานคำสั่ง SQL ได้
จากเนื้อหาในบทที่แล้ว เราได้ทราบถึงการใช้งาน Swing Package ซึ่งบรรจุคลาสของ Component ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ที่ใช้ในการสร้างการเชื่อมต่อการทำงานกับ User แน่นอนว่าจุดประสงค์ของการทำงานกับโปรแกรมนั้นก็คือเรื่องของข้อมูล หากเราทำการสร้างแบบฟอร์มสำหรับรับค่าข้อมูลจากจาก User แล้วเก็บข้อมูลในตัวแปร ก็จะเป็นการเก็บข้อมูลเพียงชั่วขณะเท่านั้น ดังนั้นหากเราต้องการจัดเก็บข้อมูลอย่างมั่นคงและถาวร ก็ต้องมีการเก็บลงในฐานข้อมูล (Database) ซึ่งในบทนี้ จะขอแนะนำให้ทราบถึงวิธีการใช้ NetBeans ทำงานร่วมกับฐานมูล
11.1 การสร้างฐานข้อมูลและกำหนดไดรเวอร์ (Setting Up Your Resources)
แน่นอนประเภทของฐานข้อมูลนั้นมีหลายประเภท แต่ฐานข้อมูลประเภทที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันก็คือฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ฐานข้อมูลประเภทนี้ทำให้คุณสามารถะเชื่อมโยง (Link) ข้อมูลแบบหลายต่อหลายได้ (Many-to-Many) แต่นับจากปัจจุบันถึงอนาคตฐานข้อมูลประเภทนี้จะถูกแทนที่ด้วยฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object Database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลหลากประชนิด ทั้งข้อความ (Text) ภาพ(Image) เสียง (Voice) และมัลติมิเดีย (Multimedia) นอกจากนี้การทำงานกับฐานข้อมูล คุณจำเป็นต้องเลือกโปรแกรมฐานข้อมูลและโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (DBMS: Database Management System) ที่มีความเหมาะสมกับกับระบบ อีกทั้งคำนึงถึงค่าใช้จ่าย (Cost) ในการลงทุนเลือกซื้อ Software เหล่านี้อีกด้วย ว่าโปรแกรมฐานข้อมูลนั้น และสำหรับภาษา Java จัดเป็นโปรแกรม DBMS ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ทำให้เราสามารปรับปรุง (Update) ฐานข้อมูลได้ และ Java นั้นก็สามารถเชื่อมการทำงานกับฐานข้อมูลได้หลากหลายชนิด อาทิเช่นฐานข้อมูล Access, Oracle และ MySQL เป็นต้น และในที่นี้จะขอแนะนำวิธีการเชื่อม Java กับฐานข้อมูล Accesss เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลขนาดเล็ก และคาดว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านคงมีโปรแกรม MS-Access ติดตั้งพร้อมแล้ว ไม่ต้องค้นหาโปรแกรมอื่นเพิ่มเติม คงทำให้สะดวกและง่ายในการทำงานมากยิ่งขึ้น
การสร้างฐานข้อมูล
ให้เริ่มสร้างฐานข้อมูลใน Access ก่อนตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
การเข้าใช้งานโปแกรม MS-Access และการสร้างฐานข้อมูล
1. Start > All Programs > Microsoft Access
2. เลือก Blank Database ที่แถบด้านขวามือ ดังรูป
การสร้างตาราง (Table)
ก่อนเริ่มสร้างตารางในการจัดเก็บข้อมูลมีความจำเป็นต้องออกแบบและกำหนดโครงสร้างของตาราง ซึ่งหลักการออกแบบ Table ภายใน database ต้องอาศัยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง table และต้องทำการจัดบรรทัดฐานของ database (Normalization) เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลตามหลักวิชา ฐานข้อมูล ในที่นี้สมมติว่า เราจะสร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บบุคคล (Personal) จะขอยกตัวอย่างข้อมูลจำนวนไม่มากเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ
การกำหนดโครงสร้างของตาราง (Table Structure)
ทำการกำหนดโครงสร้างของตาราง ดังนี้
ชื่อตาราง (Table) : personal
ลำดับ
(Number) ชื่อ Field
(Field Name) ชนิดข้อมูล
(Data Type) ความกว้าง
(Field Size) อธิบาย
(Description)
1 id Text 4 รหัสพนักงาน
2 name Text 25 ชื่อพนักงาน
3 last_name Text 25 นามสกุล

