วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การคอนฟิกเราเตอร์ Cisco ขั้นพื้นฐาน



กรณีที่ 1 การเชื่อมต่อแบบ Point to Point โดยมีจำนวน Site เป็น 2 sites ทำ Routing เป็นแบบ Static และ encapsulation เป็น pppสมมุติว่าเรามีจำนวน site เป็น 2 site และมีการเชื่อมต่อดังรูปที่ 1 โดยกำหนดค่า ip เป็นดังนี้
Wan IP : เป็น 192.168.0.0/30 นั่นคือจะมี ip ในกลุ่มนี้ทั้งหมดเป็น 4 ip คือ 192.168.0.0 - 192.168.0.3 แต่ไอพี 192.168.0.0 เป็น network ip และ ไอพี 192.168.0.3 เป็น broadcast ip ซึ่งนำมาใช้งานปกติไม่ได้ จึงเหลือไอพีที่ใช้งานทั่วไปได้ 2 ip คือ 192.168.0.1 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router A และอีกไอพีคือ 192.168.0.2 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router B ดังรูปที่ 1
Lan IP ด้าน A : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.11.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.11.1 - 192.168.11.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.11.1 เป็นไอพีของ ethernet port (e0) ของ router A และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.11.11 เป็นต้นไป ดังรูปที่ 1
Lan IP ด้าน B : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.12.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c เช่นกัน คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.12.1 - 192.168.12.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.12.1 เป็นไอพีของ ethernet port (e0) ของ router B และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.12.11 เป็นต้นไป ดังรูปที่ 1


การคอนฟิกที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Asite-A(config)#int s0site-A(config-if)#ip address 192.168.0.1 255.255.255.252site-A(config-if)#bandwidth 128site-A(config-if)#encapsulation pppsite-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#int e0site-A(config-if)#ip address 192.168.11.1 255.255.255.0site-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#ip route 192.168.12.0 255.255.255.0 192.168.0.2site-A(config)#exitsite-A#wr memที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Bsite-B(config)#int s0site-B(config-if)#ip address 192.168.0.2 255.255.255.252site-B(config-if)#bandwidth 128site-B(config-if)#encapsulation pppsite-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#int e0site-B(config-if)#ip address 192.168.12.1 255.255.255.0site-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#ip route 192.168.11.0 255.255.255.0 192.168.0.1site-B(config)#exitsite-B#wr memถ้าการคอนฟิกและการเชื่อมต่อไม่มีปัญหาก็จะทำให้ site ทั้งสองสามารถติดต่อกันกันได้ การทดสอบก็สามารถทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง ping ครับ การดูค่าของ routingการดูค่า routing ที่ router A ให้ใช้คำสั่งดังนี้ :site-A#show ip routeก็จะมีค่าความหมายของตัวย่อต่าง ๆ แสดงขึ้นมาหลายค่าครับ แต่ในส่วนท้ายจะมีค่าแสดงดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.11.0/24 is directly connected, 192.168.11.1S 192.168.12.0/24 [1/0] via 192.168.0.2C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.1-----------------------------------------------------------------------------C หมายถึง connected, S หมายถึง static ครับการดูค่า routing ที่ router B ให้ใช้คำสั่งดังนี้ :site-B#show ip routeก็จะมีค่าความหมายของตัวย่อต่าง