วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทำงานอย่างไร

1.ถ้าเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ประเภท POP ก็จะรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทาง POP3 (Post Office Protocol) คือในทันทีที่มีจดหมายมาส่งที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง (โดยทั่วไปคือ Mail server ของ ISP หรือ องค์กรต่างๆ) จดหมายฉบับนั้นก็จะค้างอยู่ที่ทำการฯ ไปจนกว่าจะมีคนมาติดต่อขอรับมัน ด้วยวิธีการนี้ภาระของผู้ส่งจดหมายจะสิ้นสุดเมื่อจดหมายถึงที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง(ซึ่งก็เปรียบเสมือนโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บจดหมายของผู้ใช้ปลายทาง) POP3 จะเป็น Protocol แบบดึง(Pull Protocol) เมื่อใดก็ตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บริการ (Client) มีความต้องการที่จะตรวจสอบข้อความ มันจะทำการเชื่อมต่อไปยัง Mail server และจะใช้ POP เพื่อ Login เข้าไปยังตู้รับจดหมาย (Mailbox) แล้วดึงจดหมายนั้นมาไว้ในเครื่องเรา POP จะเป็นการบริการที่เหมาะสมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์ เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะรับ E-mail ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อม ต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอด2. MIME (Multipurpose Internet Mail Extension) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง Protocol ใหม่ที่ชื่อว่า MIME ซึ่งเป็นมาตรฐานในการเข้ารหัสแฟ้มข้อมูลหลายชนิดไปรวมกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเราจึงสามารถส่งไฟล์ทุกประเภทไปพร้อมกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยมีวิธีการ คือแปลง ไฟล์รูปภาพ เสียง วีดีโอ ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary ให้มาอยู่ในรูปแบบตัวอักษร MIME ซึ่งเป็นตัวมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อรองรับจุดประสงค์ที่หลากหลายจากการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น

โปรโตคอลและโทโปโลยี

ข้อมูลจาก http://www.thaiinternetwork.com/chapter/ieee_osi.htm ปี ค.ศ.1977 องค์กร ISO(International Organization for Standard) ได้ตั้งคณะกรรมการ เพื่อพัฒนามาตรฐานของสถาปัตยกรรมเครือข่าย และในปี ค.ศ.1983 องค์กร ISO ก็ได้ประกาศรูปแบบสถาปัตยกรรม OSI model(Open system interconnection model) เพื่อเป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งการเชื่อมต่อเป็น 7 Layer แลนตามข้อกำหนดของ IEEE เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลนมีลักษณะโดยทั่วไป คือ มีอัตราการส่งข้อมูลสูงและมักมีรัศมีเครือข่ายครอบคลุมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงแลนตามมาตรฐานที่กำหนดโดย IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) IEEE กำหนดเครือข่ายเฉพาะที่โดยใช้ตัวเลข 802 ตามด้วยตัวเลขย่อยเป็นรหัสประจำแต่ละมาตรฐาน รูปที่ข้างล่างนี้ เป็นแบบจำลองบางส่วนของมาตรฐานซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายได้แก่ • IEEE 802.3 หรืออีเทอร์เนต ใช้โปรโตคอลซีเอสเอ็มเอ/ซีดีในโทโปโลยีแบบบัส • IEEE 802.4 หรือโทเคนบัส ใช้โปรโตคอลส่งผ่านโทเคนในโทโปโลยีแบบบัส • IEEE 802.5 หรือโทเคนริง ใช้โปรโตคอลส่งผ่านโทเคนในโทโปโลยีวงแหวน IEEE 802.3 IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณเช่น • 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร • 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร • 