วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเชื่อมต่อฐานข้อมูล

การเชื่อมต่อฐานข้อมูลและจัดการกับฐานข้อมูล
หัวข้อ (Topic):
11.1 การสร้างฐานข้อมูลและกำหนดไดรเวอร์ (Setting Up Your Resources)
11.2 การเข้าถึงฐานข้อมูล (Connecting to Databases)
11.3 การจัดการฐานข้อมูล (Managing to Database)
11.4 คำสั่งเอสคิวแอล (SQL Command)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective):
1. สามารถสร้างฐานข้อมูลและกำหนดไดรเวอร์เพื่อทำงานกับฐานข้อมูลได้
2. สามารถเชื่อมต่อการทำงานกับฐานข้อมูลได้
3. สามารถเขียนชุดคำสั่งในการจัดการกับฐานข้อมูลได้
4. อธิบายรูปแบบการใช้งานคำสั่ง SQL ได้
จากเนื้อหาในบทที่แล้ว เราได้ทราบถึงการใช้งาน Swing Package ซึ่งบรรจุคลาสของ Component ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ที่ใช้ในการสร้างการเชื่อมต่อการทำงานกับ User แน่นอนว่าจุดประสงค์ของการทำงานกับโปรแกรมนั้นก็คือเรื่องของข้อมูล หากเราทำการสร้างแบบฟอร์มสำหรับรับค่าข้อมูลจากจาก User แล้วเก็บข้อมูลในตัวแปร ก็จะเป็นการเก็บข้อมูลเพียงชั่วขณะเท่านั้น ดังนั้นหากเราต้องการจัดเก็บข้อมูลอย่างมั่นคงและถาวร ก็ต้องมีการเก็บลงในฐานข้อมูล (Database) ซึ่งในบทนี้ จะขอแนะนำให้ทราบถึงวิธีการใช้ NetBeans ทำงานร่วมกับฐานมูล
11.1 การสร้างฐานข้อมูลและกำหนดไดรเวอร์ (Setting Up Your Resources)
แน่นอนประเภทของฐานข้อมูลนั้นมีหลายประเภท แต่ฐานข้อมูลประเภทที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันก็คือฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ฐานข้อมูลประเภทนี้ทำให้คุณสามารถะเชื่อมโยง (Link) ข้อมูลแบบหลายต่อหลายได้ (Many-to-Many) แต่นับจากปัจจุบันถึงอนาคตฐานข้อมูลประเภทนี้จะถูกแทนที่ด้วยฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object Database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลหลากประชนิด ทั้งข้อความ (Text) ภาพ(Image) เสียง (Voice) และมัลติมิเดีย (Multimedia) นอกจากนี้การทำงานกับฐานข้อมูล คุณจำเป็นต้องเลือกโปรแกรมฐานข้อมูลและโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (DBMS: Database Management System) ที่มีความเหมาะสมกับกับระบบ อีกทั้งคำนึงถึงค่าใช้จ่าย (Cost) ในการลงทุนเลือกซื้อ Software เหล่านี้อีกด้วย ว่าโปรแกรมฐานข้อมูลนั้น และสำหรับภาษา Java จัดเป็นโปรแกรม DBMS ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ทำให้เราสามารปรับปรุง (Update) ฐานข้อมูลได้ และ Java นั้นก็สามารถเชื่อมการทำงานกับฐานข้อมูลได้หลากหลายชนิด อาทิเช่นฐานข้อมูล Access, Oracle และ MySQL เป็นต้น และในที่นี้จะขอแนะนำวิธีการเชื่อม Java กับฐานข้อมูล Accesss เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลขนาดเล็ก และคาดว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านคงมีโปรแกรม MS-Access ติดตั้งพร้อมแล้ว ไม่ต้องค้นหาโปรแกรมอื่นเพิ่มเติม คงทำให้สะดวกและง่ายในการทำงานมากยิ่งขึ้น
การสร้างฐานข้อมูล
ให้เริ่มสร้างฐานข้อมูลใน Access ก่อนตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
การเข้าใช้งานโปแกรม MS-Access และการสร้างฐานข้อมูล
1. Start > All Programs > Microsoft Access
2. เลือก Blank Database ที่แถบด้านขวามือ ดังรูป
การสร้างตาราง (Table)
ก่อนเริ่มสร้างตารางในการจัดเก็บข้อมูลมีความจำเป็นต้องออกแบบและกำหนดโครงสร้างของตาราง ซึ่งหลักการออกแบบ Table ภายใน database ต้องอาศัยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง table และต้องทำการจัดบรรทัดฐานของ database (Normalization) เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลตามหลักวิชา ฐานข้อมูล ในที่นี้สมมติว่า เราจะสร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บบุคคล (Personal) จะขอยกตัวอย่างข้อมูลจำนวนไม่มากเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ
การกำหนดโครงสร้างของตาราง (Table Structure)
ทำการกำหนดโครงสร้างของตาราง ดังนี้
ชื่อตาราง (Table) : personal
ลำดับ
(Number) ชื่อ Field
(Field Name) ชนิดข้อมูล
(Data Type) ความกว้าง
(Field Size) อธิบาย
(Description)
1 id Text 4 รหัสพนักงาน
2 name Text 25 ชื่อพนักงาน
3 last_name Text 25 นามสกุล

