วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความหมายของข้อมูล (data) สารสนเทศ (Information) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

ความหมายของข้อมูล (data) สารสนเทศ (Information) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้โลกเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ (Information) มีความจำเป็นทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องอาศัยสารสนเทศเข้ามาช่วยในการตัดสินใจ (Make decision) การตัดสินใจเป็นกิจกรรมที่สำคัญจะต้องตัดสินใจให้ถูกต้องและรวดเร็ว การตัดสินใจที่ล่าช้าจะก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย อาจทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการแข่งขันหรือการแก้ปัญหาในระดับชาติ (ประสงค์ ปราณีตาพลกลังและคณะ : 2541 : 1) จากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าสารสนเทศ (Information) เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งในยุคของสังคมโลกปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นยิ่ง ที่นักการศึกษาในฐานะที่จะต้องเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้แก่ผู้อื่น จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสารสนเทศ เมื่อกล่าวถึงสารสนเทศ (Information) สิ่งแรกที่ควรจะต้องกล่าวถึงก็คือ ข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นพื้นฐานของสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ข้อมูลจึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw data) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฎการณ์การกระทำหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ หรือพืช แล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพหรือเสียง (อ้างใน วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา : 2542 : 1)

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่นำมาสรุปประมวลผล ดำเนินการทางสถิติ เปรียบเทียบหรือดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้เข้าใจความเป็นไปหรือสถานการณ์ของสิ่งที่มีสารสนเทศนั้นเป็นตัวแทน (ครรชิต มาลัยวงศ์ : 1998 : 20) วาสนา สุขกระสานติ ใน (2541 : 6-1) ได้ให้ความหมายของคำว่า สารสารเทศ (Information) ว่าหมายถึง "ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (Raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที" ครรชิต มาลัยวงศ์ (1998:20) ได้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีกลุ่มหนึ่งที่มีประโยชน์ในการจัดทำสารสนเทศและส่งสารสนเทศนั้นให้ถึงมือผู้รับ วศิน ธูปประยูร (อ้างในสานิตย์ กายาผาด : 2542 : 2) กล่าวว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องประมวลผลคำ และเครื่องที่สามารถประมวลผลได้โดยอัตโนมัติอื่น ๆ เครื่องสมองกลเหล่านี้เป็นนวัตกรรมของมนุษย์ที่สร้างสรรขึ้นมา เพื่อรวบรวมผลิตสื่อสาร บันทึก เรียบเรียงใหม่แสดงผลประโยชน์จากสารสนเทศ" มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (อ้างในสานิตย์ กายาผาด : 2542 : 3) กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศว่าหมายถึง "เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เริ่มจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผลและเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความหมายและเรื่องโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม" วาสนา สุขกระสานติ (2541:6-1) ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศว่า หมายถึง "กระบวนการต่าง ๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง 1) เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากแล้วจะหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ รวมทั้งซอฟแวร์ทั้งแบบสำเร็จรูป และแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือสมัยใหม่และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology) 2) กระบวนการในการนำเอาเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้งาน เพื่อรวบรวมจัดเก็บ ประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป พิจารณาจากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น เมื่อมองสภาพวิวัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม มีบทบาทเป็นอย่างมากสำหรับโลกแห่งข้อมูลสารสนเทศในปัจจุบัน ครรชิต มาลัยวงศ์ (1998:20) กล่าวถึงยุคก่อนคอมพิวเตอร์ว่า "ไอ ที หมายถึง เทคโนโลยีการพิมพ์ กล้องถ่ายรูป เครื่องพิมพ์ดีด โทรเลขและโทรศัพท์ พอมาถึงยุคนี้ นักวิชาการหลายคนพอใจที่จะให้คำนิยามไอที ให้เหลือเพียงเป็นการผสมผสานกัน ระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม และบางคนไปไกลถึงกับขอเปลี่ยนชื่อเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ว่าเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication Technology) เรียกย่อ ๆ ว่า ICT" นอกจากนี้แล้ว ครรชิต มาลัยวงศ์ ยังวิเคราะห์ต่อไปว่าหากจะแยกย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศออกเป็นส่วน ๆ แล้ว จะเห็นว่า คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับจัดเก็บบันทึกและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ หรือจัดทำเป็นรายงานต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ แต่เมื่อจัดทำแล้วไม่สามารถส่งไปยังผู้ต้องการใช้อย่างรวดเร็ว รายงานเหล่านี้ก็ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาช่วยให้สามารถส่งสารสนเทศ หรือรายงานที่จัดทำขึ้นนั้นไปยังผู้รับได้โดยตรงและทันที จากคำจำกัดความดังกล่าวของข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) แล้ว พอจะจัดความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ส่วน ได้ดังนี้