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตร รูปที่ข้างล่าง แสดงถึงลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ รหัสขึ้นต้นด้วย 10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาที คำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลขหมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษรจะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ F คือ Fiber optics ส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 100BaseTX และ 100BaseFX สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น อีเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล ซีเอสเอ็มเอ/ซีดี (CSMA/CD : Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าครอบครองสายสัญญาณ ในขณะเวลาหนึ่งจะมีเพียงสถานีเดียวที่เข้าครองสายสัญญาณเพื่อส่งข้อมูล สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลต้องการตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีสถานีอื่นใช้สายอยู่หรือไม่ ถ้าสายสัญญาณว่างก็ส่งข้อมูลได้ทันที หากไม่ว่างก็ต้องคอยจนกว่าสายสัญญาณว่างจึงจะส่งข้อมูลได้ ขณะที่สถานีหนึ่ง ๆ กำลังส่งข้อมูลก็ต้องตรวจสอบสายสัญญาณไปพร้อมกันด้วยเพื่อตรวจว่าในจังหวะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นมีสถานีอื่นซึ่งพบสายสัญญาณว่างและส่งข้อมูลมาหรือไม่ หากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นแล้ว ข้อมูลจากทั้งสองสถานีจะผสมกันหรือเรียกว่า การชนกัน (Collision) และนำไปใช้ไม่ได้ สถานีจะต้องหยุดส่งและสุ่มหาเวลาเพื่อเข้าใช้สายสัญญาณใหม่ ในเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่มีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทานจะล่าช้าเพราะแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลและเกิดการชนกันเกือบตลอดเวลา โดยไม่สามารถกำหนดว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อเวลาใด อีเทอร์เน็ตจึงไม่มีเหมาะกับการใช้งานในระบบจริง IEEE 802.4 IEEE 802.4 หรือ โทเคนบัส (Token Bus) มีโทโปโลยีแบบบัสเช่นเดียวกับ IEEE 802.3 แต่มีข้อกำหนดการเข้าใช้สายสื่อสายโดยใช้โทเค็นพิเศษซึ่งทำหน้าที่เป็นเฟรมสัญญาณกำหนดจังหวะให้สถานีเข้าใช้สายสื่อสาร โทเค็นจะถูกนำส่งจากสถานหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งและวนกลับที่เดิมเป็นวงรอบ สถานีที่ได้รับโทเค็นจะมีสิทธิ์ใช้สายสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลได้ สายสื่อสารในโทเค็นบัสมักใช้สายโคแอ็กเชียล และมีอัตราเร็วหลายระดับคือ 1, 5 หรือ 10 เมกะบิตต่อวินาที การใช้โทเคนช่วยให้สถานีไม่ต้องแย่งยึดช่องสัญญาณเหมือนใน IEEE 802.3 หากแต่ความซับซ้อนของโปโตคอลทำให้ IEEE 802.4 ไม่เป็นที่นิยมใช้ IEEE 802.5 IEEE 802.5 หรือ โทเคนริง (Token Ring) หรือมักเรียกว่าไอบีเอ็มโทเคนริงจัดเป็นเครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบวงแหวนด้วยสายคู่ตีเกลียวหรือเส้นใยนำแสง อัตราการส่งข้อมูลของโทเค็นริงที่ใช้โดยทั่วไปคือ 4 และ 6 เมกะบิตต่อวินาที รูปที่ข้างล่าง แสดงการทำงานของโทเค็นริง โดยมีเฟรมพิเศษเรียกว่า โทเค็นว่าง (free token) วิ่งวนอยู่ สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลจะรอให้โทเค็นว่างเดินทางมาถึงแล้วรับโทเค็นว่างมาเปลี่ยนเป็น เฟรมข้อมูล (data frame) โดยใส่แฟล็กแสดงเฟรมข้อมูลและบรรจุแอดเดรสของสถานีต้นทางและปลายทางตลอดจนข้อมูลอื่นๆจากนั้นสถานีจึงปล่อยเฟรมนี้ออกไป เมื่อสถานีปลายทางได้รับเฟรมจะสำเนาข้อมูลไว้และปล่อยเฟรมให้วนกลับมายังสถานีส่ง สถานีส่งจะตรวจสอบเฟรมและปล่อยโทเค็นว่างคืนสู่เครือข่ายให้สถานีอื่นมีโอกาสส่งข้อมูลต่อไป