วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา

สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา[1] หรือ เอฟบีไอ (อังกฤษ: Federal Bureau of Investigation; FBI) เป็นส่วนราชการประเภทกองแห่งสหรัฐอเมริกา มีขอบเขตในการทำงานในแต่ละสมัยแตกต่างกันและไม่ตายตัวไปตามสถานการณ์ขณะนั้น เช่น สมัยสงครามโลกเน้นคดีจารกรรม ยุคถัดมาเน้นคดีอันธพาลครองเมือง ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2เน้นคดีเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ ต่อมาเน้นคดีอาชญากรรมด้านการเงิน และปัจจุบันเน้นอาชญากรรมระหว่างประเทศ การก่อการร้าย คดียาเสพติด และการฟอกเงิน
ประวัติ
สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 โดยนายชาร์ลส์ โบนาปาร์ด อธิบดีกรมยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์ เมื่อแรกได้ชื่อว่า "หน่วยเฉพาะกิจแห่งกรมยุติธรรม" (Special Agents of Department of Justice) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนและเจ้าหน้าที่การข่าวชั้นดี และมีการแบ่งส่วนราชการเป็นยี่สิบสี่ฝ่าย
ปีถัดมา เมื่อนายจอร์จ วิกเคอร์แมนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมยุติธรรมคนใหม่ ก็ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยฯ เป็นสำนักงานสอบสวน (Bureau of Investigation) มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนคดีเกี่ยวกับการฉ้อโกง
กระทั่ง พ.ศ. 2453 เมื่อมีการประกาศใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยทาสผิวขาว สำนักงานฯ ก็ได้มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนครอบคลุมถึงคดีอาชญากรรม จากนั้นได้มีการขยายขอบเขตการทำงาน โดยมีหน่วยงานย่อยมากกว่าสามร้อยฝ่าย มีสำนักงานสาขาในรัฐต่าง ๆ จนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ก็ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่ออย่างในปัจจุบัน
เจ้าหน้าที่นำสืบของสำนักงานฯ จะต้องเข้ารับการฝึกจากวิทยาลัยสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI National Academy) เสมอไป เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามที่ประสงค์

มารู้จักกับ FBI (เอฟบีไอ)
ดูเท่ไหม?.. เวลาที่ตำรวจในหนังฮอลลีวูดพูดว่า.. "หยุดอย่าขยับนี่เจ้าหน้าที่ FBI"
เจ้าหน้าที่ FBI ก็คือตำรวจประเภทหนึ่ง แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าเจ้าหน้าที่ FBI
คือตำรวจอะไร?
FBI นั้นย่อมาจาก Federal Bureau of In vestigation เป็นหน่วยสืบสวน
คดีอาญาของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908
ชื่อเดิมคือ Bureau of Investigation