ๆ แสดงขึ้นมาหลายค่าเช่นกันครับ แต่ในส่วนท้ายจะมีค่าแสดงดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.2S 192.168.12.0/24 is directly connected, 192.168.12.1C 192.168.11.0/24 [1/0] via 192.168.0.1-----------------------------------------------------------------------------C หมายถึง connected, S หมายถึง static ครับอธิบายเพิ่มเติมผมจะขออธิบายเฉพาะส่วนที่สำคัญเท่านั้นนะครับ ซึ่งจากการคอนฟิกที่ผ่านมามีจุดที่เป็นหัวใจสำคัญอยู่จุดหนึ่ง ขอให้ดูตัวอย่างการคอนฟิกที่เราเตอร์ A ก่อนนะครับ ถ้าเราดูรูปแล้วจะเห็นว่าเครือข่ายของ site-A นั่นคือเครือข่ายแลน 192.168.11.0/24 มีความต้องการที่จะต้องติดต่อไปยังเครือข่ายแลน 192.168.12.0/24 ของ site-B วิธีการที่จะทำให้ติดต่อกันได้คือการทำ ip route ซึ่งคำสั่งของ ip route เป็นดังนี้ครับ#ip route เครือข่ายปลายทางที่ต้องการติดต่อด้วย ผ่านไปทางพอร์ตไหนโดย "เครือข่ายปลายทางที่ต้องการติดต่อด้วย" ก็ให้ระบุ ip พร้อมกับ subnetmask ของเครือข่ายนั้น ส่วน "ผ่านไปทางพอร์ตไหน" ก็ให้ระบุ ip ของ wan ฝั่งตรงข้ามครับ ดังนั้น ที่เราเตอร์ A จึงได้เป็น :site-A(config)#ip route 192.168.12.0 255.255.255.0 192.168.0.2ส่วยที่เราเตอร์ B ก็ใช้หลักการเดียวกันครับและเมื่อดูค่า routing ด้วยการใช้คำสั่ง show ip route แล้ว ค่าของเราเตอร์ A จะเป็นดังที่กล่าวมา (ให้ย้อนกลับไปดูค่า routing ของเราเตอร์ A) ซึ่งทั้ง 3 บรรทัดมีความหมายดังนี้ครับ :บรรทัดที่ 1 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่ายแลน 192.168.11.0/24 โดยเชื่อมต่อผ่านพอร์ต e0บรรทัดที่ 2 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อกับเครือข่ายแลนฝัง site-B คือ192.168.12.0/24 โดยเชื่อมผ่านพอร์ต wan ของฝั่งตรงข้าม ซึ่งค่า S ข้างหน้าหมายถึง เป็นการเชื่อมต่อผ่านการทำเราติ้งแบบ Static routeบรรทัดที่ 3 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่าย wan 192.168.0.0/30 โดยเชื่อมต่อผ่านพอร์ต wan ของตัวเอง
กรณีที่ 2 การเชื่อมต่อแบบ Point to Point โดยมีจำนวน Site เป็น 2 sites ทำ Routing แบบ RIP และ encapsulation เป็น pppรูปแบบในการเชื่อมต่อเครือข่ายนั้น ให้ใช้เหมือนกับรูปที่ 1 ทุกประการครับ โดยการคอนฟิกในกรณีนี้จะเหมือนกับกรณี 1 ทุกอย่างยกเว้น ไม่มีการใช้คำสั่ง ip route แต่ให้เปลี่ยนไปใช้คำสั่ง router และคำสั่ง network แทนเพื่อกำหนดให้ routing protocol เป็น rip การคอนฟิกที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Asite-A(config)#int s0site-A(config-if)#ip address 192.168.0.1 255.255.255.252site-A(config-if)#bandwidth 128site-A(config-if)#encapsulation pppsite-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#int e0site-A(config-if)#ip address 192.168.11.1 255.255.255.0site-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#router ripsite-A(config-router)#network 192.168.0.0 255.255.255.252site-A(config-router)#network 192.168.11.0 255.255.255.0site-A(config-router)#exitsite-A(config)#exitsite-A#wr memที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Bsite-B(config)#int s0site-B(config-if)#ip address 192.168.0.2 255.255.255.252site-B(config-if)#bandwidth 128site-B(config-if)#encapsulation pppsite-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#int e0site-B(config-if)#ip address 192.168.12.1 255.255.255.0site-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#router ripsite-B(config-router)#network 192.168.0.0 255.255.255.252site-B(config-router)#network 