กลไกลแบบส่งผ่านโทเค็นจัดอยู่ในประเภทประเมินเวลาได้ กล่าวคือ สามารถคำนวณเวลาสูงสุดที่สถานีมีสิทธิ์จับโทเค็นเพื่อส่งข้อมูลได้ โทเค็นริงจึงเหมาะกับระบบที่ต้องการความแน่นอนทางเวลาหรืองานแบบเวลาจริง (Open System Interconnection) An ISO standard for worldwide communications that defines a framework for implementing protocols in seven layers. Control is passed from one layer to the next, starting at the application layer in one station, proceeding to the bottom layer, over the channel to the next station and back up the hierarchy. At one time, most vendors agreed to support OSI in one form or another, but OSI was too loosely defined and proprietary standards were too entrenched. Except for the OSI-compliant X.400 and X.500 e-mail and directory standards, which are widely used, what was once thought to become the universal communications standard now serves as the teaching model for all other protocols. Most of the functionality in the OSI model exists in all communications systems, although two or three OSI layers may be incorporated into one. For details of the OSI model, see OSI model. For comparisons between the OSI model and other protocol stacks,

นวัตกรรมใหม่ แว่นนาโนคริสตอล

สวทช. และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง นำนวัตกรรมนาโนคริสตอล ประยุกต์ผลิตแว่นนาโน
กรุงเทพฯ– นักวิทยาศาสตร์ไทย ผลิตแว่นนาโนคริสตอล แว่นคุณสมบัติพิเศษ ที่จะช่วยให้นักนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานได้ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เพราะทำให้มองเห็นสารคัดหลั่ง อาทิ คราบเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย อสุจิ ที่คนร้ายทิ้งร่องรอยไว้ ณ จุดเกิดเหตุได้ด้วยแว่นเพียงอันเดียว และได้ทำการมอบแว่นนาโนคริสตอลต้นแบบให้กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ ยังจะมีการทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำนวัตกรรมนาโนคริสตอล ไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ การแพทย์และการเกษตร ต่อไป
นวัตกรรมนาโนคริสตอล เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักวิจัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

ดร. ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ภายใต้ สวทช. กล่าวว่า“แว่นนาโนคริสตอล เป็นบาย-โปรดักส์สำคัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการทำวิจัยฟิล์มบางวัสดุนาโนเพื่อนำไปใช้ในงานนาโนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์โซลาร์เซลส์ ตัวตรวจวัดแสง (Photo Detector)และตัวเปล่งแสง (LED-Light Emitting Diode) เป็นต้น ทั้งนี้ได้ทำการยื่นขอจดสิทธิบัตรไปแล้วทั้งในประเทศไทยและในสหรัฐอเมริกา และยังทำการวิจัยพัฒนาต่อเพื่อให้เกิดผลในเชิงพาณิชย์สู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม”
“นวัตกรรมนาโนคริสตอล สอดคล้องกับแผน Fast Forward ในอันที่จะเร่งเพิ่มสิทธิบัตรนวัตกรรมของ สวทช.” ดร. ธีระชัย กล่าว
ดร. ธีระชัย กล่าวต่อว่า เราทำโครงการวิจัยระยะยาว เพื่อสร้างพื้นฐานทางนาโนเทคโนโลยีให้กับประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็มองหาหนทางในการนำเทคโนโลยีที่ค้นพบ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และเห็นผลได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