เริ่มสร้างตาราง
1. เลือกป้าย Table ในแถบด้านซ้าย > เลือก Create table in Design view เพื่อกำหนดโครงสร้างตารางด้วยตัวคุณเอง
2. ทำการกำหนด Field ลงในตารางตามที่ได้ออกแบบไว้ ดังรูป
การกำหนด Primary Key
เมื่อกำหนดโครงสร้างของตารางเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะออกจากหน้าต่างนี้
เพื่อเข้าสู่การป้อนข้อมูล คุณจำเป็นต้องทำการกำหนดคีย์หลักของตาราง (Primary key) ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะนิยมกำหนดให้ 1 Table ใช้ primary key 1 ตัวเท่านั้น แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป สามารถมี primary key มากกว่า 1 ตัวได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะข้อมูลในตาราง โดยคุณสมบัติหลัก ๆ ของ Field ที่เราจะเลือกใช้เป็น primary key นั้น จะเป็น Field ที่เก็บข้อมูลไม่ซ้ำกัน(unique) โดยมากนิยมใช้ข้อมูลรหัส เป็น primary key (ควรศึกษาเพิ่มในวิชาฐานข้อมูล) และการกำหนด primary key มีขั้นตอนดังนี้
1. Click ขวาที่หัวแถวของ Field “id” > เลือก Primary key > จะมีรูปกุญแจปรากฎขึ้น ให้ดูภาพตัวอย่างได้จากด้านบน
การป้อนข้อมูลในตาราง Data Sheet
สามารถป้อนข้อมูลในตารางได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. Click ปุ่ม Close ที่มุมขวามือที่ปิดหน้าต่างของตาราง > จะปรากฏ
dialog ถามว่าคุณต้องการ Save ตารางหรือไม่ ให้ตอบ Yes และระบุชื่อตารางที่ต้องการ Save
3. จากนั้นจะปรากฎชื่อตาราง “Personal” ที่หน้าต่างของ database > ให้
Double click ที่ชื่อตาราง “Personal” เพื่อเปิดตารางขึ้นมาสำหรับป้อนข้อมูล
คุณสามารถสลับการทำงานไปมาระหว่างหน้าต่างป้อนข้อมูล (Data Sheet) กับ
หน้าต่างโครงสร้างของตาราง (Table Structure) ได้ โดยใช้ปุ่ม View ที่มุมบนซ้ายมือ ดังรูป
ถ้าคุณอยู่ในหน้าต่างโครงสร้างของตาราง (Table Structure) แล้วต้องการสลับไป
ยังหน้าต่าง Data Sheet ปุ่ม View จะเปลี่ยนสถานะจากรูปดินสอ เป็นรูป
- การแก้ไขโครงสร้างของตาราง
1. เมื่ออยู่ในหน้าต่าง Database > Click ขวาที่ชื่อตาราง “Personal” > เลือก
Design View
กำหนดไดรเวอร์ (Driver)
คุณสามารถเข้ากำหนด Driver เพื่อทำงานร่วมกับฐานข้อมูล Access ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. Start > Control Panel > Administrative Tools > Data Sources (ODBC)
2. เลือกป้าย System DSN > Add > Microsoft Access Driver (*.mdb) > Finish
3. จะปรากฏหน้าจอ dialog ให้กำหนดชื่อ Driver > พิมพ์ชื่อ Driver ที่ต้องการลงในช่อง Data Source Name ดังรูป (หมายเลข 2) ตั้งชื่อ Driver ชื่อ Testjava
4. จากนั้น click ปุ่ม Select เพื่อเข้าไปเลือกฐานข้อมูลที่ต้องการใช้ (ตามรูปหมายเลข 3) > ให้ค้นหาที่อยู่ของ Database โดยทำงานตามขั้นตอนหมายเลข 4-7
5. จะกลับเข้าสู่หน้าจอ ดังรูป > ให้ click ปุ่ม OK
6. จากนั้นจะกลับสู่การทำงานของป้าย System DSN และปรากฎชื่อ Driver “testjava” ตามที่ได้กำหนดไว้ > คุณสามารถ click ปุ่ม Configure เพื่อย้อนกลับไปแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงรายการฐานข้อมูลที่เลือก
7. เมื่อกำหนดข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ต้องการจบการทำงานให้ click ปุ่ม Apply > OK