แผนภาพที่ 30 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ


ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้งาน ซึ่งในส่วนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น การนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อการนำเข้าสู่การประมวลผลข้อมูล ไปสู่ผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตัดสินใจ การเรียนรู้ ธุรกิจ หรือเพื่อความบันเทิง
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้งาน

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้งาน

ระบบสารสนเทศ (Information System) ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย (2540:65) ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบสารสนเทศ (Information System) ว่า หมายถึง "ระบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม จัดเก็บและใช้สารสนเทศสนองความต้องการของหน่วยงาน ทั้งนี้โดยมีภารกิจของการจัดอย่างเป็นระบบ" โดยได้แสดงแผนภาพระบบสารสนเทศ ดังนี้

จากแผนภาพแสดงให้เห็นว่าข้อมูลซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้า
(1) เมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลหรือการวิเคราะห์แล้ว
(2) ก็จะเป็นสารสนเทศหรือผลลัพธ์
(3) ซึ่งผู้ใช้สารสนเทศหรือผู้บริหาร
(4) จะนำไปประกอบในการตัดสินใจ
(5) และผลลัพธ์จากการตัดสินใจ
(6) ก็ยังสามารถเป็นข้อมูล ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจในครั้งต่อไป
การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ซีดี-รอม

การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ซีดี-รอม

ซีดี-รอม (CD-ROM = Coppact Disc-Read Only Memory) เป็นแผ่นโลหะวงกลมเคลือบเงาขนาดเล็กทำมาจากโลหะผสมรุ่นใหม่ที่เรียกว่าอะมอฟัสอัลลอย ซึ่งเป็นส่วนผสมของโคบอลท์เหล็กและนิเกิ้ล มีคุณสมบัติแข็งแกร่ง ทนทานไวต่อสนามแม่เหล็กและมีกระแสไฟฟ้าบรรจุอยู่ แผ่นซีดีจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว หรือ 12 เซนติเมตร จุข้อมูลได้ขนาด 250,000 หน้าหนังสือหรือ 600 ล้านตัวอักษร เทียบกับแผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy disk) จำนวน 1,500 แผ่นหรือประมาณ 540-600 เมกกะไบท์ การอ่านแผ่นซีดี-รอม ทำด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Beam) การใช้งานแผ่นซีดี-รอม จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวซีดี-รอม (CD-ROM Drive) ซึ่งมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความเร็วในการทำงาน ซีดี-รอมไดรฟ์รุ่นแรกสุดจะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบท์ต่อวินาที เรียกว่ามีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1X ซีดีรอมรุ่นหลัง ๆ จะอ้างอิงความเร็วในการอ่านข้อมูล จากรุ่นแรก เช่น ความเร็ว 2 เท่า (2X) หรือความเร็ว 4 เท่า (4X) เป็นต้น ข้อจำกัดของซีดีรอมคือสามารถบันทึกได้เพียงครั้งเดียวด้วยเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น จากนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ ซีดีรอมได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันสำหรับเก็บข้อมูลสำหรับการอ่านอย่างเดียวเป็นอย่างมาก เช่น ซอฟแวร์ เกมส์ ปทานุกรม แผนที่โลก หนังสือ เพลง ภาพยนตร์ ต้นทุนถูกกว่าดิสก์เกตต์มาก ปัจจุบันมีแผ่นซีดี-รอมที่สามารถบันทึกได้เรียกว่า ซีดี-อาร์ (CD-R = CD - Recordable) โดยแผ่นจะมีสีทองในขณะที่แผ่นซีดีธรรมดาจะมีสีเงินโดยบันทึกแผ่นด้วย ซีดี-อาร์ไดรฟ์ (CD-R Drive) ซึ่งอ่านแผ่นซีดีปกติได้ด้วย แต่มีราคาสูงกว่าซีดี-รอมไดรฟ์ปกติมาก

