วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำสั่งเอสคิวแอล (SQL Command)

คำสั่ง SQL (Structured Query Language) เป็นภาษามาตราฐานภาษาหนึ่ง ใช้ในโปรแกรม Oracle , FoxBASE, Forpro,Access,Sybase,Informix,DB2,SQL Server และโปรแกรมฐานข้อมูลอื่น ๆ เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่ง (Syntax) เป็นประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและง่ายต่อการเรียนรู้
ความสำคัญของ SQL
ปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ DBMS (Database management System) ซึ่งหมายถึง
ซอฟต์แวร์ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างโปรแกรมฐานข้อมูลกับ User ในปัจจุบันได้พัฒนา DBMS ขึ้นมาอย่างหลากหลาย Visual Basic , ASP, PHP, DB2,Java ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้เป็น DBMS ที่ใช้ภาษาการจัดการข้อมูลที่เรียกว่า SQL และ QBE ใช้กับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Ralational Database) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งภาษา SQL มีความสำคัญกับหลาย ๆ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น DBMS เนื่องจากการสอบถามหรือสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญกับการทำงานของระบบสารสนเทศ
ความสามารถของ SQL
ภาษา SQL ได้จำแนกกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการกับข้อมูล ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้
1.กลุ่มคำสั่งในการ “ขอดูข้อมูล” (select )
2. กลุ่มคำสั่งในการ “เพิ่มข้อมูล” (insert)
3. กลุ่มคำสั่งในการ “แก้ไขข้อมูล” (update)
4. กลุ่มคำสั่งในการ “ลบข้อมูล” (delete)
ชนิดข้อมูลใน SQL
ชนิดข้อมูลของภาษา SQL ที่นำไปใช้กับซอฟต์แวร์ DBMS หรือใช้กับซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลแต่ละตัวนั้นจะแตกต่างกันออกไป เช่น การใช้ SQL ร่วมกับฐานข้อมูล JDBC ใน Java กับ SQL ร่วมกับ Oracle จะทำให้ชนิดข้อมูลของทั้งสองนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งขอยกตัวอย่างชนิดข้อมูลใน JDBC ของ Java ดังต่อไปนี้
ชนิดข้อมูล ความหมาย
BIT เก็บค่าตัวเลข (0/1)
TINYINT ข้อมูลตัวเลข
SMALLINT ข้อมูลตัวเลข ขนาดเล็กกว่า INTEGER
INTEGER ข้อมูลประเภทตัวเลข
REAL ข้อมูลเลขจำนวนจริง
FLOAT ข้อมูลเลขทศนิยม
DOUBLE ข้อมูลเลขทศนิยม ความแม่นยำสูง
DECIMAL ข้อมูลเลขทศนิยม
NUMERIC ข้อมูลตัวเลข
CHAR ข้อมูลที่เป็นอักขระ
VARCHAR ข้อมูลตัวอักษร
BINARY ข้อมูลค่าจริง/เท็จ (0/1)
DATE ข้อมูลประเภทวันที่ เช่น MM-DD-YY
TIME ข้อมูลเวลา
TIMESTAMP ข้อมูลเวลา
ตารางที่ 11.
คำสั่งในการจัดการกับฐานข้อมูล (Database)
ในภาษา SQL สามารถใช้ชุดคำสั่งเพื่อจัดการกับข้อมูลได้ ดังต่อไปนี้
1. การแสดงข้อมูลในตาราง
- การแสดงข้อมูลภายใน 1 ตาราง
การเรียกดูข้อมูลทั้งหมดในตาราง
Syntax:
SELECT * FROM ระบุชื่อตาราง;
ตัวอย่าง:
SELECT * FROM Personal;
การเรียกดูข้อมูลบาง Field
Syntax:
SELECT ชื่อ Field1,ชื่อ Field2,…,ชื่อ Fieldn FROM ระบุชื่อตาราง;
ตัวอย่าง:
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal;
การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไข
Syntax:
SELECT ชื่อ Field1,ชื่อ Field2,…,ชื่อ Fieldn FROM ระบุชื่อตาราง;
WHERE ระบุเงื่อนไข ;
ตัวอย่าง:
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal;
WHERE P_age >= 25;
การกำหนดเงื่อนไขในส่วนของ WHERE
- ใช้เครื่องหมายในการเปรียบเทียบค่า (Comparison Operator) ได้แก่
> >= < <=
LIKE
IN
เช่น WHERE P_age >= 25; หรือ
WHERE Pname LIKE ‘%นี%; ß เปรียบเทียบบางส่วนของข้อความ หรือ
WHERE P_age IN (25,30);
- การใช้ตัวเชื่อมเงื่อนไข AND และ OR เช่น
WHERE P_age = 25 OR P_age = 30; หรือ
WHERE P_age = 25 AND P_age = 30;
การเรียกดูข้อมูลโดยใช้เงื่อนไขในการจัดเรียงข้อมูล (Sort)
Syntax:
SELECT * FROM ระบุชื่อตาราง ORDER BY ระบุชื่อ Field;
ตัวอย่าง:
SELECT * FROM Personal ORDER BY Pid;
Syntax:
SELECT ชื่อ Field1,ชื่อ Field2,…,ชื่อ Fieldn FROM ระบุชื่อตาราง;
ORDER BY ระบุชื่อ Field;
ตัวอย่าง:
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal ORDER BY Pid; หรือ
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal ORDER BY Pid DESC;
SELECT Pid, Pname, Paddress FROM Personal ORDER BY Pid ASC;
เมื่อ DESC ใช้เมื่อต้องการเรียงข้อมูลจากมากไปหาน้อย (Descending)
ASC ใช้เมื่อต้องการเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก (Ascending)
- การแสดงข้อมูลจากหลายตาราง
Syntax:
SELECT ชื่อ Field1,ชื่อ Field2,…,ชื่อ Fieldn FROM ชื่อตารางที่1,ชื่อตารางที่2 WHERE ระบุเงื่อนไขของทั้ง 2 ตาราง ORDER BY ระบุ Field และรูปแบบการจัดเรียง;
ตัวอย่าง:
SELECT Personal.Pid,Personal.Pname,Training.Tcourse FROM Personal,Training
WHERE Personal.Pid = Training.Pid ORDER BY Personal.Pid DESC;
2. การเพิ่มข้อมูล
- การเพิ่มข้อมูลภายใน 1 ตาราง
Syntax :
INSERT INTO ชื่อตาราง (ชื่อ field ที่1 , ชื่อ field ที่2…ชื่อ field ที่n) VALUES (‘ข้อมูลข้อความ’, ข้อมูลตัวเลข);
ตัวอย่าง:
INSERT INTO Sale (sid_produc , sunit) VALUES (‘001’, 1500);
- การเพิ่มข้อมูลลงในหลายตาราง
3. การแก้ไขหรือ update ข้อมูล
- การ update ข้อมูลภายในหนึ่งตาราง
Syntax:
UPDATE ชื่อตาราง SET ชื่อ Field = ค่าของข้อมูล WHERE ระบุเงื่อนไขของ record ทีต้องการ update;
ตัวอย่าง:
UPDATE Personal SET paddress = ‘บางเขน’ WHERE pname = ‘สุนีย์’;
- การ update ข้อมูลหลายตาราง
4. การลบข้อมูล
- การลบตาราง
Syntax
DELETE TABLE ชื่อตาราง;
ตัวอย่าง :
DELETE TABLE Personal;
- การลบข้อมูลเฉพาะ Record
Syntax :
DELETE FROM ชื่อตาราง WHERE ระบุเงื่อนไขในการลบ;
ตัวอย่าง :
DELETE FROM Personal WHERE pname = ‘สุนีย์’;
5. คำสั่งสร้างฐานข้อมูล
Syntax :
CREATE DATABASE ชื่อฐานข้อมูล;
ตัวอย่าง :
CREATE DATABASE MyDB;
6. การลบฐานมูล
Syntax:
DROP DATABASE ชื่อฐานข้อมูล;

ตัวอย่าง :
DROP DATABASE MyDB;

7. การสร้างตาราง
Syntax:
CREATE TABLE ระบุชื่อตาราง(ชื่อ Field ชนิดข้อมูล ประเภทของ Key ,…);

ตัวอย่าง :
CREATE TABLE Personal(Pid CHAR(4) PRIMARY KEY,
Pname VARCHAR(25) );

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น