การเชื่อมต่อฐานข้อมูล

ก่อนที่จะใช้งาน ADO เราจำเป็นต้องสร้าง Data Source Name (DSN) เสียก่อน โดย
เซ็ต Open Database Connectivity (ODBC) ให้เชื่อมไปยังฐานข้อมูลที่เราเตรียมไว้ ซึ่งขั้นตอนการเซ็ตมีดังนี้
1. เปิด Control Panel --- > 32 bit ODBC ของเครื่องที่ทำ Web Server
2. เลือกแท็บ System DSN แล้วคลิกปุ่ม Add
3. เลือกไดร์ฟเวอร์ของฐานข้อมูล ที่ต้องการเชื่อมต่อ ในที่นี้ เลือก Microsoft Access driver [*.mdb] แล้วคลิก Finish
4. กรอกรายละเอียดในช่อง Data Source Name ให้ตั้งชื่อของ DSN แล้วคลิกที่ปุ่ม Select เลือก MS Access 97 (*mdb) ตามต้องการ
การใช้งาน Connection Object
การที่จะติดต่อกับฐานข้อมูล เราต้องสร้างส่วนการเชื่อมต่อ หรือ Connection ก่อน โดยสร้างออบเจ็กต์สำหรับ การติดต่อ แล้วใช้เมธอด Open เปิดการเชื่อมต่อ เช่น
Set Conn=Server.CreateObject(“ADODB.Connection”)
Conn.Open “MYDSN”
บรรทัดแรก เป็นการสร้างอบบเจ็กต์สำหรับการติดต่อชื่อ Conn ไว้ก่อน จากนั้น ใช้เมธอด Open เปิดการเชื่อมต่อกับ Data Source Name ชื่อ MYDSN


การใช้งาน Recordset Object
เมื่อสร้างออบเจ็กต์การติดต่อแล้ว เราสามารถสร้าง Record Object เพื่อเอ็กซ์คิวต์ คำสั่งในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาได้ เช่น
Set Rs=Server.Create(“ADODB.Recordset”)
Rs.Open “Select * From mytable Where id < 10”

เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ถึงกระบวนการทำงาน ให้ศึกษาตามตัวอย่างด้านล่างนี้ ซึ่งแสดงการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล เพื่อแสดงออกยังตาราง
ตัวอย่าง 05_show.asp
<%@ LANGUAGE="VBSCRIPT" %>


แสดงการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล



แสดงการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล


<%
‘เชื่อมต่อฐานข้อมูล
Set Conn=Server.CreateObject("ADODB.Connection")
Conn.Open "DATASOURCE"
Set Rs=Server.CreateObject("ADODB.Recordset")
Rs.Open " Select * From info ",Conn
‘ ตรวจสอบ record
If Rs.EOF Then
Response.Write "ไม่พบข้อมูลเลยน่ะ"
Else
%>



<%’ สร้างหัวตาราง
For i=0 to Rs.Fields.Count-1
Response.Write " "
Next
%>

<%
‘ สร้างตัวตารางและแสดงผลข้อมูล
Do While Not Rs.EOF
Response.Write " "
Response.Write " "
Response.Write " "
Response.Write " "
‘ เลื่อนไปยังเร็คคอร์ดต่อไป
Rs.MoveNext

‘วนซ้ำไปเรื่อย ๆ
Loop
Response.Write "
"&Rs(i).Name&"
"&Rs("id")&" "&Rs("Fname")&" "&Rs("Lname")&" "&Rs("position")&"
"
‘ ปิดการเชื่อมต่อทั้งหมด
Rs.Close
Conn.Close
End If
%>


เมื่อเราทำการ Run โปรแกรม 05_show.asp แล้วจะปรากฎดังภาพด้านล่าง นี้ ซึ่งตัวอย่างของโปรแกรมตัวนี้ สามารถนำไปเปิดดูกับฐานข้อมูลอะไรก็ได้