วอร์มซีดี (WORM CD หรือ Write Once Read Many CD) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หนึ่งครั้ง สามารถใช้อ่านกี่ครั้งก็ได้ ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้อีก จุข้อมูลได้ตั้งแต่ 600 เมกกะไบท์ จนถึงมากกว่า 3 จิกะไบท์ ต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกับที่บันทึก ทำให้การใช้งานแคบมักนิยมนำมาใช้ในการเก็บสำรองข้อมูลเท่านั้น

เอ็มโอดิสก์ (MO หรือ Megneto Optical Disk) เป็นระบบใช้หลักการของสื่อที่ใช้สารแม่เหล็กเช่น ฮาร์ดดิสก์กับออปติคัลดิสก์ เข้าด้วยกัน ใช้แสงเลเซอร์ช่วยในการบันทึกและอ่านข้อมูล ทำให้สามารถอ่านและบันทึกแผ่นกี่ครั้งก็ได้คล้ายฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายแผ่นได้คล้ายฟลอปปี้ดิสก์ มีความจุมากคือตั้งแต่ 200 MB ขึ้นไป มีความเร็วสูงกว่าฟลอปปี้ดิสก์ และซีดีรอม

ดีวีดี (DVD หรือ Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีล่าสุดโดยสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 จิกะไบท์ทำให้สามารถพอเพียงที่จะบันทึกภาพยนตร์เต็มเรื่องได้ที่มีคุณภาพสูงสุดทั้งภาพและเสียง ในขณะที่ CD-ROM หรือ Laser Disk ในปัจจุบันต้องใช้หลายแผ่นในการเก็บบันทึกภาพยนตร์ 1 เรื่อง
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล (Data Transmission Channels)
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล (Data Transmission Channels)
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล (Data Transmission Channels) ดังกล่าวในตอนต้นว่าสารสนเทศแม้มีระบบในการจัดเก็บที่ดีถูกต้องเพียงไร แต่ถ้าหากไม่สามารถที่จะนำมาใช้หรือส่งข้อมูลออกไป เพื่อการใช้งานได้สะดวกสารสนเทศดังกล่าวก็ไม่มีความหมาย ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงจำเป็นต้องมีระบบโทรคมนาคมที่ดี ที่จะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูล โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันอยู่ในรูปของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่นำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย สิ่งที่สำคัญนอกจากตัวคอมพิวเตอร์แล้วก็คือช่องทางหรือสื่อกลาง (Media) ในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งปัจจุบันมีมากมายหลายแบบ และแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ในบางครั้งการใช้งานจริงสามารถใช้ช่องทางมากกว่าหนึ่งช่องทางพร้อม ๆ กัน ช่องทางในการสื่อสารข้อมูลอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบคือ
1. ระบบเดินสายเคเบิล (Wired System)
2. ระบบไมโครเวฟ (Microwave System)
3. ระบบดาวเทียม (Satellite System)
4. ระบบอื่น ๆ