192.168.12.0 255.255.255.0site-B(config-router)#exitsite-B(config)exitsite-B#wr memถ้าการคอนฟิกและการเชื่อมต่อไม่มีปัญหาก็จะทำให้ site ทั้งสองสามารถติดต่อกันกันได้ การทดสอบก็สามารถทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง ping ครับ การดูค่าของ routingการดูค่า routing ที่ router A ให้ใช้คำสั่งดังนี้ :site-A#show ip routeก็จะมีค่าความหมายของตัวย่อต่าง ๆ แสดงขึ้นมาหลายค่าครับ แต่ในส่วนท้ายจะมีค่าแสดงดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.11.0/24 is directly connected, 192.168.11.1C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.1R 192.168.12.0/24 [120/10] via 192.168.0.2, 00:00:33, Serial0 -----------------------------------------------------------------------------C หมายถึง connected, R หมายถึง RIP ครับการดูค่า routing ที่ router B ให้ใช้คำสั่งดังนี้ :site-B#show ip routeก็จะมีค่าความหมายของตัวย่อต่าง ๆ แสดงขึ้นมาหลายค่าเช่นกันครับ แต่ในส่วนท้ายจะมีค่าแสดงดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.2C 192.168.12.0/24 is directly connected, 192.168.12.1 R 192.168.11.0/24 [120/10] via 192.168.0.1, 00:00:18, Serial0 -----------------------------------------------------------------------------C หมายถึง connected, R หมายถึง RIP ครับอธิบายเพิ่มเติมขออธิบายเฉพาะการทำเราติ้งแบบ rip ของ site-A นะครับ เช่นเดียวกันกับกรณีที่ 1 ครับ เครือข่ายแลนทาง site-A คือเครือข่าย 192.168.11.0/24 จะมีความต้องการติดต่อไปยังเครือข่ายแลนคือเครือข่าย 192.168.12.0/24 ของ site-B วิธีการที่จะให้ติดต่อได้ก็คือการทำ routing ที่เราเตอร์ครับ สำหรับกรณีนี้เลือกการทำ routing แบบ rip ดังนั้นที่เราเตอร์ A จึงต้องใช้คำสั่งดังนี้ :site-A(config)#router ripหลังจากนั้นก็ให้ใช้คำสั่ง network ซึ่งมีรูปแบบดังนี้ครับ :#network เครือข่ายที่เชื่อมต่อติดกันโดย "เครือข่ายที่เชื่อมต่อติดกัน" กับ site-A มี 2 เครือข่าย คือเครือข่าย 192.168.0.0/30 กับเครือข่าย 192.168.11.0/24 ดังนั้นการทำ routing ที่เราเตอร์ A จึงเป็นดังนี้ :site-A(config)#router ripsite-A(config-router)#network 192.168.0.0 255.255.255.252site-A(config-router)#network 192.168.11.0 255.255.255.0หลังจากที่ทำการประกาศคำสั่งดังกล่าวแล้ว เราเตอร์ทั้งสองจะมีการเรียนรู้กันเองว่า เราเตอร์ที่ตัวเองติดต่ออยู่ด้วยมีการเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายอะไรบ้าง จึงทำให้เราเตอร์ทั้งสองมีข้อมูลเครือข่ายของทั้งที่ติดต่อโดยตรงกับตัวเอง และเครือข่ายที่ติดต่ออยู่กับเราเตอร์อีกตัวได้ ซึ่งที่เราเตอร์ A จะมีค่า routing เป็นดังนี้ :-----------------------------------------------------------------------------C 192.168.11.0/24 is directly connected, 192.168.11.1C 192.168.0.0/30 is directly connected, 192.168.0.1R 192.168.12.0/24 [120/10] via 192.168.0.2, 00:00:33, Serial0 -----------------------------------------------------------------------------บรรทัดที่ 1 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่ายแลนของตัวเองคือ 192.168.11.0/22 โดยเชื่อมต่อผ่าน e0 ของตัวเองบรรทัดที่ 2 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่าย wan คือ 192.168.0.0/30 โดยเชื่อมต่อผ่าน s0 ของตัวเองบรรทัดที่ 3 หมายถึง เราเตอร์ A เชื่อมต่อกับเครือข่ายแลนของ site-B คือ 192.168.12.0/24 โดยเชื่อมต่อผ่าน พอร์ต wan ฝั่งตรงข้าม โดยการทำเราติ้งแบบ rip (R)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น