เริ่มสร้างตาราง
1. เลือกป้าย Table ในแถบด้านซ้าย > เลือก Create table in Design view เพื่อกำหนดโครงสร้างตารางด้วยตัวคุณเอง
2. ทำการกำหนด Field ลงในตารางตามที่ได้ออกแบบไว้ ดังรูป
การกำหนด Primary Key
เมื่อกำหนดโครงสร้างของตารางเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะออกจากหน้าต่างนี้
เพื่อเข้าสู่การป้อนข้อมูล คุณจำเป็นต้องทำการกำหนดคีย์หลักของตาราง (Primary key) ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะนิยมกำหนดให้ 1 Table ใช้ primary key 1 ตัวเท่านั้น แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป สามารถมี primary key มากกว่า 1 ตัวได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะข้อมูลในตาราง โดยคุณสมบัติหลัก ๆ ของ Field ที่เราจะเลือกใช้เป็น primary key นั้น จะเป็น Field ที่เก็บข้อมูลไม่ซ้ำกัน(unique) โดยมากนิยมใช้ข้อมูลรหัส เป็น primary key (ควรศึกษาเพิ่มในวิชาฐานข้อมูล) และการกำหนด primary key มีขั้นตอนดังนี้
1. Click ขวาที่หัวแถวของ Field “id” > เลือก Primary key > จะมีรูปกุญแจปรากฎขึ้น ให้ดูภาพตัวอย่างได้จากด้านบน
การป้อนข้อมูลในตาราง Data Sheet
สามารถป้อนข้อมูลในตารางได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. Click ปุ่ม Close ที่มุมขวามือที่ปิดหน้าต่างของตาราง > จะปรากฏ
dialog ถามว่าคุณต้องการ Save ตารางหรือไม่ ให้ตอบ Yes และระบุชื่อตารางที่ต้องการ Save
3. จากนั้นจะปรากฎชื่อตาราง “Personal” ที่หน้าต่างของ database > ให้
Double click ที่ชื่อตาราง “Personal” เพื่อเปิดตารางขึ้นมาสำหรับป้อนข้อมูล
คุณสามารถสลับการทำงานไปมาระหว่างหน้าต่างป้อนข้อมูล (Data Sheet) กับ
หน้าต่างโครงสร้างของตาราง (Table Structure) ได้ โดยใช้ปุ่ม View ที่มุมบนซ้ายมือ ดังรูป
ถ้าคุณอยู่ในหน้าต่างโครงสร้างของตาราง (Table Structure) แล้วต้องการสลับไป
ยังหน้าต่าง Data Sheet ปุ่ม View จะเปลี่ยนสถานะจากรูปดินสอ เป็นรูป
- การแก้ไขโครงสร้างของตาราง
1. เมื่ออยู่ในหน้าต่าง Database > Click ขวาที่ชื่อตาราง “Personal” > เลือก
Design View
กำหนดไดรเวอร์ (Driver)
คุณสามารถเข้ากำหนด Driver เพื่อทำงานร่วมกับฐานข้อมูล Access ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. Start > Control Panel > Administrative Tools > Data Sources (ODBC)
2. เลือกป้าย System DSN > Add > Microsoft Access Driver (*.mdb) > Finish
3. จะปรากฏหน้าจอ dialog ให้กำหนดชื่อ Driver > พิมพ์ชื่อ Driver ที่ต้องการลงในช่อง Data Source Name ดังรูป (หมายเลข 2) ตั้งชื่อ Driver ชื่อ Testjava
4. จากนั้น click ปุ่ม Select เพื่อเข้าไปเลือกฐานข้อมูลที่ต้องการใช้ (ตามรูปหมายเลข 3) > ให้ค้นหาที่อยู่ของ Database โดยทำงานตามขั้นตอนหมายเลข 4-7
5. จะกลับเข้าสู่หน้าจอ ดังรูป > ให้ click ปุ่ม OK
6. จากนั้นจะกลับสู่การทำงานของป้าย System DSN และปรากฎชื่อ Driver “testjava” ตามที่ได้กำหนดไว้ > คุณสามารถ click ปุ่ม Configure เพื่อย้อนกลับไปแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงรายการฐานข้อมูลที่เลือก
7. เมื่อกำหนดข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ต้องการจบการทำงานให้ click ปุ่ม Apply > OK

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น