13.4.1 ระบบเดินสายเคเบิล (Wired System) เป็นสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด โดย แบ่งออกได้เป็น
1) สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลด์และไม่มีชีลด์ (Shielded and Unshielded Twisted-Pair Cable) ราคาถูกสุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้มจำนวน 2 เส้นมาพันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยปกติแล้วสายคู่บิดเกลียวจะหมายถึง สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์ (UTP) ซึ่งใช้ในการเดินสายโทรศัพท์และใช้ในระบบเครือข่ายระยะใกล้มาก ในขณะที่สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์ (STP) จะมีฉนวนโลหะหุ้มอยู่ภายนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น สายเกลียวคู่หนึ่งจะแทนช่องทางการสื่อสาร (Channel) ได้หนึ่งช่องทาง ซึ่งในการใช้งานจริงอาจรวมสาย จำนวนหลายร้อยคู่เข้าด้วยกันเป็นสายใหญ่ เพื่อสามารถใช้งานได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ระบบสายโทรศัพท์
2) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) มักเรียกสั้น ๆ ว่า สายโคแอก จะเป็น สายสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลไกลว่าสายแบบคู่บิดเกลียว แต่ราคาแพงกว่า ลักษณะสายจะประกอบด้วยส่วนของสายส่งข้อมูล ที่เป็นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนตรงกลาง จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำเพื่อเป็นสายกราวนด์ จากนี้จึงหุ้มด้วยฉนวนเป็นเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง สายโคแอกจะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์ ใช้งานมากในสายเคเบิลทีวี ปัจจุบันใช้น้อยลงกับระบบคอมพิวเตอร์ เพราะการพัฒนาของสายคู่บิดเกลียวสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น
3) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) สายใยแก้วนำแสง ประกอบด้วย ใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย และใช้ใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเป็นตัวหุ้ม (Cladding) และหุ้มด้วยฉนวนในชั้นนอกสุด ซึ่งใยแก้วชั้นนอกจะทำหน้าที่เหมือนกระจกที่สะท้อนสัญญาณแสง ให้สะท้อนไปมาภายในใยแก้วที่เป็นแกนกลาง จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดปลายทาง สายใยแก้วจะมีแบนด์วิธที่กว้างมาก ทำให้สามารถส่งข้อมูลปริมาณมากได้ด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้ยังส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกลกว่า และปลอดจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากใช้แสงเป็นตัวนำสัญญาณ แต่มีข้อเสียคือติดตั้งและบำรุงรักษายาก รวมทั้งมีราคาแพงที่สุดในสายทั้ง 3 ประเภท

13.4.2 ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) ระบบไมโครเวฟใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จาก สถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง เนื่องจากสัญญาณเดินเป็นเส้นตรง ดังนั้นสถานีจะต้องอยู่ในที่ สูง ๆ เพื่อที่จะส่งสัญญาณให้ได้ไกล และลดจำนวนสถานีที่รับสัญญาณได้ประมาณ 30-50 กิโลเมตร ปัจจุบันมีการใช้ระบบไมโครเวฟกันทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เดินสายไม่สะดวก นอกจากนี้ระบบไมโครเวฟยังมีราคาถูก ติดตั้งง่าย มีการส่งข้อมูลสูง แต่มีข้อเสียก็คือ สัญญาณอาจ ถูกรบกวนได้ง่ายจากอุณหภูมิ พายุหรือฝน
ทางเลือกของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