ภาพแสดงตัวอย่าง 05_show.asp

If Rs.EOF Then เป็นการแสดงพรอพพอตี่ EOF ของ recordset Object ในการตรวจสอบเร็คคอร์ดเซ็ต ที่ได้ว่าพบหรือไม่ EOF หมายถึง เคอร์เซอร์ ของเร็คคอร์ดอยู่ตำแหน่งใต้สุดของเร็คคอร์ด ทั้งหมด
Do While Not Rs.EOF ให้ทำการตรวจสอบข้อมูลไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหมดเร็คคอร์ด
Rs.MoveNext เป็นการใช้เมธอด MoveNext ของ Recordset Object ในการเลื่อนเคอร์เซอร์ให้ไปอยู่ในเร็คคอร์ดถัดไปเรื่อย ๆ จนกระทั้งหมดทั้งเร็คคอร์ด

ปฎิบัติการรีเลชันแนลกับ SQL
แนวคิดของรีเลชันแนล คือ ความสัมพันธ์ของแนวคิดหลักและพื้นฐานจริง ๆ ของ รีเลชันแนล จึงมาอยู่ที่ความสัมพันธุ์ของข้อมูล ไม่ว่าเรากำลังระบบฐานข้อมูลจากโปรแกรมตัวใดก็ตาม ส่วนสำคัญที่เราจะสร้างและใช้งานระบบฐานข้อมูล คือ ภาษาที่สั่งการ เช่น SQL เป็นต้น ซึ่งมีโครงสร้างทางภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ซึ่งง่ายต่อการใช้งานมาก
ฐานข้อมูล คือ เอกสารที่เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในลักษณะที่เป็นตาราง โดยข้อมูลจะถูกจัดเก็บเป็นรายการรวมเรียกว่าแถว (row) และในแต่ละแถวหรือแต่ละรายการ จะประกอบไปด้วยคอลัมน์ (column) เพื่อจำแนกประเภทของข้อมูล ตัวอย่างด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างฐานข้อมูลรายชื่อนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วยรหัสประจำตัว ชื่อ สกุล และโปรแกรมวิชา
ตารางแสดงฐานข้อมูลรายชื่อนักศึกษา
รหัสประจำตัว
ชื่อ
นามสกุล
โปรแกรมวิชา
001
สมพงษ์
เลือดทหาร
สังคมศึกษา
002
สมบัติ
มักน้อย
สังคมศึกษา
003
พิบูลย์
สมประสงค์
ภาษาไทย
004
ณัฐนันท์
โสจิสกุล
นิเทศศาสตร์
005
วรรณวิสา
พาณิชเจริญ
อังกฤษศึกษา
006
กนกมาศ
สัมพันธ์
วิทยาศาสตร์

ในการสร้างฐานข้อมูลนั้น ที่นิยมใช้กัน คือ Microsoft Access ส่วนขั้นตอนในการสร้างนั้น ทุกคนสามารถสร้างกันได้อยู่แล้ว จะไม่ขอกล่าวรายละเอียดในที่นี่มากนัก
ฐานข้อมูลที่เราสร้างขึ้นมาใหม่นี้ ประกอบไปด้วยตารางชื่อ information เพียงตารางเดียวเท่านั้น เมื่อเราต้อการเพิ่มตาราง ข้อมูลเข้าไป เพื่อบันทึก ว่านักศึกษาคนนั้นอยู่ห้องไหน มีอาจารย์ที่ปรึกษาชื่ออะไร เราก็สร้างตารางขึ้นมาอีกหนึ่งตาราง แต่แทนที่เราจะต้องบันทึกชื่อ รามสกุลของนักศึกษาใหม่ เราก็บันทึกเพียงรหัสประจำตัวเทานั้น ซึ่งตารางทั้งสองนี้จะมีความสัมพันธ์กันอยู่ที่รหัสประจำตัว คือ เมื่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนักศึกษา ตารางที่แสดงห้อง ก็จะแสดงข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาคนนั้นด้วย