รศ.ดร.จิติ หนูแก้ว ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยนวัตกรรมนาโนคริสตอล กล่าวว่า นาโนคริสตอล เกิดจากการนำผลึกของอินเดียมออกซิไนไตรด์ (Indium Oxynitride) ซึ่งเป็นสารประกอบออกซิเจน ไนโตรเจนของอินเดียมที่มีขนาดเล็กระดับนาโน เคลือบลงบนเลนส์แก้วหรือพลาสติกโดยใช้วิธีไอระเหย ซึ่งจะส่งผลให้เลนส์นั้นเกิดคุณสมบัติพิเศษคือ ความสามารถในการตัดแสงในช่วงความยาวคลื่นของแสงที่แตกต่างกัน ดังนั้น แว่นนาโนคริสตอล จึงทำหน้าที่เป็นฟิลเตอร์ ซึ่งสามารถตัดแสงสีน้ำเงิน เขียว และแดง รวมทั้งรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต หรือรังสียูวีทั้ง UV-A, UV-B และ UV-C ได้ อีกทั้งยังผลิตได้ง่ายด้วยวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด
เมื่อนำเลนส์ที่เคลือบด้วยนาโนคริสตอลมาประยุกต์ทำแว่นนาโนเพื่อใช้ในการตรวจหาหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุด้วยวิธีทางด้านแสงยูวี จะช่วยให้เจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์มองเห็นสารคัดหลั่ง อาทิ คราบเลือด คราบน้ำลาย คราบอสุจิ หรือลายนิ้วมือ หรือเส้นใย ได้มากกว่า 1 ประเภท ด้วยแว่นเพียงอันเดียว ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับเจ้าหน้าที่
พันตำรวจโท สมชาย เฉลิมสุขสันต์ หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ในการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ โดยเฉพาะคดีข่มขืนหรือคดีฆาตกรรม เจ้าหน้าที่นิติ-วิทยาศาสตร์จะตรวจหาหลักฐานที่เป็นสารคัดหลั่ง หรืออื่นๆ โดยใช้แสงหลายความยาวคลื่นในย่านยูวี-วิซิเบิล ฉายลงในพื้นที่หรือวัตถุต้องสงสัยที่จะเกิดการเรืองแสงกับแสงยูวีในช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่ต้องใส่แว่นตาพิเศษ ซึ่งมี 3 สี คือ สีเหลือง สีส้ม และสีแดง ซึ่งแว่นแต่ละสีทำหน้าที่ตัดแสงในย่านความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกัน ทำให้เห็นการเรืองแสงดังกล่าว ดังนั้นในการตรวจสอบแต่ละครั้งอาจต้องเสียเวลาไปกับการเปลี่ยนความยาวคลื่นของแสงที่ฉายลงบนพื้นที่หรือวัตถุ และเปลี่ยนแว่นตาที่ทำหน้าที่ตัดแสงแต่ละสี เพื่อให้เห็นการเรืองแสงหรือเห็นสิ่งที่ต้องการตรวจหาเมื่อมองผ่านแว่นตา
พันตำรวจโท สมชาย กล่าวต่อว่า “แว่นนาโนคริสตอล เป็นนวัตกรรมใหม่ ถือได้ว่าเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์อีกทางหนึ่ง โดยจะช่วยสนับสนุนภารกิจให้กับทีมนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสารคัดหลั่งที่คนร้ายทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุ ได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนั้นทั้งคณะผู้คิดค้นและวัตถุดิบที่นำมาผลิต ก็อยู่ในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้หน่วยงาน บริษัทต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานราชการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้”
นอกเหนือจากการนำแว่นนาโนคริสตอล มาใช้ในงานตรวจสอบสารคัดหลั่งของเจ้าหน้าที่นิติ-วิทยาศาสตร์แล้ว แว่นนาโนคริสตอล ยังมีศักยภาพที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ เช่น ใช้ทำแว่นสำหรับแพทย์ที่ฉายรังสียูวีเพื่อการรักษาหรือเพื่อเสริมความงาม แพทย์ที่ใช้เลเซอร์ในการผ่าตัด หรือแว่นสำหรับป้องกันแสงและรังสีในการเชื่อมโลหะ และการใช้แว่นป้องกันแสงยูวีในการคัดแยกกุ้งกุลาดำ เป็นต้น
หลังจากการส่งมอบแว่นนาโนคริสตอล เพื่อทดสอบการใช้งานทางนิติวิทยาศาสตร์แล้ว ทางทีมวิจัยจะได้ส่งมอบแว่นนาโนคริสตอล เพื่อทดสอบภาคสนามในอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้ คาดว่า การทดสอบภาคสนามจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2551