13.4.3 ระบบดาวเทียม (Satellite System) ระบบดาวเทียมจะคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ในแง่ของการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานีไปยังจุดหมายที่ต้องการ แต่ในการนี้จะมีดาวเทียม (Satellite) เป็นสถานีรับสัญญาณที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก 36,000 กิโลเมตร แล้วจึงยิงสัญญาณย้อนกลับ จากดาวเทียมลงมายังสถานีบนพื้นโลก ซึ่งการที่ดาวเทียมลอยอยู่สูงมาก จากพื้นโลกทำให้สามารถใช้ดาวเทียมเพียง 3 ดวง ก็สามารถยิงสัญญาณมาครอบคลุมพื้นที่บนโลกได้ทั้งหมด โดยสถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียม ที่ลอยอยู่เหนือพื้นที่ของตนเองเรียกว่า สัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นที่ของตนเองเรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-link) และดาวเทียมจะทำการตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง หากอยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมอยู่ก็จะทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีปลายทางทันทีเรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down link) หากสถานีปลายทางอยู่นอกขอบเขตสัญญาณ ดาวเทียมจะส่งต่อไปยังดาวเทียมดวงที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้น เพื่อส่งสัญญาณ Down link ต่อไป ปัจจุบันมีการใช้สัญญาณดาวเทียมอย่างแพร่หลาย ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ สัญญาณโทรทัศน์ รวมทั้งด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ข้อเสียที่สำคัญของระบบดาวเทียมคือถูกรบกวนได้ทั้งสภาพอากาศ ฝนหรือพายุ รวมทั้งตำแหน่งโคจรของดวงอาทิตย์ และข้อเสียอีกอย่างที่สำคัญคือ จะมีเวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ซึ่งทำให้ฝ่ายรับสัญญาณได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาจริง เนื่องจากสัญญาณต้องเดินทางไปกลับ จากสถานีภาคพื้นดินขึ้นไปยังดาวเทียมแล้วจึงส่งกลับมายังสถานีบนพื้นโลก
13.4.4 ระบบอื่น ๆ นอกจากระบบดังกล่าวแล้วยังมีระบบสื่อสารแบบไร้สายอื่น ๆ ที่นำมาใช้ใน การสื่อสารข้อมูล เช่น
1) ระบบอินฟราเรด (Infrared) เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับรีโมท คอนโทรลเครื่องรับโทรทัศน์ แต่มีข้อจำกัดตรงจะต้องไม่มีอะไรบังระหว่างกลางทำให้มีระยะทางรับส่งได้ไม่ไกลนัก
2) ระบบวิทยุ (Radio) จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ระบบนี้มีปัญหาในการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่
3) ระบบสเปคตรัมแถบกว้าง (Spread Spectrum) เป็นระบบคลื่นวิทยุที่พัฒนา โดยกองทัพสหรัฐระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนและการดักสัญญาณ ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่าย จำเป็นจะต้องเลือกรูปแบบของเครือข่ายที่จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนา จนสามารถรับส่งได้ด้วยความเร็วสูงถึง 10 Mbps และมีการใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กภายในอาคารเดียวกั
ทางเลือกของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Networking alternatives)
อรัญ นำผลและประสงค์ ปราณีพลกรัง (2541:138-140) กล่าวว่าเครือข่ายโทรคมนาคมจะมีอุปกรณ์นำเข้า/ส่งออก และหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่งล้วนประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์จากส่วนกลางเพื่อทำหน้าที่ประมวลผล โดยจะเรียกว่า คอมพิวเตอร์หลัก และแต่ละตำแหน่งจะเรียกว่า "จุด (Node)" เครือข่ายที่อยู่ภายในห้องเดียวกัน ตึกเดียวกัน เราจะเรียกว่า "เครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN)" แต่ถ้าเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงห่างกันเป็นพื้นที่กว้าง เช่น ระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ ทั่วทุกมุมโลก เราเรียกว่า "เครือข่ายบริเวณกว้าง [Wide Area Networks (WAN)]" แต่ถ้าเป็นเครือข่ายครอบคลุมภายในเมือง เราเรียกว่า "เครือข่ายบริเวณตัวเมือง" [Metropolitan Area Network (MAN)] อัตราการส่งข้อมูลของเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) จะมีความเร็วกว่าของเครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) ซึ่ง LAN โดยทั่วไปจะมีอัตราความเร็วระหว่าง 1-10,000,000 bps ในบางครั้งอาจมีความเร็วมากกว่า 100,000,000 bps แต่ถ้าเป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) จะต้องใช้ร่วมกับสายโทรศัพท์โดยจะมีความเร็วไม่เกิน 960 bps

เครือข่ายระบบโทรคมนาคม จะประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวกลางการสื่อสาร ตลอดจนซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำแนกออกได้หลายประเภทด้วยกันและขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ใช้ในการแบ่งด้วย โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่นิยมใช้กันมี 2 อย่างคือ (1) รูปร่าง (Topolygy) ของเครือข่าย (2) พื้นที่ครอบคลุมของเครือข่าย (Geographic scop) แผนภาพที่ 34 แสดงประเภทของเครือข่ายซึ่งต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ใช้ในการแบ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น