ในปี ค.ศ. 1924 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานขึ้นใหม่ และได้กำหนดนโยบาย
ของหน่วยงานที่ชัดเจนขึ้น และในปี ค.ศ. 1935 เปลี่ยนชื่อเป็น Federal Bureau
of In vestigation (ซื่อเดียวกับปัจจุบัน)
ีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C.) และยังมี
สำนักงานอยู่ตามเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีก 58 แห่ง ทั่วสหรัฐอเมริกา
และเปอร์โตริโก
หน้าที่หลัก คือ สอบสวน และสืบสวนคดีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เช่น การละเมิด
กฏหมายของรัฐบาลกลาง การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย เป็นต้น
เอฟบีไอมีหน่วยรวบรวมรูปพรรณบุคคล (Identification Division) และได้ตั้ง
ระบบรายงานอาชญากรรม (Criminal Report System) ซึ่งเน้นการนำหลัก
วิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสืบสวน สอบสวน และหาพยานหลักฐาน นอกจากนั้น ยังม
ีห้องปฏิบัติการทางด้านเคมีเพื่อใช้ในการพิสูจน์หลักฐานประกอบการสืบสวนอีกด้วย
ต่อมา ขอบเขตอำนาจของเอฟบีไอได้ขยายมากขึ้น
ตามความเจริญก้าวหน้าของโลกปัจจุบัน เพราะ..
เมื่อผู้ก่อการร้ายใช้วิธีใหม่ๆ ในการก่อความไม่สงบ
FBI ก็ต้องพัฒนาให้ทันเพื่อการต่อกร จึงนับว่า
เป็นองค์กรที่ต้องเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
เพื่อความสงบสุขของประชาชนสหรัฐอเมริกา
ย่อมาจาก Federal Bureau of Investigation สำนักงานสอบสวนกลางแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดยนายชาร์ลส์ โบนาปาร์ด รมว.ยุติธรรมและประธานาธิบดีธิวดอร์ รูสเวลต์ เมื่อ 26 ก.ค. 1908 ในนาม Special Agents of Department of Justice (หน่วยงานเฉพาะกิจแห่งกระทรวงยุติธรรม)
รูสเวลต์และโบนาปาร์ตรู้จักกันก่อนหน้าที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญของประเทศ โดย 6 ปีก่อนการก่อตั้งนั้นทั้งสองเป็นสมาชิกของคณธกรรมการปฏิรูปหน่วยงานด้านพลเรือน Civil Service Reform ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวอเมริกันเรียกร้องให้รัฐบาลปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โดยให้มีคนที่เป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” เข้ามาร่วมในกระบวนการด้วย
เมื่อรูสเวลต์ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐก็แต่งตั้งโบนาปาร์ตเป็นรมว.ยุติธรรม จากนั้นโบนาปาร์ตก็เริ่มปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ออกกฎหมายแยกอำนาจของกระทรวงยุติธรรมออกจากหน่วยงานด้านข่าวกรอง Secret Service และจัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจสังกัดกระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ ซึ่งนั่นก็คือเอฟบีไอในเวลาต่อมา ทั้งนี้ในช่วงต้นๆเอฟบีไอก็ได้อดีตเจ้าหน้าที่สืบส่วนและเจ้าหน้าที่สืบข่าวลับฝีมือดีมาเป็นทีมงานสำคัญและตอนนั้นหน่วยงานก็แบ่งเป็น 24 แผนก
ต่อมาในปี 1909 จอร์จ วิกเคอร์แมน ซึ่งก้าวขึ้นมาเป็นรมว.ยุติธรรมคนใหม่ได้เปลี่ยนชื่อกองกำลังเฉพาะกิจนี้เป็นสำนักงานสืบสวนสอบสวน Bureau of Investigation มีหน้าที่สืบสวนคดีที่ผู้ต้องหาละเมิดกฎหมาย ไม่ว่าโกงแบงก์ โกงที่ดิน โกงทรัพย์ จนกระทั่ง 1 ปี ต่อมาเมื่อพ.ร.บ.ทาสผิวขาวผ่านสภา เอฟบีไอก็มีอำนาจสืบสวนคดีอาชญากรรม จากนั้นไม่กี่ปี เอฟบีไอก็ขยายขอบเขตงานและหน่วยงานย่อยมากกว่า 300 แผนก มีสำนักงานตามรัฐต่างๆ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2475 เปลี่ยนชื่อเป็นเอฟบีไออย่างเป็นทางการ
ขอบเขตงานของเอฟบีไอแต่ละสมัยจะแตกต่างกันไม่มีตายตัว เพราะงานประเภทนี้ต้องเป็นงานที่ทันสังคมอย่างสมัยสงครามโลกก็เน้นคดีจารกรรม พอถึงยุคต่อมาก็เน้นคดีอันธพาลครองเมือง สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เน้นคดีสอบองค์กรคอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ ต่อมาก็เน้นคดีอาชญากรรมการเงิน พอยุคปัจจุบันก็เน้นคดีอาชญากรรมข้ามประเทศ ผู้ก่อการร้าย ยาเสพติดและฟอกเงิน
สำหรับนักสืบเอฟบีไอนั้นจะมาจากตำรวจที่เข้าฝึกที่สถาบัน FBI National Academy เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าการสืบสวนสอบสวนคดีฆาตกรรม คดีการเงิน คดีก่อการร้าย ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น