เครื่องช่วยเดิน – นวัตกรรมใหม่ของฮอนด้า

กำลังสงสัยล่ะสิ ว่าเจ้าอุปกรณ์หน้าตาประหลาดๆ นี้มันคืออะไร มีไว้ทำไม คำตอบก็คือ มันคือเครื่องช่วยเดิน ที่บริษัทฮอนด้าได้ประดิษฐ์ขึ้น และเปิดตัวความสำเร็จขั้นที่สองไปเมื่อไม่นานมานี้เอง ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงทดลองการใช้งานจริง
ว่ากันว่า ด้วยอุปกรณ์ช่วยเดินนี้ ผู้ใช้จะสามารถก้าวขาได้ยาวกว่าปกติ (เปรียบเทียบกับเวลาที่ไม่ได้ใช้) ทำให้การเดินง่ายยิ่งขึ้น นำมาใช้สำหรับทุ่นแรงของคนงานในโรงงานต่าง ๆ ที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ หรือต้องลุกนั่งบ่อยๆ ได้เป็นอย่างดี โดยอุปกรณ์ที่ว่านี้ จะสามารถช่วยพยุงขาของผู้ที่สวมใส่ ไม่ให้แบกรับน้ำหนักมากเกินไปในขณะที่เดินไป-มา หรือต้องออกแรงมากมายในเวลาที่ต้องย่อเข่า ลุกขึ้น หรือเวลาที่เดินขึ้น-ลงบันได โดยอุปกรณ์ดังกล่าวถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ติดเครื่องยนต์ และมีระบบเซ็นเซอร์ ซึ่งจะช่วยพยุงน้ำหนักของร่างกายได้ถึง 3 กิโลกรัม และในขณะที่ย่อตัว มันจะช่วยพยุงน้ำหนักได้ถึง 9 กิโลกรัมเลยทีเดียว
บริษัท ฮอนด้าริเริ่มวิจัยและพัฒนาเครื่องช่วยเดินมาตั้งแต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางไปในที่ต่างๆ อย่างมีความสุข ส่วนเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในอุปกรณ์ดังกล่าว ก็คือ นวัตกรรมพิเศษที่พัฒนามาจากการศึกษาการเดินของมนุษย์ของฮอนด้ามาเป็นเวลายาวนาน ที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา “อาซิโม” หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ล้ำยุคที่สุดในโลกนั่นเอง
ได้ยินแบบนี้แล้ว ผู้ป่วยหรือใครที่ขาไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยให้เดินเหิน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ได้สะดวกอีกแล้ว คงจะยิ้มออกได้เลยล่ะงานนี้
ภาวะขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังคุกคามไปทั่วโลกคะ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อแก้ปัญหานี้ ดีไซน์เนอร์ชื่อ Leonardo Manavella ได้ออกแบบเครื่องมือหนึ่งที่อาจจะเป็นหนทางการแก้ไขของปัญหานี้ได้ นั้นก็คือ “Agua H2O” คะ ... เอ้า!...ดูจากรูปแล้วพอจะเดากันได้ไหมเอ่ย ว่าไอเจ้า Aqua H20 เนี้ย มันเอาไว้ใช้ทำอะไร .... แหม รูปประกอบโจ่งครึ้มขนาดนี้ ต้องทายกันถูกอยู่แล้วละ ^ ^
Aqua H20 เป็นเครื่องแปลงสภาพ " ปัสสาวะ " ซึ่งเป็นของเสียที่ถูกขับออกจากร่างกายให้กลายมาเป็นน้ำสะอาดคะ โดยทำงานผ่านระบบที่เรียกว่า “ Activated Carbon ซึ่งจะช่วยปรับทั้ง " สี " และ " กลิ่น " จากเดิมที่เป็นกลิ่นตุๆสีตุ่นๆ ให้กลายเป็นน้ำใสๆหอมหวนชวนดื่ม ซึ่งความพิเศษของเจ้าเครื่องนี้ก็คือ มันสามารถใช้ได้ทั้งปัสสาวะของคนและสัตว์ ( อืมม ... กินฉี่ของไอด่างที่บ้าน ) แถมยังมีขนาดกระทัดรัด พกพาสะดวก เหมาะกับการพกไว้เผื่อฉุกเฉินยาม และ.....ข้อสุดท้ายซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุดๆๆๆ นั้นก็คือ คุณไม่ต้องพกแก้วไว้รองน้ำให้เมื่อย เพราะคุณสามารถยกซดดับกระหายจากเครื่องได้ทันทีเลย เพียงแต่ ....คุณจะกล้าพอรึเปล่าละ... = ="